Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60200
Title: | การเสื่อมวอลเลอเรียนในโรคสมองขาดเลือดเฉียบพลันถึงกึ่งเฉียบพลันแสดงโดยภาพดิฟฟิวชันเทนเซอร์ |
Other Titles: | Wallerian degeneration in acute to subacute ischemic stroke demonstrate by diffusion tensor imaging |
Authors: | วสุนนท์ ธินรุ่งโรจน์ |
Advisors: | ยุทธชัย ลิขิตเจริญ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ |
Advisor's Email: | yuttachail@gmail.com,yuttachail@gmail.com |
Issue Date: | 2560 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วัตถุประสงค์: งานวิจัยชิ้นนี้ทำเพื่อศึกษาการเสื่อมวอลเลอเรียนของใยประสาทโดยใช้การตรวจภาพถ่ายสมองด้วยคลื่นแม่เหล็กโดยใช้เทคนิคการกระจายของโมเลกุลน้ำและเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของดัชนีการกระจายของโมเลกุลน้ำกับการฟื้นตัวของระบบประสาทสั่งการของผู้ป่วยสมองขาดเลือด ทั้งนี้ เพื่อที่จะนำผลการศึกษาไปใช้พยากรณ์โรคในผู้ป่วยโรคสมองขาดเลือด วิธีการศึกษา: รูปแบบการศึกษาเป็นแบบ prospective analytic study โดยรวบรวมผู้ป่วยโรคสมองขาดเลือดจำนวน 12 ราย โดยทำการเก็บข้อมูลการฟื้นตัวของระบบประสาทสั่งการจากแบบประเมิน Fugh-Meyer และตรวจภาพสมองด้วยคลื่นแม่เหล็กโดยใช้เทคนิคการกระจายตัวของโมเลกุลน้ำที่เวลาแรกรับ ที่เวลา 1 เดือน และที่เวลา 3 เดือน จากนั้นทำการเปลี่ยนข้อมูลให้เป็นดัชนีการกระจายของโมเลกุลน้ำด้วยวิธี region base analysis และ tract base spatial statistical analysis (TBSS) จากนั้นหาความสัมพันธ์ของดัชนีการกระจายของน้ำกับการฟื้นตัวของระบบประสาทสั่งการจากแบบประเมิน Fugh-Meyer ด้วย Spearman correlation coefficient และใช้ Mann-Whitney U test เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างกันของดัชนีการกระจายของน้ำระหว่างฐานสมองข้างที่ขาดเลือดและฐานสมองข้างที่ไม่ขาดเลือด ผลการศึกษา: พบความสัมพันธ์ของค่า FA ที่เวลา 90 วัน กับการฟื้นตัวของระบบประสาทสั่งการของรยางค์บนที่เวลาแรกรับ (r = 0.678 p value = 0.45 ) พบความสัมพันธ์ของค่า FA ที่เวลา 90 วัน กับการฟื้นตัวของระบบประสาทสั่งการของรยางค์บน, รยางค์ล่าง และการประเมินโดยรวม จากการประเมินด้วย FMA ที่เวลา 1 เดือน (r = 0.833 p value = 0.01, r = 0.765 p value = 0.02, r=0.817 p value = 0.01 ตามลำดับ) พบความสัมพันธ์ของค่า FA ที่ 3 เดือนกับการฟื้นตัวของระบบประสาทของรยางค์บน และการประเมินโดยรวม จากการประเมินด้วย FMA ที่เวลา 3 เดือน (r = 0.795 p value 0.01, r = 0.8 p value = 0.01 ตามลำดับ) ไม่พบความสัมพันธ์ของดัชนีการกระจายของน้ำทั้ง 4 ชนิดที่เวลาแรกรับ และเวลา 1 เดือนกับการฟื้นตัวของระบบประสาทสั่งการที่เวลาแรกรับ ที่เวลา 1 เดือนและที่เวลา 3 นอกจากนี้ พบค่า FA ของสมองข้างที่ขาดเลือดน้อยกว่าสมองข้างที่ไม่ขาดเลือดตั้งแต่ช่วงเวลาแรกรับไปจนถึงที่เวลา 3 เดือน จากการวิเคราะห์ด้วย TBSS แต่ไม่พบความแตกต่างเมื่อวิเคราะห์ด้วยวิธี region base analysis สรุปผล: การพบความสัมพันธ์ของ FA ที่ 90 วันกับการฟื้นตัวทางระบบประสาทที่ 30 วันและ 90 วัน แสดงว่า FA จะเริ่มมีความสัมพันธ์กับอาการอ่อนแรงจากโรคสมองขาดเลือดในระยะกึ่งเฉียบพลันและเรื้อรัง FA อาจจะใช้พยากรณ์การฟื้นตัวของผู้ป่วยโรคสมองขาดเลือดเมื่อศึกษาในระยะเรื้อรังของโรค การไม่พบความสัมพันธ์ของดัชนีการกระจายของโมเลกุลน้ำในช่วงเวลาแรกรับและที่เวลา 1 เดือนกับการฟื้นตัวของระบบ เกิดจากข้อจำกัดต่าง ๆ ในการศึกษานี้ เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมวิจัยไม่มากพอ |
Other Abstract: | Objective: We aim to study Wallerian degeneration by using diffusion tensor imaging (DTI) and to find correlation between DTI index and motor recovery in stroke patient in order to using DTI index for predict motor outcome in stroke patient. Method: This is analytic prospective study. 12 stroke patients were assessed motor outcome data by applying Fugl-Meyer assessment and undergone DTI scan at admission, 1 month and 3 months after the onset of stroke. DTI index is process by region base analysis and tract base spatial statistical analysis (TBSS). Spearman correlation was conducted to find correlation between DTI index and motor outcome. Mann-Whitney U test was also conducted to find difference of DTI index between the affected corticospinal tract (CST) and unaffected CST at different time point. Result: Correlation between FA at day-90 and FMA of upper extremities at admission (r = 0.678 p value = 0.45 ), correlation between FA at day-90 and FMA of upper extremities and lower extremities at day-30 (r = 0.833 p value = 0.01, r = 0.765 p value = 0.02, r=0.817 p value = 0.01 respectively) and correlation between FA at day-90 and FMA of upper extremities and total FMA at day-90 (r = 0.795 p value 0.01, r = 0.8 p value = 0.01 respectively) were found. There was no correlation between all 4 type of DTI index at admission and day-30 and FMA at admission, day-30 and day-90. In addition, we found statistically significant difference between affected CST and unaffected CST at admission, day-30 and day-90 by TBSS but we did not find such difference by region base analysis. Conclusion: Correlation between FA at day-90 and FMA at day-30 and day-90 demonstrated that FA might have correlation with motor outcome of subacute to chronic stage of stroke. FA might be useful to predicted motor outcome when it was conducted at chronic stage of stroke. No correlation between all 4 type of DTI index and FMA at admission and day-30 might be due to several limitations of the study such as low sample. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | อายุรศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60200 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.1631 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2017.1631 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Med - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5974094430.pdf | 2.34 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.