Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60321
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorทัชชมัย ทองอุไร-
dc.contributor.authorกรองกมล กรองทอง-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์-
dc.coverage.spatialไทย-
dc.coverage.spatialเกาหลี-
dc.date.accessioned2018-09-17T03:20:41Z-
dc.date.available2018-09-17T03:20:41Z-
dc.date.issued2560-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60321-
dc.descriptionเอกัตศึกษา (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560en_US
dc.description.abstractการศึกษานี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาถึงสิทธิประโยชน์ของโครงการใช้บัตรเดบิตแทนเงินสดภายใต้ยุทธศาสตร์ National e-Payment ของประเทศไทยที่รัฐบาลมอบให้โดยเปรียบเทียบกับสิทธิประโยชน์ของสาธารณรัฐเกาหลี ซึ่งเป็นประเทศที่ประสบความสำเร็จกับการนำระบบ Cash Receipt System (CRS) มาบันทึกข้อมูลการทำธุรกรรมการซื้อสินค้าและบริการด้วยบัตร รวมถึงให้สิทธิประโยชน์และออกมาตรการจูงใจสำหรับผู้เข้าร่วมโครงการทั้งผู้ซื้อสินค้าและร้านค้าที่เข้าร่วมระบบงาน CRS ทำให้กรมสรรพากรเกาหลีสามารถจัดเก็บภาษีจากธุรกรรมผ่านบัตรเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากการศึกษาพบว่าสิทธิประโยชน์ของโครงการใช้บัตรเดบิตแทนเงินสดภายใต้ยุทธศาสตร์ National e-Payment ของประเทศไทยที่รัฐบาลมอบให้ยังมีประเด็นปัญหาที่สำคัญอยู่ 3 ประการ คือ การให้สิทธิประโยชน์ทางภาษียังไม่จูงใจให้ประชาชนและบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเข้าร่วมโครงการ การกำหนดระยะเวลาในการจะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ให้ผู้เข้าร่วมโครงการ โดยมีระยะเวลาในช่วง 2-5 ปี ทำให้ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับประโยชน์ไม่เต็มที่ และระยะเวลาการให้สิทธิประโยชน์ของโครงการแจกโชคจากการใช้บัตรเดบิตทุกเดือนเป็นระยะเวลา 1 ปี เป็นการจูงใจผู้ประกอบการในระยะสั้น ซึ่งไม่เหมาะสมกับโครงการใช้บัตรเดบิตแทนเงินสดภายใต้ยุทธศาสตร์ National e-Payment ของประเทศไทยที่เพิ่งเป็นที่รู้จักในช่วง 2-3 ปี ซึ่งปัญหาทั้ง 3 ประการถือเป็นอุปสรรคสำคัญที่ทำให้โครงการใช้บัตรเดบิตในประเทศไทยยังไม่ได้รับความนิยม และไม่สามารถประสบความสำเร็จตามที่รัฐบาลคาดหวัง เมื่อเปรียบเทียบกับสิทธิประโยชน์ของสาธารณรัฐเกาหลี พบว่ากรมสรรพากรเกาหลีให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีแก่ทั้งผู้ซื้อสินค้าที่ใช้จ่ายบัตรและผู้ประกอบการร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการโดยก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้เข้าร่วมโครงการ สำหรับระยะเวลาการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีสาธารณรัฐเกาหลีไม่ได้กำหนดระยะเวลาการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีแก่ผู้เข้าร่วมโครงการ และแม้ว่าสาธารณรัฐเกาหลีจะไม่มีการให้สิทธิประโยชน์แจกโชคจากการใช้บัตรเดบิตเช่นเดียวกับประเทศไทย แต่มีการให้เงินรางวัลแก่ผู้แจ้งชื่อร้านค้าที่ไม่ออกใบเสร็จรับเงิน ดังนั้น ประเทศไทยควรปรับเปลี่ยนการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีโดยมุ่งให้ผู้เข้าร่วมโครงการได้ประโยชน์อย่างแท้จริง รวมถึงควรขยายระยะเวลาการให้สิทธิประโยชน์ เพื่อเป็นการสร้างโอกาสให้กับผู้ประกอบการได้มากขึ้น ผู้เขียนได้เสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหาทั้ง 3 ประการ โดยผู้เขียนเห็นว่าวิธีการดังกล่าวมีความเหมาะสมและควรปรับปรุง สามารถประยุกต์และปรับใช้กับประเทศไทย ซึ่งจะทำให้โครงการใช้บัตรเดบิตในประเทศไทยสามารถเติบโตและเป็นที่รู้จักจากบุคคลทั่วไปและผู้ประกอบการธุรกิจได้มากขึ้น นอกจากนี้จะทำให้รัฐบาลไทยได้มาซึ่งฐานข้อมูลรายได้ของประชาชนและผู้ประกอบการครบถ้วนมากขึ้น ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการพัฒนานโยบายและผลักดันเศรษฐกิจของประเทศไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืนen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2017.39-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectบัตรเดบิต -- ไทยen_US
dc.subjectการชำระเงิน -- ไทยen_US
dc.subjectการชำระเงิน -- เกาหลีen_US
dc.subjectการชำระเงิน -- แง่ยุทธศาสตร์en_US
dc.subjectนโยบายเศรษฐกิจ -- ไทยen_US
dc.titleปัญหาการดำเนินโครงการใช้บัตรเดบิตแทนเงินสด ภายใต้แผนยุทธศาสตร์ National e-Payment ของประเทศไทย และแนวทางในการแก้ปัญหาen_US
dc.typeIndependent Studyen_US
dc.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineกฎหมายเศรษฐกิจen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorTashmai.R@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.IS.2017.39-
Appears in Collections:Law - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5986153834.pdf2.29 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.