Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60571
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorไพฑูรย์ คงสมบูรณ์-
dc.contributor.authorโสพิศ อินทะจักร์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์-
dc.date.accessioned2018-11-14T08:08:22Z-
dc.date.available2018-11-14T08:08:22Z-
dc.date.issued2560-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60571-
dc.descriptionเอกัตศึกษา (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560en_US
dc.description.abstractความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีกำลังเปลี่ยนแปลงรูปแบบของกิจกรรมการค้าระหว่างประเทศ มีการส่งเสริมในเรื่องของเอกสารอิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น แม้กระทั่งหน่วยงานภาครัฐก็ตื่นตัวและเร่งพัฒนาระบบต่างๆ เพื่อให้รองรับเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ และเชื่อมต่อระบบระหว่างกระทรวง ทบวง กรม กับระบบกรมศุลกากรเพื่อลดความจำเป็นในการใช้กระดาษ นอกจากนี้ แม้แต่สายเรือก็เริ่มพัฒนาใบตราส่งที่เป็นเอกสารเปลี่ยนมือได้ (Negotiable Document) ในรูปแบบของใบตราส่งอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Bill of Lading) ธนาคารที่เป็นสถาบันหลักที่ให้บริการการชำระเงินสำหรับการค้าระหว่างประเทศจำเป็นต้องปรับตัว และพัฒนาการให้บริการผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Channel) เมื่อกล่าวถึงการให้บริการการชำระเงินระหว่างประเทศ นอกเหนือจากเอกสารการขนส่งแล้ว เอกสารสำคัญอีกอย่างที่มีบทบาทสำคัญนั่นคือ “ตั๋วแลกเงิน” (Bill of Exchange) โดยเฉพาะภายใต้ธุรกรรมเลตเตอร์ออฟเครดิตแบบมีระยะเวลา (Usance (Term) Letter of Credit) ด้วยวิธีการชำระเงินคือการรับรองตั๋วแลกเงิน และชำระเงินเมื่อถึงกำหนด เมื่อธนาคารได้รับเอกสารที่เรียกเก็บเงินภายใต้ Term L/C ธนาคารดาเนินการออกตั๋วแลกเงินให้ลูกค้าธนาคารที่เป็นผู้นำเข้ารับรองตั๋วแลกเงิน เพื่อขอรับเอกสารไปออกสินค้า ธนาคารนั้นกาลังพัฒนา E-Channel ที่ลูกค้าสามารถทาธุรกรรมทุกอย่างผ่านระบบโดยไม่ต้องติดต่อหรือนำส่งเอกสารประกอบการขอใช้บริการที่สาขาธนาคาร และสามารถรับเอกสารที่ธนาคารออกให้ผ่านทางระบบเช่นกัน ถ้าหากธนาคารสามารถออกตั๋วแลกเงินอิเล็กทรอนิกส์ได้ จะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาการให้บริการของธนาคารให้ดียิ่งขึ้น ตั๋วแลกเงินเป็นตราสารที่มีลักษณะเฉพาะเจาะจง ในประเทศไทยเรื่องของตั๋วแลกเงินได้บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 ที่ใช้บังคับกับตั๋วแลกเงินที่เป็นกระดาษเท่านั้น ดังนั้นจึงต้องศึกษาพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 (พ.ร.บ.ธุรกรรมฯ) ที่ให้การรับรองผลทางกฎหมายกับเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ ประกอบกับกฎหมายตั๋วเงิน เพื่อศึกษาว่าตั๋วแลกเงินอิเล็กทรอนิกส์นั้นมีความสมบูรณ์ตามกฎหมายตั๋วเงินหรือไม่ และเมื่อเกิดข้อพิพาทขึ้นมาจะสามารถอ้างเป็นพยานหลักฐานเพื่อบังคับเอาผิดกับคู่สัญญาได้เหมือนกับตั๋วแลกเงินหรือไม่ และศึกษาจากกฎหมายแม่แบบของ United Nations Commission on International Trade Law (UNCITRAL) ว่าด้วย Electronic Transferable Records เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาเอกสารและตราสารเปลี่ยนมือได้ที่อยู่ในรูปข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ถึงแม้ว่าพ.ร.บ.ธุรกรรมฯ นั้นรองรับการใช้เอกสารอิเล็กทรอนิกส์ในการทำธุรกรรม แต่ไม่ได้รวมถึงเอกสารหรือตราสารเปลี่ยนมือได้ จึงไม่สามารถนำมาใช้กับตั๋วแลกเงินหรือตั๋วสัญญาใช้เงินอิเล็กทรอนิกส์ได้ เพื่อเป็นการส่งเสริมธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ จำเป็นต้องมีการปรับปรุงกฎหมายในประเทศให้รองรับการใช้งานตั๋วเงินอิเล็กทรอนิกส์ ผู้เขียนมีความเห็นควรมีการยกร่างกฎหมายเฉพาะสำหรับเอกสารหรือตราสารเปลี่ยนมือได้ตามกฎหมายแม่แบบของ UNCITRAL เพื่อให้มีความเหมาะสม และไม่กระทบต่อกฎหมายเดิมที่มีอยู่en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2017.45-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectตั๋วแลกเงินen_US
dc.subjectสินเชื่อ--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับen_US
dc.titleการเปิดเครดิตออกตั๋วแลกเงินอิเล็กทรอนิกส์โดยธนาคารเพื่อรับรองภายใต้ธุรกรรมเลตเตอร์ออฟเครดิตen_US
dc.typeIndependent Studyen_US
dc.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineกฎหมายเศรษฐกิจen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorPaitoonlaw@hotmail.com-
dc.subject.keywordตั๋วแลกเงินอิเล็กทรอนิกส์en_US
dc.subject.keywordธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์en_US
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.IS.2017.45-
Appears in Collections:Law - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
588 62660 34.pdf1.49 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.