Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60116
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorปราโมทย์ เสริมศีลธรรม-
dc.contributor.authorทรรศดา มะลิขาว-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์-
dc.date.accessioned2018-09-14T06:07:32Z-
dc.date.available2018-09-14T06:07:32Z-
dc.date.issued2560-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60116-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560-
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหลักการ แนวคิด และการประยุกต์ใช้หลักการและแนวคิด ในการบำบัดฟื้นฟูผู้เสพหรือผู้ติดยาเสพติด ตลอดจนความสำคัญของบทบาทผู้พิพากษาในการบำบัดฟื้นฟูผู้เสพหรือผู้ติดยาเสพติด เพื่อนำไปสู่การพัฒนากระบวนการทางกฎหมายในการบำบัดฟื้นฟูผู้เสพหรือผู้ติดยาเสพติดตามกฎหมายฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด ให้เหมาะสมกับสภาพปัญหายาเสพติดในประเทศไทย จากการศึกษาวิจัยพบว่า การบำบัดฟื้นฟูผู้เสพหรือผู้ติดยาเสพติดก่อนพิจารณาและตัดสินคดีของประเทศไทย ภายใต้พระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ. 2545 ที่ใช้การเบี่ยงเบนคดี (Diversion) ของผู้กระทำความผิดที่เป็นผู้เสพหรือผู้ติดยาเสพติดออกจากกระบวนการยุติธรรมทางอาญาตามปกติ โดยที่ไม่ได้มีการกำหนดให้ผู้พิพากษาเข้าไปมีบทบาทหรืออำนาจหน้าที่ในกระบวนการบำบัดฟื้นฟูในขั้นตอนที่สำคัญและจำเป็นอย่างเหมาะสม ทำให้การบำบัดฟื้นฟูผู้เสพหรือผู้ติดยาเสพติดภายใต้พระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ. 2545 ยังไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร โดยเมื่อเปรียบเทียบกับต่างประเทศ เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกา แคนาดา และออสเตรเลีย ซึ่งพบว่ากระบวนการบำบัดฟื้นฟูผู้เสพหรือผู้ติดยาเสพติดก่อนการพิจารณาและตัดสินคดี ได้ให้ความสำคัญกับการกำหนดให้ผู้พิพากษาเข้าไปมีบทบาทในกระบวนการบำบัดฟื้นฟูตั้งแต่เริ่มแรกของกระบวนการจนสิ้นสุดกระบวนการ อันเนื่องมาจากการประยุกต์ใช้หลักนิติศาสตร์เชิงบำบัด ในรูปแบบที่ให้ความสำคัญกับบทบาทของผู้พิพากษาในการฟื้นฟูผู้เสพหรือผู้ติดยาเสพติด เพื่อเป้าหมายที่ดีของการบำบัดฟื้นฟูพฤติกรรมการติดยาเสพติด เพื่อให้การบำบัดฟื้นฟูผู้เสพหรือผู้ติดยาเสพติดก่อนพิจารณาและตัดสินคดีของประเทศไทย ภายใต้พระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ. 2545 มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น วิทยานิพนธ์นี้ จึงเสนอให้แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ. 2545 โดยการกำหนดให้ผู้พิพากษาเข้าไปมีบทบาทในขั้นตอนการคัดกรองบุคคล ในขั้นตอนระหว่างการบำบัดฟื้นฟู และในขั้นตอนการพิจารณาผลการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด อันเป็นขั้นตอนที่สำคัญและจำเป็นที่ควรกำหนดให้ผู้พิพากษาเข้าไปมีบทบาท เพื่อจัดการกับปัญหาอันเป็นอุปสรรคของการบำบัดฟื้นฟูตามพระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ. 2545-
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this thesis is to study principles, concepts, and applying them to drug addict rehabilitation. It also focuses on the judges’ roles in drug addict rehabilitation in order to develop legal processes on drug addict rehabilitation in the Narcotics Addict Rehabilitation Act which is a pre-trial procedure suitable for drug situations in Thailand. The research found that drug addict rehabilitation in the pre-trial procedure in Thailand under the Narcotics Addict Rehabilitation Act B.E. 2545, which use Diversion of drug addicted culprit out of ordinary criminal judicial administration and bring them to treatment without proper role of judge in rehabilitation process, led to unsatisfied results of the rehabilitation. Comparing to foreign countries, which gave more effective results in the rehabilitation process, such as the United States of America, Canada, and Australia, it was found that those countries applying the Therapeutic Jurisprudence principles paid more attention to the significant role of judges in drug addict rehabilitation from the beginning to the end of its process so that the judges will find the best solutions for each drug addict. In order to enhance the effectiveness of drug addict rehabilitation in a pre-trial process under the Narcotics Addict Rehabilitation Act B.E. 2545 of Thailand, this thesis proposes the revision of the Narcotics Addict Rehabilitation Act B.E. 2545 by specifying the roles of judges in the pre-steps in the screening process before drug addicts engage in the rehabilitation process, in between the rehabilitation process, and in the post rehabilitation process, all of which are the crucial processes for the judges in eliminating any rehabilitation impediment under the Narcotics Addict Rehabilitation Act B.E. 2545.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.953-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.titleบทบาทของผู้พิพากษาในการบำบัดฟื้นฟูผู้เสพหรือผู้ติดยาเสพติด-
dc.title.alternativeROLE OF JUDGE IN DRUG ADDICT REHABILITATION-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineนิติศาสตร์-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.email.advisorPramote.s@chula.ac.th,pramote.s@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2017.953-
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5885976734.pdf2.81 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.