Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60647
Title: | การจัดหมวดหมู่หินทางวิศวกรรมสำหรับประเมินเสถียรภาพของลาดเอียงหิน บริเวณเขื่อนน้อย ศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้เพื่อภูมิภาค จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จังหวัดสระบุรี |
Other Titles: | Engineering rock mass classification for rock slope stability assessment at Noi Dam Site Center of learning network for the region Chulalongkorn University Saraburi province |
Authors: | ชาญรัตน์ เมินขุนทด |
Advisors: | ฐานบ ธิติมากร |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ |
Advisor's Email: | Thanop.T@Chula.ac.th |
Subjects: | เขื่อน -- ไทย -- สระบุรี เขื่อนดิน -- ไทย -- สระบุรี หมวดหิน Dams -- Thailand -- Saraburi Earth dams -- Thailand -- Saraburi Formations (Geology) |
Issue Date: | 2560 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | เขื่อนส่วนใหญ่มักสร้างเชื่อมระหว่างช่องเขา แล้วใช้ลาดเอียงหินเป็นฐานยันเขื่อน ซึ่งต้องรองรับแรงดันมหาศาลจากน้ำหนักของตัวเขื่อนและแรงดันน้ำ ถ้าลาดเอียงหินไม่มีเสถียรภาพอาจทำให้เกิดการพังทลายจนสร้างความเสียหายต่อโครงสร้างของตัวเขื่อน จึงต้องมีการประเมินเสถียรภาพของลาดเอียงหิน เพื่อประเมินความมั่นคงและเสนอวิธีป้องกันการพังทลาย โดยทำการศึกษาที่เขื่อนน้อย ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้เพื่อภูมิภาค จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จังหวัดสระบุรี ทั้งหมด 2 จุดศึกษา ได้แก่ KN1 และ KN2 การประเมินครั้งนี้ใช้วิธี Slope Mass Rating (SMR) ซึ่งเป็นการให้ค่าคะแนนความมั่นคงของหน้าลาดเอียงหิน โดย SMR สามารถประเมินได้ด้วยการรวม Rock Mass Rating (RMR) และพารามิเตอร์เพื่อปรับค่าเพิ่มเติมอีก 4 พารามิเตอร์ ค่าของพารามิเตอร์ RMR ได้จากการสังเกตภาคสนามและการทดสอบทางห้องปฏิบัติการ ในการประเมินรูปแบบการพังทลายจะต้องดำเนินการด้วยวิธี kinematic analysis โดยรูปแบบการพังทลายที่ได้จากการวิเคราะห์ จะเป็นตัวกำหนดพารามิเตอร์ F1, F2 และ F3 ส่วนพารามิเตอร์ F4 ถูกกำหนดจากวิธีที่ทำให้เกิดหน้าลาดเอียงหิน สำหรับทั้ง 2 จุดศึกษาพบรูปแบบการพังทลายแบบลิ่มและลาดเอียงหินเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เมื่อได้ค่าพารามิเตอร์ทั้งหมดแล้ว จึงทำการเทียบให้คะแนนจากตารางการให้ค่าคะแนนของพารามิเตอร์แต่ละตัว จากนั้นทำการคำนวณค่าคะแนนความมั่นคงของหน้าลาดเอียงหินตามสมการ SMR จุดศึกษา KN1 ได้ 94.4 คะแนน ส่วนจุดศึกษา KN2 ได้ 94.65 คะแนน ซึ่งเป็นค่าคะแนนที่สูงมาก ทั้ง 2 จุดศึกษาจัดเป็นหน้าลาดเอียงหินที่อยู่ในอันดับ 1 (Class I) มีเสถียรภาพความมั่นคงสูง (Completely stable) และมีค่าโอกาสเกิดการพังทลาย (Probability of failure) เป็น 0 ไม่จำเป็นต้องมีการป้องกันการพังทลาย (Support) ตามตารางการอธิบายค่าคะแนนความมั่นคงของหน้าลาดเอียงหิน SMR ส่วนรูปแบบการพังทลายแบบลิ่มที่พบจริงในมวลหินของทั้ง 2 จุดศึกษา มีขนาด 30-40 เซนติเมตร ไม่จัดว่าเป็นอันตรายเนื่องจากมีขนาดเล็กและรอยแตกยังยึดแน่นกันอยู่ดี |
Other Abstract: | Majority of dams are built between hill slopes; hence, they must be capable of accommodating tremendous pressure of the dam's weight and water pressure. If the slope is unstable, it can cause damage to the structure of the dam. Therefore, the rock slope stability must be evaluated in order to investigate the stability and to propose ways to prevent failure. This study is conducted at "Noi Dam" located at the north-east of Center of Learning Network for the Region, Chulalongkron University, Saraburi Province. In this study total of 2 slopes namely KN1 and KN2 were studied. The Slope Mass Rating (SMR), which indicates the stability of the rock slope, is used to assess the slope stability. The SMR can be evaluated by combine Rock Mass Rating (RMR) and 4 adjustment parameters. The RMR parameters are obtained from field observations and laboratory tests. The kinematic analysis must be performed to indentify mode of failure and then the parameters F1, F2, and F3 can be defined. The parameter F4 is defined from method of excavation. For both of the slopes, the mode of failure is wedge failure and the method of excavation is natural slope. After defining, each parameter is scored according RMR scoring table. Then the slope stability score is evaluated by using the SMR equation. The results show SMR is 94.4 and 94.65 for KN1 and KN2 respectively. The slopes of the study areas are classified as class I, completely stable with the probability of failure of 0, which does not require any support according to SMR value definition. The failures observed at both of the study areas have the wedge sizes of 30-40 centimeters, which are not dangerous because they are small and still holding together. |
Description: | โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2560 |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60647 |
Type: | Senior Project |
Appears in Collections: | Sci - Senior Projects |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Senior_project_Chanrat Meunkuntod.pdf | 1.81 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.