Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60604
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorกาญจนา นิมมานเหมินท์-
dc.contributor.authorชานนท์ จูตะกานนท์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์-
dc.date.accessioned2018-11-23T07:24:17Z-
dc.date.available2018-11-23T07:24:17Z-
dc.date.issued2560-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60604-
dc.descriptionเอกัตศึกษา(ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560en_US
dc.description.abstractเอกัตศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเหมาะสมของการให้อำนาจอธิบดีในการประกาศราคาขายปลีกแนะนำตาม พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560 โดยพิจารณาถึงหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีกรมสรรพสามิตใช้ในการกำหนดและประกาศราคาขายปลีกแนะนำว่ามีความเหมาะสมหรือไม่ ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ในการเสนอการแก้ไขปรับปรุงหลักเกณฑ์และวิธีการในการตรวจสอบและประกาศราคาขายปลีกแนะนำของอธิบดีกรมสรรพสามิต วิธีการศึกษานอกจากจะพิจารณาจากตัว พ.ร.บ. ภาษีสรรพสามิตไทยเองแล้ว ยังได้ศึกษาถึงหลักเกณฑ์และวิธีการในการกำหนดฐานภาษีตามมูลค่าที่มาจากราคาขายสินค้าที่ใช้อยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศฟิลิปปินส์เพื่อนำมาใช้ในการวิเคราะห์หาแนวทางที่เหมาะสมในการนำหลักเกณฑ์และวิธีการกำหนดฐานภาษีตามมูลค่าดังกล่าวมาปรับใช้ในประเทศไทย ทั้งนี้จากการศึกษาพบว่า พ.ร.บ. ภาษีสรรพสามิตกำหนดว่า หากกรมสรรพสามิตตรวจพบว่าราคาขายปลีกที่ผู้ค้าปลีกขายให้แก่ผู้บริโภคมีหลายราคา ให้อธิบดีมีอำนาจในการประกาศให้นำราคาขายปลีกที่กรมสรรพสามิตตรวจพบที่สูงที่สุดเป็นราคาขายปลีกแนะนำที่จะนำมาใช้เป็นฐานในการคำนวณภาษีสรรพสามิต นอกจากนี้หากอธิบดีพบว่ารายขายปลีกแนะนำไม่สอดคล้องกับความเป็นจริงหรือไม่เป็นไปตามกลไกตลาดและไม่สามารถหาราคาฐานนิยมได้ให้อธิบดีมีอำนาจในการประกาศให้นำราคาขายปลีกที่กรมสรรพสามิตตรวจพบที่สูงที่สุดเป็นราคาขายปลีกแนะนำที่จะนำมาใช้เป็นฐานในการคำนวณภาษีสรรพสามิตอีกด้วย เมื่อพิจารณาในทางปฏิบัติแล้วจะพบว่าหลักเกณฑ์ดังกล่าวยังไม่ถูกต้อง เนื่องจากผู้ผลิตหรือผู้นำเข้าซึ่งเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีไม่สามารถกำหนดให้ผู้ค้าปลีกขายสินค้าของตนในราคาที่ตนกำหนดได้เนื่องจากจะเป็นการขัดกับ พ.ร.บ. การแข่งขันทางการค้าซึ่งได้กำหนดให้ใช้ราคาสูงสุดมาเป็นฐานในการคำนวณภาษีสรรพสามิตยังถือเป็นข้อกำหนดที่ไม่เป็นธรรมต่อผู้เสียภาษี ดังนั้นข้อกำหนดเกี่ยวกับการให้อำนาจอธิบดีในการประกาศราคาขายปลีกแนะนำจึงควรได้รับการแก้ไข โดยการแก้ไขกฎหมายโดยให้เปลี่ยนจากการกำหนดให้ใช้ราคาขายปลีกที่สูงที่สุดเป็นฐานในการคำนวณภาษีสรรพสามิตเป็นการใช้ราคาขายปลีกแนะนำซึ่งในทางปฏิบัติเป็นราคาที่ปรากฏอยู่ที่ตัวสินค้าตามสื่อสิ่งพิมพ์หรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ในรายการราคา หรือราคาขายที่ได้แจ้งไว้กับทางราชการ เนื่องจากราคาดังกล่าวสะท้อนราคาที่ผู้ประกอบอุตสาหกรรมหรือผู้นำเข้าประสงค์จะใช้เป็นราคาขายต่อผู้บริโภคทั่วไป ซึ่งจะทำให้เกิดความเป็นธรรมต่อผู้ประกอบอุตสาหกรรมหรือผู้นำเข้า และเอื้อต่อกระบวนการตรวจสอบราคาขายปลีกแนะนำของกรมสรรพสามิตให้เป็นไปโดยสะดวกและรวดเร็วen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2017.28-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectสินค้า -- ราคาen_US
dc.subjectอากรสรรพสามิตen_US
dc.titleความเหมาะสมของการให้อำนาจอธิบดีในการประกาศราคาขายปลึกแนะนำตามพ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิตen_US
dc.typeIndependent Studyen_US
dc.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineกฎหมายเศรษฐกิจen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.otherไม่มีข้อมูล-
dc.subject.keywordภาษีสรรพสามิตen_US
dc.subject.keywordราคาขายปลีกen_US
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.IS.2017.28-
Appears in Collections:Law - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
598 61682 34.pdf1.48 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.