Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60120
Title: | การดูดดึงไซยาไนด์ แมงกานีส และสารหนูด้วยพืชใบเลี้ยงเดี่ยวและพืชใบเลี้ยงคู่ จากกากโลหกรรมเหมืองแร่ทองคำ |
Other Titles: | CYANIDE, MANGANESE AND ARSENIC UPTAKE USING MONOCOT AND DICOT PLANT SPECIES FROM GOLD MINE TAILING |
Authors: | เรวดี ศรีนุ้ยคง |
Advisors: | พันธวัศ สัมพันธ์พานิช |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | Pantawat.S@Chula.ac.th,spantawa@hotmail.com,pantawat.s@chula.ac.th |
Issue Date: | 2560 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาผลของการใช้ปุ๋ยต่อการดูดดึงไซยาไนด์ แมงกานีส และสารหนูด้วยพืชใบเลี้ยง เดี่ยว ได้แก่ หญ้าแฝก และไผ่ป่า และพืชใบเลี้ยงคู่ ได้แก่ กระถินเทพา และกระถินยักษ์ บริเวณบ่อเก็บกากโลหกรรม จากการทำเหมืองแร่ทองคำ และศึกษาปริมาณการดูดดึงและสะสมไซยาไนด์ แมงกานีส และสารหนู ในส่วนต่างๆ ของพืชทดลอง คือ ส่วนเหนือดิน และส่วนใต้ดิน สำหรับพืชใบเลี้ยงเดี่ยว และส่วนราก ลำต้น และใบ สำหรับพืชใบเลี้ยงคู่ รวมทั้งศึกษาปริมาณการสะสมไซยาไนด์ แมงกานีส และสารหนูในกากโลหกรรม แบ่งชุดการทดลองออกเป็นการปลูกพืชในพื้นที่แปลงทดลอง (In-situ) และการปลูกพืชในโรงเรือนทดลอง (Ex-situ) โดยได้ทำการศึกษา 180 วัน และทำการเก็บตัวอย่างทุกๆ 30 วัน ผลการศึกษาปริมาณการสะสมไซยาไนด์ แมงกานีส และสารหนูในกากโลหกรรม พบว่า มีแนวโน้มของการสะสมลดลงเมื่อระยะเวลาของการทดลองเพิ่มขึ้นทั้งในชุดทดลองในพื้นที่แปลงทดลอง และชุดทดลองในโรงเรือนทดลอง ส่วนปริมาณการดูดดึงและสะสมไซยาไนด์ แมงกานีส และสารหนู ในส่วนต่างๆ ของพืชทดลอง ที่ระยะเวลาของการทดลอง 180 วัน พบว่า หญ้าแฝก และกระถินเทพา ชุดทดลองในโรงเรือนทดลองที่ใส่ปุ๋ยเคมี มีความสามารถในการดูดดึงสารหนู แมงกานีส และไซยาไนด์ได้สูงกว่าชุดทดลองในโรงเรือนทดลองที่ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ และชุดทดลองในพื้นที่แปลงทดลอง โดยพบว่า หญ้าแฝกสามารถดูดดึงและสะสมสารหนูและแมงกานีสไว้ในส่วนใต้ดินสูงที่สุด เท่ากับ 7.07 และ 17.03 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ตามลำดับ และสามารถดูดดึงและสะสมไซยาไนด์ได้สูงที่สุดในส่วนเหนือดิน เท่ากับ 6.43 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม สำหรับกระถินเทพาสามารถดูดดึงและสะสมสารหนูและแมงกานีสไว้ในส่วนใบ เท่ากับ 5.64 และ 40.51 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ตามลำดับ และสามารถดูดดึงและสะสมไซยาไนด์ได้สูงที่สุดในส่วนลำต้น เท่ากับ 0.24 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ดังนั้น กระถินเทพาซึ่งเป็นพืชใบเลี้ยงคู่ และหญ้าแฝกซึ่งเป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว เป็นพืชที่มีศักยภาพสูงในการดูดดึงสารพิษ หรือช่วยในการลดปริมาณโลหะหนักดังกล่าวได้ ประกอบกับพืชดังกล่าวเป็นพืชท้องถิ่น (Native Plants) ดังนั้นผลการศึกษาครั้งนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้เป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาดินปนเปื้อนไซยาไนด์แมงกานีส และสารหนูในพื้นที่อื่นๆ ได้ และควรเพิ่มประสิทธิภาพการดูดดึงและสะสมโลหะหนักด้วยการใส่ปุ๋ยเคมี |
Other Abstract: | This research was aimed to study effects of fertilizer on cyanide (CN), manganese (Mn) and arsenic (As) uptake using monocot such as Vetiveria nemoralis (Balansa) A. Camus and Bambusa bambos (L.) Voss and dicot such as Acacia mangium Willd. and Leucaena leucocephala (Lam.) de Wit. in tailing storage facility (TSF) from gold mine area, to examine quality of CN, Mn and As uptake and accumulation in different parts of sample plants: Above ground parts and Under ground parts for monocot and root, stem and leaf for dicot, and to investigate accumulation amount of CN, Mn and As in tailings. The experiment was divided as In-situ planting and ex-situ planting and it took 180 d for completion. Samples were collected in every 30 d. The result of studying accumulation of CN, Mn and As in tailings revealed that it was likely to decrease when the experimental time increased in both in-situ and ex-situ. Meanwhile, uptake and accumulation of CN, Mn and As in plants after 180 d was found that Vetiveria nemoralis (Balansa) A. Camus and Acacia mangium Willd. in ex-situ experiment with chemical fertilizer had higher CN, Mn and As uptake capacity than in ex-situ experiment with organic fertilizer and in in-situ experiment. In other words, Vetiveria nemoralis (Balansa) A.Camus could take up and accumulate most As and Mn in under ground parts equal to 7.07 and 17.03 mg/kg, respectively and it could take up and accumulate highest CN in above ground parts for 6.43 mg/kg In the meantime, Acacia mangium Willd. could take up and accumulate As and Mn in leaves for 5.64 and 40.51 mg/kg, respectively and could take up and accumulate highest CN in stem for 0.24 mg/kg. Therefore, Acacia mangium Willd. as dicot and Vetiveria nemoralis (Balansa) A. Camus as monocot had high potentials in taking up poisons or reducing quantity of such heavy metals, are native plants. Thus, findings of this study could be applied as a guideline of solving CN, Mn and As contamination problems in other areas and should be increases the efficiency of adsorption and accumulation by chemical fertilizer. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60120 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.1282 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2017.1282 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5887201320.pdf | 9.29 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.