Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60424
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorบุษกร บิณฑสันต์-
dc.contributor.authorขำคม พรประสิทธิ์-
dc.contributor.authorพรประพิตร์ เผ่าสวัสดิ์-
dc.contributor.authorภัทระ คมขำ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2018-10-08T02:29:49Z-
dc.date.available2018-10-08T02:29:49Z-
dc.date.issued2559-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60424-
dc.description.abstractการวิจัยเรื่อง วัฒนธรรมดนตรีไทใหญ่ในรัฐชาน สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาวัฒนธรรมดนตรีไทใหญ่ในด้านการบรรเลงเครื่องดนตรีประเภทกลองก้นยาว กลองมองเซิง เครื่องสาย เครื่องตี และเครื่องเป่า ศึกษาพิธีกรรมและความเชื่อที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมการถ่ายทอดดนตรี รวมทั้งศึกษาสัญลักษณ์และความหมายของเครื่องดนตรีไทใหญ่ การศึกษาวัฒนธรรมดนตรีไทใหญ่ในด้านการบรรเลงเครื่องดนตรีประเภทกลองก้นยาว กลองมองเซิง และเครื่องสาย พบว่า การตีกลองก้นยาวนั้น มีการตีลักจังหวะระหว่างกลองก้นยาวกับมอง วิธีการตีกลองมักตีด้วยเสียงเปิ้งหรือการตีเปิดมือให้เกิดเสียงดังเป็นส่วนใหญ่ ทำนองกลองก้นยาวตีประกอบการฟ้อนโตพบลักษณะการทอนทำนองกลอง ส่วนการตีประกอบการรำก้าปั่นกลองนิยมซอยพยางค์ถี่และมีการทอนทำนอง เครื่องดนตรีประเภทกลองมองเซิงไม่ปรากฏในการวิจัยภาคสนามในครั้งนี้ เครื่องดนตรีประเภทเครื่องสาย ได้แก่ ตอยอฮอร์น ใช้ในวงจ้าดไต มีวิธีการบรรเลงแบบ “ลักจังหวะ” เป็นส่วนใหญ่ กลวิธีบรรเลงของตอยอฮอร์นปรากฏการบรรเลงหลัก ๆ ได้แก่ การขย่มนิ้ว การสีรูดนิ้ว ขยี้นิ้ว และการสีพรมนิ้วพร้อมกับการสะบัดนิ้ว ๓ พยางค์เสียง การสีขยี้นิ้วมักทำเพื่อเป็นการเน้นเสียงลูกตกเสียงใดเสียงหนึ่ง และมักจะขยี้ในทำนองขึ้นต้นก่อนทำนองร้องเป็นส่วนใหญ่ ผลการศึกษาพบเครื่องดนตรีประเภทเครื่องตี ๒ ประเภท ได้แก่ มองแว็ง เป็นเครื่องดนตรีที่มีลักษณะคล้ายกับฆ้องวงของไทยแต่วางเรียงเป็นแผง ประสมอยู่ในวงจ้าดไต ทำหน้าที่ดำเนินทำนองโดยมีบทบาทสำคัญกับผู้ขับร้องและนางรำ และปาตนา มีลักษณะคล้ายระนาดเอกเหล็กของไทย ปัจจุบันไม่นิยมนำมาใช้ในวงจ้าดไต จังหวะกลองที่ใช้ในวงจ้าดไตเรียกว่า เช่าลงปั้ด มี ๑๒ จังหวะ แบ่งออกเป็น การบรรเลงดนตรีที่ไม่ประกอบการแสดง การบรรเลงประกอบการร่ายรำและการแสดง และการบรรเลงเมื่อปิดม่านเพื่อเตรียมการแสดง ด้านพิธีกรรมและความเชื่อที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมการถ่ายทอดด้านดนตรีพบว่า การถ่ายทอดความรู้ด้านดนตรีไทใหญ่เป็นไปอย่างมุขปาฐะและมีการเรียนรู้แบบครูพักลักจำ ในด้านพิธีกรรมและความเชื่อที่เกี่ยวข้องกับการถ่ายทอดดนตรีนั้นพบว่า ศิลปินกลองก้นยาวส่วนใหญ่ไม่ประกอบพิธีไหว้ครู แต่สำหรับศิลปินคณะลิเกจ้าดไตนั้นยึดถือในการไหว้ครู ณ เวทีการแสดง นอกจากนี้ยังพบว่า พิธีกินอางเป็นพิธีกรรมกินน้ำกระดาษสาลงยันต์เพื่อบูชาครูสุรสติ พิธีดังกล่าวสะท้อนถึงความเชื่อแบบผสมผสานระหว่างสิ่งเหนือธรรมชาติกับความเชื่อตามพุทธคติซึ่งชาวไทใหญ่ยึดถือในการดำรงชีวิต การศึกษาสัญลักษณ์และความหมายของกลองก้นยาวในเมืองสีป่อ พบกลองก้นยาวที่สำคัญในเมืองสีป่อ ๖๒ ใบ แบ่งออกเป็นกลองก้นยาวที่มีความสำคัญเชิงประวัติศาสตร์ ประเภทที่มีความสำคัญในเชิงพิธีกรรม ประเภทที่มีสัดส่วนงดงามเหมาะสมเป็นต้นแบบ และกลองประเภทที่ได้รับการยืนยันว่าเป็นกลองที่มีเสียงดี จากการวิจัยพบว่า ไม้ที่ใช้ทำหุ่นกลองทำจากต้นไม้มงคล หนังหน้ากลองทำจากหนังวัวและหนังเลียงผาซึ่งถือว่าเป็นสัตว์มงคลในรัฐชาน สัญลักษณ์ที่ใช้ในการตกแต่งกลองก้นยาวพบรูปทรงเรขาคณิตและรูปทรงจากธรรมชาติ รูปทรงและสีที่ใช้ตกแต่งกลองก้นยาวมีความหมายสัมพันธ์กับสีที่ใช้เป็นสัญลักษณ์ของธงรัฐชานen_US
dc.description.abstractalternativeThe objectives of the Research of Musical Culture of Tai Yai in Shan State are to study Tai Yai's musical culture in various aspects which are the playing of Klong Kon Yao (a kind of long drum), Klong Mong Soeng (a kind of two-headed drum), string instruments, percussion instruments, and wind instruments; rituals and beliefs in the teaching of Tai Yai's music; symbols and meanings of Tai Yai's instruments. From the study of Tai Yai's musical culture in playing Klong Kon Yao, Klong Mong Soeng, and string instruments, it is found that Klong Kon Yao is beaten in syncopation with Mong gong . Klong Kon Yao is mainly beaten with open hands to produce the loud sound "poeng." Accompanied the Toh Dance, the melodies of Klong Kon Yao are found to be diminished, while accompanied Kaa Pan Klong Dance they are found to be diminished and the beats broken into rapid succession. In this field research, Klong Mong Soeng is not found. As to string instruments, Tor Yor Horn played in Jaad Tai band is analyzed and found that the instrument is mostly played in "syncopation" style.Traditional techniques in playing TorYor Horn concern finger using in various ways which are finger pressing repeatedly, finger pressing and drawing, finger scrubbing, finger trilling and fluttering in three melodic syllables. To play with scrubbing finger is to stress an on-beat and often used in a prelude preceding the singing melody. This research found two kinds of percussion instruments: Mong Wang, a set of gongs strung in rows similar to Khong Wong, Thai semicircle set of gongs; and Patana, a kind of xylophone similar to Thai iron xylophone. Played in accompany with Jaad Tai band, the Mong Wang is used to proceed a melody rhythmically, a role important to singers and dancers. Patana is once used in Jaad Tai band but hardly found nowadays. The drum tempos used in Jaad Tai band are called Shao Long Pad and consisted of 12 beats which can be separated into three types according to their usages: instrumental beats, beats playing in accompany with dancing and performances, and beats playing during intervals. As for rituals and beliefs concerning the culture of music teaching, it is found that Tai Yai passes on their traditional music orally and learners sometimes learn the music by observing and memorising the experts' techniques and practise themselves. Concerning rituals, Klong Kon Yao's artists do not perform the ceremony of paying homage to teachers while Jaad Tai's artists do the ceremony at their performance stage. A ritual of drinking water immersed with mystic symbol written on mulberry paper (Sa) is also found and is meant to pay homage to a certain teacher goddess named Surasati. The ritual shows integrated beliefs between the traditional animism and Buddhism which is the main religion in Tai Yai ways of life. The study of symbols and meanings of Klong Kon Yao in Si Por Province discovers 62 such drums with importance in history, ritual relating, as perfect proportion models, and as providers of perfect sounds. It is found that Klong Kon Yao's drum shell is made of wood from auspicious tree, its drum head made of skins of cow and serow which are considered auspicious animals in Shan state. Symbols decorated on Klong Kon Yao are geometric shapes and natural designs and its colors are related to the colors of Shan State flag.en_US
dc.description.sponsorshipได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากงบประมาณแผ่นดิน ประจำปี 2557-2559en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectไทใหญ่ -- ความเป็นอยู่และประเพณีen_US
dc.subjectดนตรีพื้นบ้าน -- พม่า -- รัฐชานen_US
dc.subjectเครื่องดนตรี -- พม่าen_US
dc.titleวัฒนธรรมดนตรีไทใหญ่ในรัฐชาน สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาen_US
dc.typeTechnical Reporten_US
dc.email.authorBussakorn.S@Chula.ac.th-
dc.email.authorKumkom.P@Chula.ac.th-
dc.email.authorPornprapit.P@Chula.ac.th-
dc.email.authorPattara.K@Chula.ac.th-
Appears in Collections:Fine Arts - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Bussakorn B_Res_2558.pdf19.68 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.