Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60208
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | วรรณพร ทองตะโก | - |
dc.contributor.author | ปิยาภรณ์ สุนทองห้าว | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา | - |
dc.date.accessioned | 2018-09-14T06:11:09Z | - |
dc.date.available | 2018-09-14T06:11:09Z | - |
dc.date.issued | 2560 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60208 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560 | - |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการฝึกกล้ามเนื้อหายใจที่มีต่อสมรรถภาพปอดและความสามารถด้านการวิ่งด้วยความเร็วสูงสุดแบบซ้ำในนักกีฬาฟุตซอล กลุ่มตัวอย่างเป็นนักกีฬาฟุตซอล เพศชาย อายุระหว่าง 18 – 25 ปี ชมรมฟุตซอล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 12 คน ได้แก่ กลุ่มที่ 1 กลุ่มควบคุม ได้รับการฝึกกล้ามเนื้อหายใจแบบไม่มีแรงต้านร่วมกับฝึกการวิ่งด้วยความเร็วสูงสุดแบบซ้ำ กลุ่มที่ 2 กลุ่มทดลอง ได้รับการฝึกกล้ามเนื้อหายใจร่วมกับฝึกการวิ่งด้วยความเร็วสูงสุดแบบซ้ำ ทำการฝึก 3 ครั้ง/สัปดาห์ เป็นเวลา 6 สัปดาห์ โดยก่อนและหลังการทดลองทำการทดสอบตัวแปรด้านสรีรวิทยา ตัวแปรด้านสมรรถภาพปอด ตัวแปรด้านความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหายใจ และตัวแปรด้านความสามารถด้านการวิ่งด้วยความเร็วสูงสุดแบบซ้ำ จากนั้นนำมาวิเคราะห์ผลทางสถิติโดยเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างก่อนและหลังการทดลองด้วยการทดสอบค่าทีแบบรายคู่ (Paired-T test) และวิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างกลุ่มด้วยการทดสอบค่าที่แบบอิสระ (Independent -T test) ที่ระดับความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ผลการวิจัยพบว่า หลังการทดลอง 6 สัปดาห์ กลุ่มทดลองมีค่าปริมาตรสูงสุดของอากาศที่หายใจออกอย่างเร็วและแรงเต็มที่ (FVC) และค่าแรงดันการหายใจออกสูงสุด (MEP) เพิ่มขึ้นแตกต่างกับก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีการเพิ่มขึ้นของค่าปริมาตรของอากาศจากการหายใจเข้า-ออกเต็มที่ในเวลา 1 นาที (MVV) และค่าแรงดันการหายใจเข้าสูงสุด (MIP) แตกต่างกับก่อนการทดลองและกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นอกจากนั้น มีการเพิ่มขึ้นของค่าพลังสูงสุดแบบแอนแอโรบิก แตกต่างกับกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีระดับของกรดแลคติกในเลือดลดลงแตกต่างกับก่อนการทดลองและกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 อีกทั้งมีการลดลงของเวลาที่ใช้ในการวิ่งทดสอบ RAST test แตกต่างกับก่อนการทดลองและกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จากผลการวิจัยสรุปได้ว่าการฝึกกล้ามเนื้อหายใจช่วยเพิ่มสมรรถภาพปอดและความสามารถด้านการวิ่งด้วยความเร็วสูงสุดแบบซ้ำในนักกีฬาฟุตซอลได้ | - |
dc.description.abstractalternative | Abstract The purpose of this study was to determine the effects of additional respiratory muscle training on lung function and repeated sprint ability in futsal players. Twenty-four male futsal players aged 18-25 years from Chulalongkorn University futsal club were randomized into 2 groups, control group (CG; n=12) and training group (TG; n=12). Both CG and TG group was required to complete repeated sprint training and respiratory muscle training with and without loading, respectively, and repeated sprint ability 3 times a week for a period of 6 weeks. The dependent variables include lung function, respiratory muscle strength and repeated sprint ability were measured pre and post-test and analyzed by a paired t-test. Independent t-test was used to compare the variables between groups. Differences were considered to be significant at p < .05. The results showed that after 6 weeks of respiratory muscle training, The FVC and MEP of TG group had significantly higher than pre-test (p < .05). In TG group, the MVV, MIP increased (p < 0.05) and latic acid level and sprint time decreased (p < 0.05) when compared to pre-test and CG group. Moreover, the peak anaerobic power of TG group had significantly higher than CG group (p < .05). In conclusion, the present finding demonstrated that respiratory muscle training has beneficial effects on lung functions and repeated sprint ability in futsal players | - |
dc.language.iso | th | - |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.1230 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.title | ผลของการฝึกกล้ามเนื้อหายใจที่มีต่อสมรรถภาพปอดและความสามารถด้านการวิ่งด้วยความเร็วสูงสุดแบบซ้ำในนักกีฬาฟุตซอล | - |
dc.title.alternative | EFFECTS OF RESPIRATORY MUSCLE TRAINING ON LUNG FUNCTION AND REPEATED SPRINT ABILITY IN FUTSAL PLAYERS | - |
dc.type | Thesis | - |
dc.degree.name | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต | - |
dc.degree.level | ปริญญาโท | - |
dc.degree.discipline | วิทยาศาสตร์การกีฬา | - |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.email.advisor | Wannaporn.To@chula.ac.th,Wannaporn.T@chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.58837/CHULA.THE.2017.1230 | - |
Appears in Collections: | Spt - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5978315939.pdf | 6.82 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.