Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60562
Title: แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพด้านการใช้พลังงานของอาคารศาลากลางด้วยการปรับปรุงวัสดุกรอบอาคาร
Other Titles: Approach for increasing energy efficiency of the provincial hall by improving building envelope materials
Authors: ศาณิส ยี่โถขาว
Advisors: อรรจน์ เศรษฐบุตร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Atch.S@Chula.ac.th
Subjects: อาคาร -- การใช้พลังงาน
อาคารราชการ -- การใช้พลังงาน
อาคาร -- การอนุรักษ์พลังงาน
Buildings -- Energy consumption
Buildings -- Energy conservation
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อหาแนวทางการปรับปรุงการออกแบบกรอบอาคารศาลากลาง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานและมีความเหมาะสมในเชิงเทคนิคและเศรษฐศาสตร์ โดยใช้แบบมาตรฐานอาคารศาลากลางที่ใช้อยู่ในปัจจุบันเป็นอาคารกรณีศึกษา โดยการศึกษาวิจัยจะประกอบด้วย 4 ส่วนหลักคือ 1)การเก็บข้อมูลอาคารกรณีศึกษาเพื่อสร้างรูปแบบอาคารอ้างอิง 2)การสร้างอาคารอ้างอิงด้วยการจำลองในโปรแกรม VisualDOE 4.1 เพื่อคำนวณหาค่าการใช้พลังงานในแต่ละช่วงเวลาโดยทำการเทียบเคียงกับค่าไฟฟ้าที่ใช้จริงของอาคารกรณีศึกษาที่ก่อสร้างตามแบบมาตรฐาน 3)การออกแบบแนวทางที่เหมาะสมในการปรับปรุงการออกแบบ และ 4)การสรุปแนวทางปรับปรุงการออกแบบอาคารศาลากลาง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน จากผลการวิจัย พบว่าประสิทธิภาพการใช้พลังงานของแบบมาตรฐานอาคารศาลากลางที่เป็นอยู่ในปัจจุบันนั้น ค่าการถ่ายเทความร้อนรวมของผนัง (OTTV) และหลังคา (RTTV) มีค่า 28.68 W/m2 และ 8.91 W/m2 ตามลำดับซึ่งต่ำกว่าเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดไว้คือ OTTV = 50 W/m2 และ RTTV = 15 W/m2 อันเนื่องมาจาก 1)การเลือกใช้วัสดุผนังที่มีค่าสัมประสิทธิ์การถ่ายเทความร้อนรวมต่ำ 2)อัตราส่วนของพื้นที่หน้าต่างต่อพื้นที่ผนังทั้งหมด (WWR) ที่มีค่าไม่สูง 3)การออกแบบให้มีแผงกันแดดรอบอาคาร 4)การวางผังห้องที่ไม่ลึกเกินไปทำให้ได้รับแสงธรรมชาติ ส่งผลทำให้ค่าการใช้พลังงานจากการคำนวณการใช้พลังงานรวมมีค่า 79.39 kWh/m2.Y ซึ่งต่ำกว่าค่ามาตรฐานที่กฎหมายอนุรักษ์พลังงานกำหนดไว้ ผลการวิจัยสรุปแนวทางในการปรับปรุงการออกแบบอาคารศาลากลางโดยวัดจากค่าใช้จ่ายตลอดช่วงอายุการใช้งาน (LCC) โดยการเลือกวัสดุกรอบอาคารควรเป็นวัสดุที่มีราคาไม่สูง และสามารถช่วยประหยัดพลังงานอย่างคุ้มค่า ซึ่งจากการคำนวณทั้งหมด 112 แนวทางพบว่า การปรับปรุงโดยเปลี่ยนเป็นผนังก่ออิฐมอญครึ่งแผ่น 2 ชั้น เว้นช่องอากาศไว้ตรงกลาง และเปลี่ยนกระจกของช่องเปิดเฉพาะในส่วนของพื้นที่ที่มีการปรับอากาศเป็นกระจกสีเขียวตัดแสงหนา 6 มม. มีความคุ้มค่าในการลงทุนมากที่สุด และจากการวิจัยยังพบอีกว่า การใส่ฉนวนผนังอาคารสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันความร้อนได้ดีขึ้นจริงแต่ไม่มีความคุ้มค่าทางการลงทุนเนื่องจากค่าก่อสร้าง (Initial Cost) สูงกว่าค่าไฟฟ้าที่ประหยัดได้มาก จึงไม่คุ้มค่าการลงทุนในระยะยาว
Other Abstract: This research aims at exploring approaches for improving provincial hall envelope design in terms of technical and economic aspects to increase energy efficiency. A standard provincial hall was used as case study. The research comprises 4 main parts: 1) collecting data of the case study building to create a reference building 2) creating a reference building using the VisualDOE 4.1 program to calculate energy consumption at various times and compare the actual electricity consumption with the case study standard building, 3) designing appropriate ways to improve the design, and 4) recommending guidelines for the improvement of provincial hall design to increase energy efficiency. The study found that the energy efficiency of the current standard provincial hall has OTTV and RTTV of 28.68W/M2 and 8.91 W/m2 respectively, which are lower than the levels set by the law at 50 W/m2 for OTTV and 15 W/m2 for RTTV. This is due to: 1) a choice of wall material with a low heat transfer coefficient, 2) a low ratio of window to total wall area (WWR), 3) a design that places sun screen panels around the building, and 4) a room layout that is not too deep which allows natural light to get in. All of these factors result in a total energy consumption of 79.39 kWh/m2.Y, which is lower than the standard set in the energy conservation law. In summary, the results of the study showed that provincial hall design improvement can be achieved by choosing building envelope materials that are inexpensive and effective in helping improve energy consumption. Among 112 measures, it was found that improvement by constructing two layers of half-slab brick walls with space in the middle, and changing the window glass from clear to 6 mm-thick green-tinted heat-absorbing glass is the best value-for-money investment. The study also found that although insulating the walls can increase heat prevention efficiency, it pushes the initial construction cost up way beyond the saved electricity cost and thus in the long run is not worth the investment.
Description: วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สถาปัตยกรรม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60562
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1612
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2010.1612
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sanis Yeethokhao.pdf8.79 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.