Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60456
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorบุษกร บิณฑสันต์-
dc.contributor.authorขำคม พรประสิทธิ์-
dc.contributor.authorพรประพิตร์ เผ่าสวัสดิ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์-
dc.coverage.spatialไทย-
dc.date.accessioned2018-10-18T06:18:57Z-
dc.date.available2018-10-18T06:18:57Z-
dc.date.issued2554-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60456-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มุ่งศึกษาคลังทรัพยากรปัญญาของผู้สูงอายุชาวไทใหญ่ในด้านวัฒนธรรมดนตรีในจังหวัดแม่ฮ่องสอน ได้แก่ วัฒนธรรมการบรรเลงดนตรีไทใหญ่ พิธีกรรมและความเชื่อที่เกี่ยวข้องกับการถ่ายทอดความรู้ รวมถึงสัญลักษณ์และความหมายในกลองก้นยาวอันเป็นเอกลักษณ์ของชาวไทใหญ่ การศึกษาเกี่ยวกับเรื่องวัฒนธรรมการบรรเลงดนตรีไทยใหญ่ พบว่าวัฒนธรรมการบรรเลงดนตรีไทใหญ่ที่สำคัญแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่ม คือ การบรรเลงกลองก้นยาว การบรรเลงกลองมองเซิง และการบรรเลงดนตรีจ้าดไต ทั้งกลองก้นยาวและกลองมองเซิงใช้ตีประกอบการฟ้อนและขบวนแห่ในงานประเพณี ทำนองของกลองก้นยาวสำหรับการตีประกอบการฟ้อนนั้นมีกระสวนทำนองสำคัญที่แตกต่างจากกระสวนทำนองประกอบขบวนแห่ แต่รูปแบบทำนองของกลองมองเซิงพบว่ามีทิศทางการดำเนินทำนองไปในทางเดียวกันทั้งแบบการตีประกอบการฟ้อน และแบบการตีประกอบในขบวนแห่ อีกทั้งยังมีรูปแบบการตีโหม่งที่ตายตัว การบรรเลงดนตรีจ้าดไตเป็นวัฒนธรรมดนตรีที่ขาวไทใหญ่ได้รับมาจากดนตรีราชสำนักของพม่า มีลักษณะทำนองที่สำคัญคือเน้นการซ้ำลูกตกภายในวรรคซ้ำวรรค และซ้ำประโยค อีกทั้งไม่นิยมการแปลทำนอง ในด้านพิธีกรรมและความเชื่อที่เกี่ยวข้องกับการถ่ายทอดความรู้ พบว่า การถ่ายทอดความรู้ในด้านดนตรีเป็นไปในลักษณะมุขปาฐะ พิธีกรรมและความเชื่อที่เกี่ยวข้องกับการถ่ายทอดความรู้สะท้อนให้เห็นถึงอิทธิพลของความเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนาผสมผสานกับความเชื่อในเรื่องสิ่งเหนือธรรมชาติ และพิธีกรรมยังสะท้อนภาพรวมวัฒนธรรมของศิลปินดนตรีชาวไทใหญ่ในการเป็นผู้มีความกตัญญูรู้คุณครู มีความเคารพนบนอบต่อผู้สูงอายุ ส่วนผู้สูงอายุที่เป็นศิลปิน ดนตรีชาวไทใหญ่มีบทบาทสำคัญในการถ่ายทอดภูมิปัญญาในด้านดนตรีไปยังเยาวชนรุ่นหลัง นอกจากนี้ยังเป็นผู้ที่ชี้นำในการอนุรักษ์ฟื้นฟู และเผยแพร่วัฒนธรรมดนตรีไทใหญ่ให้คงอยู่เป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดแม่ฮ่องสอนได้เป็นอย่างดี การศึกษาเรื่องสัญลักษณ์และความหมายของกลองก้นยาวจังหวัดแม่ฮ่องสอน พบว่าผู้สูงอายุยังมีบทบาทสำคัญในการถ่ายทอดผ่องถ่ายองค์ความรู้ในฐานะผู้ประกอบพิธีกรรม ผู้สอนงานช่าง และเป็นแหล่งอ้างอิงสนับสนุนในการจัดงานวัฒนธรรมประเพณีของชุมชน กลองก้นยาวในจังหวัดแม่ฮ่องสอนมีขนาดหลากหลาย กลองใบที่สูงที่สุดมีขนาด 96.5 นิ้ว จากการเก็บข้อมูลสัดส่วนกลองก้นยาวทั้งหมด 96 ใบ จาก 32 หมู่บ้านไทใหญ่ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน สามารถจัดแบ่งขนาดกลองได้เป็น 5 กลุ่ม กลุ่มที่มีพบมากที่สุดคือกลุ่มกลองขนาด 50-59 นิ้ว มีจำนวน 50 ใบ สัญลักษณ์และความหมายที่พบในกลองก้นยาวแบ่งออกเป็น 2 ประเภท กลุ่มแรกสะท้อนมโนทัศน์ของภูมิปัญญาผู้สูงอายุที่มีวิถีชีวิตผูกพันกับธรรมชาติ ระบบความหมายกลุ่มที่ 2 สะท้อนให้เห็นถึงอุดมการณ์ทางการเมืองของชาวไทใหญ่รุ่นใหม่ที่ได้รักบารถ่ายทอดให้ปรากฏเป็นรูปธรรมเชิงสัญลักษณ์บนกลองก้นยาวen_US
dc.description.abstractalternativeThis research is intended to study the wisdom resources of Tai Yai elderly in Mae Hong Son concerning their musical culture: particularly performance culture of Tai Yai music that accompanied the traditions; rites and beliefs related to musical transmission, and symbols and meanings of Glong kon yao. The research findings show that the performance culture of Tai Yai Music in Mae Hong Son Province can be divided into three groups; Glong gon yao , Glong mong seung, and the Jat Tai Music. Both Glong gon yao and Glong mong seung are accompanied dances and processions whereas Jat Tai is a theatrical repertoire which was derived from the royal Burmese court music. The Glong gon yao melodic pattern can be distinguished from Glong mon seung. While the melodic pattern of Glong kon yao is varied, that of Glong mong seung is predictable and more static than the Glong gon yao's patterns. The musical characteristics of Jat Tai melodies are concerned with the repetitiveness which is found in repeated last note of each phrase, repeated phrases, and repeated sentences. In addition, a musical analysis of Jat Tai melodies leads to a conclusion that a concept of variation is not emphasized in Jat Tai performing techniques. The study of the rites and beliefs related to the Tai Yai's musical transmission shows that the musical knowledge is passing on orally. As for ceremonies and beliefs concerning music ceremonies the findings indicate strong faith of Tai Yai musicians in Buddhism combined with supernatural beliefs. The rites reflect the sense of gratitude to the teacher as well as the respect to the elderly. The Tai Yai musical artist elderly play significant role in passing on their musical wisdom to the next generations. Besides their willingness to pass on their knowledge, traditions, and ceremonies, these elderly are also good advisers in reviving, conserving and promoting the Tai Yai's musical culture. According to empirical data of physical information on Glong gon yao, the tallest size is 96.5 inches. Five categories of drum sizes can be inferred and the largest group of drum size in number is the third category which is the size of 50-59 inches in height. In regard to the system of symbols and meanings, two groups of systems can be divided. The first system was inducted from the Tai Yai senior citizens' paradigm which reflects the connections between life and nature. The second group belongs to the perception of Tai Yai new generation that displays a political ideology of the Shan State. Regarding the study of symbols and meanings of Glong gon yao, the data gathered from fieldwork in thirty-two Tai Yai villages shows that senior citizens play an important role in preserving the local wisdom and still remains the pillar of the villages in providing references, supporting traditional festivals, and holding a status of leaders in directing rituals as teachers in the community.en_US
dc.description.sponsorshipได้รับทุนอุดหนุนงบประมาณแผ่นดินen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectไทใหญ่ -- ดนตรีen_US
dc.subjectShan (Asian people) -- Musicen_US
dc.titleแผนงานวิจัยผู้สูงอายุกับคลังทรัพยากรภูมิปัญญาไทยด้านดนตรีไทใหญ่ภาคเหนือ (จังหวัดแม่ฮ่องสอน)en_US
dc.title.alternativeผู้สูงอายุกับคลังทรัพยากรภูมิปัญญาไทยด้านดนตรีไทใหญ่ภาคเหนือ (จังหวัดแม่ฮ่องสอน)en_US
dc.typeTechnical Reporten_US
dc.email.authorBussakorn.S@Chula.ac.th-
dc.email.authorKumkom.P@Chula.ac.th-
dc.email.authorPornprapit.P@Chula.ac.th-
Appears in Collections:Fine Arts - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Bussakorn B_Res_2554.pdf54.27 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.