Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60578
Title: | มาตรการการจัดเก็บภาษีที่เกี่ยวกับสกุลเงินดิจิทัล (Cryptocurrency) |
Authors: | เกรียงไกร โภคานุกรม |
Advisors: | วุฒิพงษ์ ศิริจันทรานนท์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์ |
Advisor's Email: | ไม่มีข้อมูล |
Subjects: | การจัดเก็บภาษี--การเงิน สินทรัพย์ดิจิทัล |
Issue Date: | 2560 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | เอกัตศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหามาตรการการจัดเก็บภาษีที่เกี่ยวกับสกุลเงินดิจิทัล ในประเทศไทย ด้วยวิธีการศึกษาและวิจัยเชิงคุณภาพโดยการศึกษารวบรวมเอกสารทั้งแบบปฐมภูมิ และทุติยภูมิ เกี่ยวกับต้นกำเนิดและความเป็นมาของเงินดิจิทัล ลักษณะธุรกรรมการใช้สกุลเงินดิจิทัล ต่าง ๆ มาตรการในการจัดเก็บภาษีที่เกี่ยวข้องกับเงินดิจิทัลทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ รวมทั้ง ปัญหา ข้อจำกัดต่าง ๆ แล้วจึงนำข้อมูลที่ได้ศึกษารวบรวมมาวิเคราะห์และสังเคราะห์โดย การเปรียบเทียบระหว่างมาตรการการจัดเก็บภาษีในประเทศไทยและต่างประเทศ เพื่อหาแนวทางใน การกำหนดมาตรการทางภาษีที่ชัดเจนและสามารถบังคับใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จากการศึกษาพบว่า นวัตกรรมทางการเงินได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องทำให้หลายประเทศ เกิดการตื่นตัวในวงกว้างต่อการกำหนดมาตรการทางภาษีที่เกี่ยวข้องกับเงินดิจิทัล ด้วยรูปแบบและ ลักษณะเฉพาะตัวของเงินดิจิทัลทำให้กระบวนการทำธุรกรรมที่ใช้เงินดิจิทัลมีความแตกต่างไป จากการทำธุรกรรมในอดีต การทำธุรกรรมที่เกิดขึ้นจะเป็นการทำธุรกรรมระหว่างผู้ใช้งานด้วยกันหรือ ที่เรียกว่า peer to peer จึงเป็นแบบอิสระโดยที่ไม่ต้องอาศัยตัวกลางทางการเงิน และยังทำให้ ผู้ใช้งานได้รับรางวัลจากการตรวจสอบและยืนยันรายการเป็นเงินดิจิทัลอีกด้วย โดยเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2561 ประเทศไทยได้มีการประกาศใช้พระราชกำหนด การประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 และพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 19) พ.ศ. 2561 ซึ่งจะมีผลตั้งแต่วันที่ 14 พฤษภาคม 2561 ซึ่งเป็นกฎหมายในการกำกับดูแล และควบคุมการประกอบกิจการที่เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์ดิจิทัล ซึ่งมีสาระสำคัญ คือการกำหนดนิยาม ของคำว่าสินทรัพย์ดิจิทัล คริปโทเคอร์เรนซี และโทเคนดิจิทัล รวมถึงมีการกำหนดส่วนเพิ่มประเภท ย่อยของเงินได้พึงประเมินมาตรา 40 (4) แห่งประมวลรัษฎากรและกำหนดให้มีการจัดเก็บภาษี ในอัตราร้อยละ 15 โดยวิธีการหัก ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50 (2) แห่งประมวลรัษฎากร และต้อง นำไปรวมคำนวณเงินได้สุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จากผลการศึกษาจากการศึกษาเปรียบเทียบมาตรการการจัดเก็บภาษีที่เกี่ยวข้องกับเงิน ดิจิทัลของประเทศญี่ปุ่นและประเทศสหรัฐอเมริกา พบว่าทั้งสองประเทศมีมุมมองต่อเงินดิจิทัล ที่คล้ายกัน กล่าวคือ การตีความว่าเงินดิจิทัลเป็นประเภทหนึ่งของสินทรัพย์ มิใช่เงินตราและมี การจัดเก็บภาษีจากมูลค่าส่วนเกิน (Capital gain) โดยมีความแตกต่างในสาระสำคัญ 3 ประการ คือ (1) ฐานภาษีในส่วนของหลักการการคิดต้นทุนของเงินดิจิทัล (2) การใช้ประโยชน์จากการหักกลบ ระหว่างกำไรและขาดทุน (3) ภาษีมูลค่าเพิ่ม ทั้งนี้ผู้เขียนได้เสนอแนะให้มีการมีการออกระเบียบหรือ มาตรการรวมถึงแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจน ใน การจัดเก็บ ภาษีที่เกี่ยวข้องกับ เงิน ดิจิทัล โดยควรจะพิจารณาถึงข้อดีและข้อเสียของการทำแนวทางต่าง ๆ มาปรับใช้ การลงทุนในระบบ การจัดเก็บข้อมูลเพื่อให้ได้รับมาซึ่งข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือในระดับสูงในการจัดเก็บภาษี ตลอดจน แนวทางปฏิบัติในเรื่องของภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งจะส่งผลดีต่อการพัฒนาประเทศต่อไป |
Description: | เอกัตศึกษา (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560 |
Degree Name: | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | กฎหมายเศรษฐกิจ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60578 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2017.5 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.IS.2017.5 |
Type: | Independent Study |
Appears in Collections: | Law - Independent Studies |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
598 61550 34.pdf | 868.07 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.