Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60496
Title: สุขภาวะ การเจริญเติบโต และสถานภาพประชากรของเต่ากระ Eretmochelys imbricata ที่เกาะทะลุ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ : รายงานผลการดำเนินงาน
Other Titles: Health, growth and population status the Hawksbill sea turtle Eretmochelys imbricata at Talu Island, Prachuapkhirikhan Province
Authors: นพดล กิตนะ
จิรารัช กิตนะ
วิเชฏฐ์ คนซื่อ
ผุสตี ปริยานนท์
มุกเรขา เชี่ยวชาญชัย
ยุพาพร วิสูตร
ธฤษวรรณ ไตรจิตร์
รังษิมา ผิวผ่อง
รชตะ มณีอินทร์
ขัตพันธุ์ จันทะวงษ์ศรี
ภาณุพงศ์ ธรรมโชติ
ธงชัย ฐิติภูรี
สุธิโรจน์ มีสวัสดิ์
พิชญุตม์ ฤกษนันทน์
พชร สิทธิชีวภาค
Email: Noppadon.K@Chula.ac.th
Jirarach.S@Chula.ac.th
Wichase.K@Chula.ac.th
Putsatee.p@chula.ac.th
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Subjects: เต่ากระ -- เกาะทะลุ (ประจวบคีรีขันธ์)
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: เกาะทะลุ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นหนึ่งในพื้นที่โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ ที่ยังคงสภาพอุดมสมบูรณ์ เป็นที่อยู่ของสัตว์สำคัญหลายชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเต่ากระ Eretmochelys imbricate ซึ่งปัจจุบันหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ กองเรือยุทธการ กองทัพเรือและภาคเอกชนที่ดูแลเกาะทะลุ (มูลนิธิฟื้นฟูทรัพยากรทะเลสยาม และ เกาะทะลุไอส์แลนด์รีสอร์ท) ได้ร่วมมือกันบริหารจัดการพื้นที่หาดทรายของเกาะทะลุให้เหมาะสมกับการขึ้นทำรังวางไข่ของเต่ากระ จนประสบผลสำเร็จในการเพาะฟักไข่และอนุบาลลูกเต่าได้เป็นจำนวนมาก โดยในปี พ.ศ. 2557 พบการขึ้นวางไข่ของเต่ากระ 7 รัง ในระหว่างเดือนมิถุนายน ถึง เดือนกันยายน พ.ศ. 2557 และได้ทำการย้ายไข่มาเพาะฟักยังหาดทรายกึ่งธรรมชาติจนฟักออกเป็นตัวและได้ลูกเต่ามาเลี้ยงยังบ่อในโรงเรือนอนุบาลทั้งสิ้น 706 ตัว การตรวจสอบสุขภาวะของเต่ากระในบ่อเลี้ยงอาศัยการตรวจสอบค่าทางโลหิตวิทยาในภาคสนามของเต่ากระกลุ่มอายุ 1-2 ปี ที่ได้จากการเพาะฟักไข่จากฤดูการวางไข่ ปี พ.ศ. 2556 แล้วนำมาเลี้ยงในโรงเรือนอนุบาลจำนวน 68 ตัว พบว่าเต่ากระมีค่าฮีมาโตคริตอยู่ในช่วงร้อยละ 5 ถึง ร้อยละ 25.5 โดยมีเฉลี่ยเท่ากับร้อยละ 13.29 ± 4.39 ซึ่งจัดอยู่ในช่วงอ้างอิงของเต่ากระก่อนวัยเจริญพันธุ์ (ร้อยละ 12.1-41.0) ขนาดประชากรของเต่ากระอาจประมาณได้จากข้อมูลการทำรังวางไข่ของเต่ากระที่เกาะทะลุในปี พ.ศ. 2555 และ 2557 ซึ่งพบว่ามีเต่ากระเพศเมียอย่างน้อย 4 ตัว ที่ใช้เกาะทะลุเป็นพื้นที่ทำรังวางไข่ แต่ไม่สามารถระบุถึงจำนวนเต่ากระเพศผู้ได้ การศึกษานี้จึงได้พัฒนาเทคนิคทางชีววิทยาโมเลกุล (mitochondrial DNA) เพื่อตรวจสอบจำนวนเต่ากระเพศเมียที่ขึ้นวางไข่ ควบคู่ไปกับการศึกษาภาวะ multiple paternity ด้วยเทคนิคทางชีววิทยาโมเลกุล (microsatellite DNA) เพื่อตรวจสอบว่ามีเต่าเพศผู้อย่างน้อยกี่ตัวที่ผสมพันธุ์กับเต่าเพศเมียที่วางไข่รังนี้ โดยใช้เลือดจากตัวอย่างเต่ากระอายุ 1-2 ปี ที่ใช้ศึกษาสุขภาวะและการเจริญเติบโต ผลการศึกษาเบื้องต้นพบว่า ในการตรวจสอบจำนวนเต่ากระเพศเมีย ยังไม่สามารถใช้บริเวณ control region ของ mitochondrial DNA เพื่อระบุอัตลักษณ์ของแม่เต่าได้ ส่วนการตรวจสอบจำนวนเต่ากระเพศผู้ พบว่า microsatellite primer อย่างน้อย 3 คู่ ที่มีศักยภาพในการใช้ตรวจสอบอัตลักษณ์ของพ่อเต่าได้
Other Abstract: Talu Island in Prachuab Khiri Khan province is one of the protected area of the Plant Genetic Conservation Project under the Royal Initiative of HRH Princess Maha Chakri Sirindhorn. The island ecosystem is rich in biodiversity with a presence of important reptile species, especially the hawksbill sea turtle, Eretmochelys imbricoto. Currently, a sea turtle head start program has been established under the cooperation between the Naval Special Warfare Command of The Royal Thai Navy and the private sectors (Foundation for Siam Marine Resource Restoration and Koh Talu Island Resort). In this program, nesting beach on Talu Island is routinely monitored for nesting incidence. Upon nesting, turtle eggs will be incubated ex situ in a semi-natural beach until hatch and hatchlings will be raised in a hatchery for a certain period before releasing to the wild. In the 2014 nesting season (JuneSeptember 2014), 7 nests of E. imbricoto were found on the island, and 706 turtle hatchlings has been successfully obtained from the incubation and currently raised at the hatchery. To monitor health of turtles in the head start program, blood samples were obtained from 68 turtles hatched during the 2013 nesting season and currently raised at the hatchery. It was found that hematocrit value of these turtles was in the range of 5% to 25.5% with an average value of 13.29 ± 4.93 percent which is well within the reference range of the immature E. imbricoto raised in captivity (12.1-41.0 percent). Population of the hawksbill turtle in this area was initially estimated from the nesting incidence. In 2012 and 2014 nesting season, it was estimated that there are at least 4 female hawksbill turtles used this island as their nesting sites. However, it is still not possible to estimate number of male turtles. In this study, molecular biology techniques have been employed to estimate 1) number of nesting female turtles from mitochondrial DNA of the hatchlings and 2) number of male turtles that sired these hatchlings from microsatellite DNA. Blood samples of the immature turtles hatched during the 2013 nesting season were subjected to DNA extraction, PCR and sequence analysis. Preliminary results showed that using control region of the mitochondrial DNA as a marker to identify female turtles is not yet successful, while using microsatellite marker to identify male turtles seemed to be feasible with at Least 3 pairs of microsatellite primer.
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60496
Type: Technical Report
Appears in Collections:Sci - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Noppadon Kit_Res_2558.pdf2.77 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.