Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60723
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสายรุ้ง ซาวสุภา-
dc.contributor.advisorบัณฑิกา อารีย์กุล บุทเชอร์-
dc.contributor.authorณภัทร พระโพธิ์วังซ้าย-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2018-12-03T02:28:56Z-
dc.date.available2018-12-03T02:28:56Z-
dc.date.issued2560-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60723-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560-
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถในการโต้แย้งและความเข้าใจธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ของนักเรียนก่อนและหลังได้เรียนรู้ด้วยการเรียนการสอนด้วยการให้เหตุผลแบบรวมพลัง และ 2) เปรียบเทียบความสามารถในการโต้แย้งและความเข้าใจธรรมชาติของวิทยาศาสตร์หลังเรียนของนักเรียนที่ได้เรียนรู้ด้วยการเรียนการสอนด้วยการให้เหตุผลแบบรวมพลังกับนักเรียนที่ได้รับการเรียนการสอนแบบทั่วไป โดยดำเนินการตามรูปแบบการวิจัยกึ่งทดลอง ประชากรคือ นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา 37 จังหวัดแพร่ กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 81 คน ประกอบด้วยนักเรียนกลุ่มทดลองจำนวน 41 คนที่ได้เรียนรู้ด้วยการเรียนการสอนด้วยการให้เหตุผลแบบรวมพลัง และ นักเรียนกลุ่มควบคุมจำนวน 40 คนที่ได้เรียนรู้ด้วยการเรียนการสอนแบบทั่วไป การวิจัยดำเนินการในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 เครื่องมือที่ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบวัดความสามารถในการโต้แย้งซึ่งพิจารณาใน 3 องค์ประกอบได้แก่ การสร้างข้อโต้แย้ง การสร้างข้อโต้แย้งค้าน และการสร้างข้อคัดค้าน และ แบบวัดความเข้าใจธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ซึ่งพิจารณาใน 5 มุมมองได้แก่ ความรู้ทางวิทยาศาสตร์เปลี่ยนแปลงได้ ธรรมชาติของการสังเกต บทบาทของจินตนาการ วิธีการทางวิทยาศาสตร์ และ อิทธิพลของสังคมและวัฒนธรรมที่มีต่อความรู้ทางวิทยาศาสตร์ โดยเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลทั้ง 2 ชนิดมีค่าสัมประสิทธ์แอลฟาเท่ากับ 0.78 และ 0.72 ตามลำดับ ทำการทดสอบนักเรียนทั้ง 2 กลุ่มก่อนและหลังการทดลอง วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้ด้วยสถิติ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าเฉลี่ยร้อยละ สถิติทดสอบที ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนกลุ่มทดลองมีความสามารถในการโต้แย้งและความเข้าใจธรรมชาติของวิทยาศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 2) นักเรียนกลุ่มทดลองมีความสามารถในการโต้แย้งและความเข้าใจธรรมชาติของวิทยาศาสตร์สูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จากผลการวิจัยสามารถสรุปได้ว่าการเรียนการสอนด้วยการให้เหตุผลแบบรวมพลังมีประสิทธิภาพในการพัฒนาความสามารถในการโต้แย้งและความเข้าใจธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4 ได้-
dc.description.abstractalternativeThis study aims to 1) compare students' argumentation ability and nature of science understanding before and after learning through collaborative reasoning instruction, and 2) compare argumentation ability and nature of science understanding between groups of students after learning through collaborative reasoning instruction and traditional instruction. Quasi-experimental research design was conducted this study. The population was tenth grade students in Secondary Educational Service Area Office 37, Phrae province. Samples were  81 tenth grade students that divided into two groups: 41 students as experimental group who learnt through collaborative reasoning instruction and 40 students as control group who learnt through traditional instruction. This research was conducted in the first semester of the academic year 2017. Data collecting instruments were argumentation ability test, which comprised 3 components, namely self-argument, counterargument, and rebuttal, and the nature of science understanding test, which considered 5 tenets including tentativeness of scientific knowledge, nature of observation, role of imagination, scientific method, and social and cultural influences. Coefficient alpha of instruments were 0.78 and 0.72, respectively. Students of both groups were tested twice before and after learning as pretest and posttest. Collected data were statistically analyzed using mean, standard deviation, percentage of mean, and t-test. This study revealed two main results, firstly, the experimental group had higher argumentation ability and nature of science understanding than their pretest at a statistical significance level of 0.05. Secondly, post-instructional argumentation ability and nature of science understanding of the experimental group were statistically higher than the control group at a statistical significance level of 0.05. Conclusion from this research suggests that the collaborative reasoning instruction can effectively improve argumentation ability and nature of science understanding of the tenth grade students.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.782-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subjectวิทยาศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)-
dc.subjectการเรียนรู้จากการรู้คิด-
dc.subjectScience -- Study and teaching ‪(Secondary)‬-
dc.subjectCognitive learning-
dc.subject.classificationSocial Sciences-
dc.titleผลของการเรียนการสอนด้วยการให้เหตุผลแบบรวมพลังที่มีต่อความสามารถในการโต้แย้งและความเข้าใจธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4-
dc.title.alternativeEffects of collaborative reasoning instruction on argumentation ability and nature of science understanding of tenth grade students-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineการศึกษาวิทยาศาสตร์-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.email.advisorSairoong.S@chula.ac.th-
dc.email.advisorBuntika.A@Chula.ac.th-
dc.subject.keywordCOLLABORATIVE REASONING INSTRUCTION-
dc.subject.keywordARGUMENTATION ABILITY-
dc.subject.keywordNATURE OF SCIENCE UNDERSTANDING-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2017.782-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5883408227.pdf4.31 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.