Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60119
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเผดิมศักดิ์ จารยะพันธุ์-
dc.contributor.authorจุฬาลักษณ์ อ่อนศิระ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2018-09-14T06:07:38Z-
dc.date.available2018-09-14T06:07:38Z-
dc.date.issued2560-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60119-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560-
dc.description.abstractการวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมและจัดเก็บข้อมูลการใช้ท่าเรือเดินทะเลในประเทศไทยด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์และพัฒนาระบบจัดการฐานข้อมูลการใช้ท่าเรือเดินทะเลในประเทศไทยให้มีความถูกต้องทันสมัยและสามารถค้นคืนได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยใช้โปรแกรม Quantum GIS (QGIS version 2.18.12) ทำการศึกษาในช่วงตั้งแต่ พ.ศ. 2552 จนถึง พ.ศ. 2559 โดยจำแนกตามชายฝั่งทะเลเป็น 2 ชายฝั่ง 6 กลุ่มจังหวัด ได้แก่ อ่าวไทยตะวันออก อ่าวไทยตอนบน อ่าวไทยตอนกลาง อ่าวไทยตอนล่าง อันดามันตอนบน และอันดามันตอนล่าง และแบ่งประเภทท่าเรือออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ท่าเรือประมง ท่าเรือโดยสารเพื่อการท่องเที่ยว ท่าเรือสินค้าทั่วไป ท่าเรือสินค้าเหลว ท่าเรือสินค้าเทกอง และท่าเรืออื่นๆ การจัดทำฐานข้อมูลในงานวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วยการรวบรวมข้อมูลและการนำข้อมูลที่ได้มาจัดทำแผนที่ด้วยโปรมแกรม QGIS รายละเอียดในการศึกษาได้แบ่งข้อมูลดังนี้ พื้นที่ในการศึกษาวิจัย การเก็บรวบรวมข้อมูลปริภูมิ และข้อมูลทุติยภูมิ ซึ่งจัดเก็บด้วยซอฟต์แวร์ MS Excel และข้อมูลเชิงพื้นที่ (Spatial data) เพื่อช่วยตัดสินใจสำหรับข้อมูลตามลักษณะหรือลักษณะประจำ (Attribute data) นั้นถูกจัดเก็บในลักษณะของฐานข้อมูลภายนอก (External database) เมื่อจัดเก็บไว้ในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์แล้วสามารถค้นคืน (Retrieve) ข้อมูลได้ในรูปแบบ (Format) ของข้อมูลภาพ (Image) แผนที่ (Map) และตาราง (Table) เพื่อทำการวิเคราะห์ท่าเรือเดินทะเลของประเทศไทย จากผลการศึกษา มีท่าเรือเดินทะเลของประเทศไทยจำนวน 612 แห่ง นอกจากนี้ยังมีข้อมูลสิ่งอำนวยความสะดวกขีดความสามารถของท่าเรือและความยาวหน้าท่าโดยแบ่งช่วงความยาวหน้าท่าให้ชัดเจนเพื่อนำข้อมูลมาพิจารณาปริมาณการเพิ่มขึ้นของท่าเรือเดินทะเลส่วนระบบฐานข้อมูลประกอบด้วยข้อมูลแผนที่และข้อมูลตามลักษณะที่สามารถเชื่อมโยงกันได้และนำเสนอข้อมูลตามลักษณะและข้อมูลกราฟิกที่แสดงที่ตั้ง รูปภาพ ผ่านทางโปรมแกรม QGIS ที่ให้ความสะดวกแก่ผู้ใช้งาน ผลของงานวิจัยที่ได้ ปริมาณท่าเรือแต่ละประเภทของประเทศไทยซึ่งนำเสนอข้อมูลผ่านการประยุกต์ใช้โปรมแกรมที่หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนใช้ประกอบการวางแผนการพัฒนาเศรษฐกิจหรือกำหนดกิจกรรมให้เหมาะสมกับศักยภาพการพัฒนาของท่าเรือเดินทะเลในประเทศไทย ดังนั้นระบบจัดการฐานข้อมูลโดยใช้โปรแกรม (QGIS) มีความสำคัญกับผู้ประกอบกิจการท่าเรือทั้งภาครัฐและภาคเอกชนมีความจำเป็นในการเปิดเผยข้อมูลให้หน่วยงานที่รวบรวมอย่างครบถ้วนเพื่อให้การพัฒนาศักยภาพท่าเรือเดินทะเลของประเทศไทยให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันและสามารถนำมาวิเคราะห์แนวโน้มการเติบโตในอนาคตต่อไป-
dc.description.abstractalternativeThis research aims to gather and retain data of seaport use in Thailand with geographic information system and to develop Thai seaport use database management system to be accurate, updated and effectively searched with Quantum GIS Program (QGIS version 2.18). The study had been conducted from 2009-2016 categorized by Thailand’s seashores including eastern Gulf of Thailand, Upper Gulf of Thailand, Middle Gulf of Thailand, Lower Gulf of Thailand, Upper Andaman Sea and Lower Andaman Sea. The seaports were divided in 6 types including fishing port, passenger port for tourism, general goods port, liquid goods port, bulk port and other ports. This database provision consisted of data collection and data use to make a map with QGIS Program with details of study as follows: area of study, primary data and secondary data collection conducted with MS Excel Software and spatial data to support decision making. Attribute data were collected in manner of external database that when stored in geographic information system, they could be retrieved in formats of image, map and table for further analysis of Thai seaports. According to the study, there are 612 ports in Thailand. Additionally, data of facilities, port capacity and port front length with clear division of port front length so data would be used to consider the increase of seaport volume. Database comprised map data and attribute data that could be interconnected and data were presented in format of graphic attribute and data showing location and image through QGIS Program facilitating users. The findings are obtained data of Thailand’s port volume in each type presented through the application of program employed by public and private sectors to support economic development planning or to determine activities suitable with potential development of Thai seaports. Consequently, database management system with program (QGIS) is crucial for port entrepreneurs in both public and private sectors and necessary for complete data disclosure to gathering agencies so that potential development of Thai seaports will be unidirectional. Additionally, data can be used to analyze growth tendency in the future.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.683-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.titleการประยุกต์ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ เพื่อจัดทำระบบจัดการฐานข้อมูลท่าเรือเดินทะเลของประเทศไทย-
dc.title.alternativeApplication of GIS to Generate a Database Management System for Seaports in Thailand.-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineการบริหารกิจการทางทะเล-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.email.advisorDirARRI@Chula.ac.th,padermsak.j@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2017.683-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5887120120.pdf12.86 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.