Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6031
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุวิมล ว่องวาณิช-
dc.contributor.advisorนงลักษณ์ วิรัชชัย-
dc.contributor.authorปิยมาภรณ์ โชคอวยชัย-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2008-02-26T08:52:57Z-
dc.date.available2008-02-26T08:52:57Z-
dc.date.issued2548-
dc.identifier.isbn9741423683-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6031-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548en
dc.description.abstractงานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินความต้องการจำเป็นด้านสมรรถนะสารสนเทศทางการพยาบาล 2) พัฒนาและตรวจสอบความตรงของโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ ของสมรรถนะสารสนเทศทางการพยาบาลที่คาดหวัง 3) พัฒนาและตรวจสอบความตรงของโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุแบบอิทธิพลย้อนกลับ ระหว่างความต้องการจำเป็นด้านสมรรถนะสารสนเทศทางการพยาบาล และอุปสงค์ และ 4) ศึกษาแนวทางการสนองความต้องการจำเป็นด้านสมรรถนะสารสนเทศทางการพยาบาล และอุปสงค์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย นักเรียนพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 1-4 จำนวน 360 คน สังกัดกระทรวงกลาโหม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าสัมประสิทธิ์ความเที่ยงตามสูตรแอลฟาครอนบาคเท่ากับ 0.72-0.98 มีความตรงเชิงโครงสร้างตามองค์ประกอบ เมื่อวิเคราะห์ด้วยลิสเรล การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์ด้วยสถิติบรรยาย การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS 11.5 การประเมินความต้องการจำเป็นด้วยค่าดัชนี PNI modifield และตรวจสอบค่าความตรงของโมเดลโดยใช้โปรแกรมลิสเรล (LISREL)version 8.52 ผลการวิจัยที่สำคัญสรุปได้ว่า 1) นักเรียนพยาบาลมีความต้องการจำเป็นด้านความรู้ทางสารสนเทศทางการพยาบาล มากกว่าด้านทักษะคอมพิวเตอร์ ทักษะคอมพิวเตอร์ที่ควรได้รับการพัฒนามากที่สุดคือ การใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในการจัดทำเว็บไซต์ ความรู้ทางสารสนเทศทางการพยาบาลที่ควรได้รับการพัฒนามากที่สุดคือ การประเมินข้อมูลสรสนเทศทางสุขภาพ 2) โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของสมรรถนะสารสนเทศทางการพยาบาลที่คาดหวัง มีความสอดคล้องกลมกลือนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (ค่าไค-สแควร์=112.46, p=0.151 องศาอิสระ = 98; GFI = 0.966; AGFI = 0.941; RMR = 0.024) ตัวแปรที่ส่งผลต่อสมรรถนะสารสนเทศทางการพยาบาลที่มีอยู่ มากที่สุดคือปัจจัยด้านเทคโนโลยี และตัวแปรที่ส่งผลต่อสมรรถนะสารสนเทศทางการพยาบาลที่คาดหวังมากที่สุดคือ ปัจจัยด้านองค์กร นอกจากนี้ตัวแปรสมรรถนะสารสนเทศทางการพยาบาลที่มีอยู่ ส่งผลต่อสมรรถนะสารสนเทศทางการพยาบาลที่คาดหวัง 3)โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุแบบอิทธิพลย้อนกลับระหว่างความต้องการจำเป็นด้านสมรรถนะสารสนเทศ และอุปสงค์ มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (ค่าไค-สแควร์ = 223.61; p = 0.247;p = 0.247; df = 210; GFI =0.949; RMR =0.013)ปัจจัยด้านเทคโนโลยีมีอิทธิพลมากที่สุดต่อความต้องการจำเป็นด้านสมรรถนะสารสนเทศทางการพยาบาล ขณะที่ศูนย์เทคโนโลยีมีอิทธิพลมากที่สุดต่อความต้องการจำเป็นด้านอุปสงค์ นอกจากนี้ความต้องการจำเป็นด้านสมรรถนะสารสนเทศทางการพยาบาล กับความต้องการจำเป็นด้านอุปสงค์มีอิทธิพลย้อนกลับต่อกัน 4) การสนองความต้องการจำเป็นด้านสมรรถนะสารสนเทศทางการพยาบาล และความต้องการจำเป็นอุปสงค์ ได้แก่ ก) การปรับปรุงนโยบาย และงบประมาณการอนุญาตให้นำคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กมาใช้ การจัดตั้งอินเตอร์เนตคาเฟ่ในวิทยาลัย ข)ผู้บริหารกระตุ้น และส่งเสริม ให้อาจารย์ผลิตสื่ออิเล็กทรอนิกส์ และใช้ประกอบการเรียนการสอนให้มากขึ้น ค)การจัดอบรมครูพยาบาล และบุคลากรด้านสารสนเทศทางการพยาบาลen
dc.description.abstractalternativeTo 1) indentify nursing informatics competency needs through perceptions of nursing students. 2) Develop and validate the causal model of the expected nursing informatics competencies. 3) Develop and validate the causal non-recursive model between nursing informatics competency needs and demands. 4) Identify the the ways for sloving the problems from nursing informatics competency needs and demands. The research samples consisted of 360 baccalaureate nursing students in nursing colleges under the jurisdiction of the Ministry of Defense in Thailand. The research instruments were a 5 rating scale questionnaire from which the Conbach's Alpha reliability coefficients ranged from 0.72-0.98, and the construct validities were confirmed using LISREL analysis. Data was analyzed through descriptive statistics, correlation analysis, and regression analysis using SPSS 11.5, needs assessment using PNI modifield and it analysis of struction model using LISREL 8.52. The major findings were 1) the nursing students requiredinformatics knowledge needs than computer skills needs. The computer skill strongly required the development, was the program package to construct the website, and the informatics knowledge strongly required the development, was health informatics evaluation. 2) The causal model of nursing informatics expectation was fit to the empirical data. (chi-square = 112.46; p=0.151 df=98; GFI = 0.966; AGFI=0.941; RMR=0.024). Factors having the hignest effects on the existed nursing informatics competencies were technological factors. Factors having the highest effects on the expected nursing informatics competencies were organizational factors. Moreover, the existed nursing informatics competencies had effects on the expected nursing informatics competencies. 3)The causal non-recursive model of nursing informatics competency needs and demands was fit to the empirical data (chi-square=223.61; p=0.247; df= 210 ; GFI = 0.949 ; AGFI = 0.932; RMR = 0.013). Technological factors had highest effects on nursing informaticscompetency needs while technology center had the highest effected on demand needs. Moreover nursing informatics competency needs and demands had reciprocal effects on each other. 4)Three fulfillments to nursing informatics competency needs and demands were a) a policy and budget improvement, permission to use the notebook computers, the provision of internet cafe in colleges. b) The administrators encouraged and promoted nursing faculties to develop and use more eletronic media in learning and teaching process, and c) The provision of training in nursing informatics for nursing teachers and staff members.en
dc.format.extent6448099 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2005.674-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectสารสนเทศทางการพยาบาลen
dc.subjectการประเมินความต้องการจำเป็นen
dc.subjectลิสเรลโมเดลen
dc.titleการสนองความต้องการจำเป็นด้านสมรรถนะสารสนเทศทางการพยาบาล และอุปสงค์ผ่านผลของการพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุย้อนกลับen
dc.title.alternativeA fulfillment of nursing informatics competency needs and demands through the results of non-recursive causal model developmenten
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรดุษฎีบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาเอกes
dc.degree.disciplineวิธีวิทยาการวิจัยการศึกษาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorSuwimon.W@chula.ac.th-
dc.email.advisorNonglak.W@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2005.674-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Piyamaporn_Ch.pdf6.3 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.