Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60593
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorณัชพล จิตติรัตน์-
dc.contributor.authorชัญญารักษ์ แซ่ห่าน-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์-
dc.date.accessioned2018-11-21T07:56:38Z-
dc.date.available2018-11-21T07:56:38Z-
dc.date.issued2560-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60593-
dc.descriptionเอกัตศึกษา (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560en_US
dc.description.abstractเอกัตศึกษาฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาเกี่ยวกับบังคับใช้พระราชบัญญัติว่าด้วยความรับผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่2) พ.ศ. 2560 กับการส่งอีเมลเชิงพาณิชย์ในลักษณะสแปม (spam) รวมทั้งศึกษาทฤษฎี แนวคิด และมาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับสแปมปัจจุบันทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ เพื่อนำมาวิเคราะห์เปรียบเทียบ และเพื่อเสนอแนะแนวทางในการเพิ่มเติมบทบัญญัติกฎหมายที่เหมาะสม รวมไปถึงแนวทางในการใช้อีเมลเชิงพาณิชย์เพื่อการโฆษณาให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ในขณะที่ยังสามารถปกป้องสิทธิความความเป็นอยู่ส่วนบุคคลของผู้บริโภคได้อย่างเป็นธรรม จากการศึกษาพบว่าปัจจุบัน พระราชบัญญัติว่าด้วยความรับผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 ยังไม่สามารถคุ้มครองสิทธิความเป็นอยู่ส่วนบุคคลของผู้บริโภคได้เพียงพอ เนื่องจากไม่มีหลักเกณฑ์ที่แน่ชัดในเรื่องการตั้งชื่อหัวเรื่องของอีเมล (Heading) ซึ่งกระทบต่อสิทธิในการรับรู้คาพรรณนาที่ถูกต้องและเพียงพอของผู้รับ เนื่องจากผู้รับไม่สามารถตัดสินใจก่อนเปิดอ่านอีเมลเชิงพาณิชย์เหล่านั้นได้ ซึ่งนอกจะทาให้สิ้นเปลืองข้อมูลอินเทอร์เน็ต ยังมีความเสี่ยงในการติดไวรัสหรือมัลแวร์อีกด้วย ยิ่งไปกว่านั้นกฎหมายยังไม่ได้กำหนดขนาด ความถี่ และปริมาณในการส่งที่เหมาะสมกับอัตราการส่งผ่านข้อมูลระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในปัจจุบัน ทำให้ผู้รับมีโอกาสได้รับอีเมลเชิงพาณิชย์เป็นจำนวนมากจนรบกวนการใช้งานพื้นที่ในกล่องข้อความของตนอย่างปกติสุข และยังทำให้ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISPs) หรือผู้ดูแลระบบต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการหรือขยายแบนด์วิดท์ (Bandwidth) หรือเซิร์ฟเวอร์ (server) เพื่อรองรับกับปริมาณข้อมูลโฆษณาที่มีจำนวนมากกว่าครึ่งของอีเมลทั้งหมดบนระบบอินเทอร์เน็ต อีกทั้งยังต้องเป็นฝ่ายจัดหา พัฒนาระบบหรือมาตรการในการป้องกันสแปมเมลให้ทันสมัยอยู่เสมอเพื่อรองรับกับปัญหาที่เกิดขึ้น อย่างไรก็ตาม การที่ผู้ประกอบการต้องขอความยินยอมก่อนทำการส่งอีเมลโฆษณาโดยใช้หลัก Opt-in เพียงอย่างเดียว เป็นการจำกัดสิทธิในการโฆษณามากเกินไปเช่นกัน ดังนั้นจึงควรพิจารณาปรับใช้หลัก inferred consent ในกรณีเป็นการโฆษณาสินค้าอื่นที่มีลักษณะใกล้เคียงกับสินค้าเดิมที่ผู้รับให้คำยินยอมไว้โดยเปิดช่องทางให้ผู้รับนั้นสามารถบอกปฏิเสธการรับได้โดยง่าย เพื่อเพิ่มอิสระให้แก่ผู้ประกอบการและส่งเสริมความคล่องตัวในการทำการตลาดen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2017.53-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectสแปม (จดหมายอิเล็กทรอนิกส์)en_US
dc.subjectการสื่อสารทางการตลาดen_US
dc.titleปัญหาการบังคับใช้พระราชบัญญัติว่าด้วยความรับผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่2) พ.ศ.2560 กับการส่งอีเมลเชิงพาณิชย์ในลักษณะสแปม (spam)en_US
dc.typeIndependent Studyen_US
dc.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineกฎหมายเศรษฐกิจen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisornatchapol.j@chula.ac.th-
dc.subject.keywordพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์en_US
dc.subject.keywordอีเมลen_US
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.IS.2017.53-
Appears in Collections:Law - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
598 61660 34.pdf1.72 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.