Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60652
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | วิภาวดี ลี้มิ่งสวัสดิ์ | - |
dc.contributor.author | นัชชา แสวงพรรค | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา | - |
dc.date.accessioned | 2018-12-03T02:03:58Z | - |
dc.date.available | 2018-12-03T02:03:58Z | - |
dc.date.issued | 2560 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60652 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560 | - |
dc.description.abstract | การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลฉับพลันของการนวดตนเองด้วยมือ และนวดตนเองโดยใช้อุปกรณ์แบ็คน็อบเบอร์ ทู ที่มีต่อความเมื่อยล้าของกล้ามเนื้อบริเวณอัพเพอะ ทราพิเซียสในพนักงานสำนักงาน กลุ่มตัวอย่างเป็นพนักงานสำนักงานเพศชายและหญิงที่มีอายุ 25 - 45 ปี จำนวน 17 คน โดยกลุ่มตัวอย่างทุกคนทำการทดลองทั้ง 3 สภาวะ ได้แก่ การนวดตนเองด้วยมือ การนวดตนเองโดยใช้อุปกรณ์แบ็คน็อบเบอร์ ทู และการนั่งพักเฉยๆ บนเก้าอี้ เว้นระหว่างสภาวะการทดลองเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 1 สัปดาห์ โดยประเมินระดับความรู้สึกเมื่อยล้าด้วยแบบประเมินมาตรวัดตัวเลข (Numerical Rating Scale) และบันทึกค่าคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ (Electromyography) เพื่อหาค่าการหดตัวของกล้ามเนื้อสูงสุด (Maximum voluntary contraction) ก่อนและหลังการทดลอง นำผลที่ได้มาวิเคราะห์เปรียบเทียบภายในกลุ่มด้วยค่าทีรายคู่ (Paired t-test) และวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวชนิดวัดซ้ำ (One-way ANOVA with Repeated Measures) หากพบความแตกต่างจึงเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยแบบรายคู่ (Post hoc test) ด้วยวิธีของบอนเฟอโรนี (Bonferroni) ที่ระดับความมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ผลการวิจัยพบว่า ค่าเฉลี่ยของระดับความรู้สึกเมื่อยล้าของกล้ามเนื้อหลังการทดลองทั้ง 3 สภาวะมีค่าลดลง ค่าเฉลี่ยของค่าร้อยละการหดตัวของกล้ามเนื้อหลังการทดลองทั้ง 3 สภาวะมีค่าเพิ่มขึ้น และเมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยระดับความรู้สึกเมื่อยล้าของกล้ามเนื้อ และค่าเฉลี่ยร้อยละการหดตัวของกล้ามเนื้อ พบว่าหลังการทดลองการนวดตนเองด้วยมือและการนวดตนเองโดยใช้อุปกรณ์แบ็คน็อบเบอร์ ทู ไม่แตกต่างกัน สรุปผลการวิจัย การนวดตนเองด้วยมือและการนวดตนเองโดยใช้อุปกรณ์แบ็คน็อบเบอร์ ทู บริเวณกล้ามเนื้ออัพเพอะ ทราพิเซียส ระยะเวลา 15 นาที ทำให้พนักงานสำนักงานมีความรู้สึกเมื่อยล้าของกล้ามเนื้อลดลง และกล้ามเนื้อมีการหดตัวดีขึ้น | - |
dc.description.abstractalternative | The purposes of this study were to study and to compare acute effects of the self-massage and self-massage with Backnobber II on muscle fatigue of the upper trapezius in office workers. The subjects were 17 male and female office workers aged 25 – 45 years. All subjects received 3 conditions, self-massage, self-massage with Backnobber II, and resting on the chair. Active recovery by spacing between each recovery method at least one week. The data, fatigue score was evaluated by numerical rating scale and electromyographic activities, were collected before and after the experiment. EMG was obtained during maximal voluntary contraction. All data was analysed mean and standard deviation. Paired t-test was used to compare the experimental parameters between pre and post conditions. The results of each condition was compared based on One-way ANOVA with Repeated Measures. Once the differences were found, the mean differences were subjected to Post hoc test using Bonferroni approach, which had statistical significance of 0.05 The results showed that the mean fatigue score in both right and left upper trapezius muscle decreased significantly (p < 0.05) in all of conditions. Additionally, the mean percentage of muscle contraction of both right and left upper trapezius muscle increased significantly (p < 0.05) in all of conditions. After comparing all 3 conditions of experiments, the data revealed that the mean fatigue score and the mean percentage of muscle contraction of self-massage and self-massage with Backnobber II were not significant difference. In conclusions, self-massage and self-massage with Backnobber II on upper trapezius for 15 minutes decreased muscle fatigue and improved muscle contraction in office workers. | - |
dc.language.iso | th | - |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.1224 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.subject | การบำบัดด้วยการนวด | - |
dc.subject | Massage therapy | - |
dc.subject.classification | Health Professions | - |
dc.title | ผลฉับพลันของการนวดตนเองที่มีต่อความเมื่อยล้าของกล้ามเนื้อในพนักงานสำนักงาน | - |
dc.title.alternative | The acute effects of self massaging on muscle fatigue in office workers | - |
dc.type | Thesis | - |
dc.degree.name | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต | - |
dc.degree.level | ปริญญาโท | - |
dc.degree.discipline | วิทยาศาสตร์การกีฬา | - |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.email.advisor | Wipawadee.L@Chula.ac.th | - |
dc.subject.keyword | OFFICE WORKER | - |
dc.subject.keyword | MUSCLE FATIGUE | - |
dc.subject.keyword | SELF-MASSAGE | - |
dc.identifier.DOI | 10.58837/CHULA.THE.2017.1224 | - |
Appears in Collections: | Spt - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5978311339.pdf | 9.24 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.