Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60736
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | วิโรจน์ เจียมจรัสรังษี | - |
dc.contributor.advisor | สมหญิง ธัมวาสร | - |
dc.contributor.advisor | สุรัตน์ บัวเลิศ | - |
dc.contributor.author | จามรี สอนบุตร | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2018-12-03T02:33:23Z | - |
dc.date.available | 2018-12-03T02:33:23Z | - |
dc.date.issued | 2559 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60736 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วท.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559 | - |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจหาเชื้อวัณโรคและจุลินทรีย์ (แบคทีเรียและเชื้อรา) ในอากาศ และการพิจารณาสิ่งแวดล้อมอื่นๆ ในพื้นที่เสี่ยงของสถานพยาบาล 7 แห่ง ที่ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานครและจังหวัดใกล้เคียงในภาคกลางของประเทศไทย การตรวจหาเชื้อวัณโรคในอากาศใช้เทคนิคการการเก็บจุลชีพในอากาศด้วยวิธีการดักด้วยของเหลวในอิมพิงเจอร์ (liquid impinger method) และตรวจหาเชื้อวัณโรคด้วยวิธี quantitative real-time polymerase chain reaction (real-time qPCR) ส่วนการตรวจหาจำนวนแบคทีเรียและเชื้อราในอากาศใช้เครื่อง the six-stage viable Andersen cascade impactor และนับจำนวนด้วยเทคนิคการเพาะเลี้ยง ผลการศึกษาพบเชื้อวัณโรคในอากาศคิดเป็นร้อยละ 3 (3/99 บริเวณ) โดยพบที่ห้องเก็บเสมหะ 2 บริเวณ และห้องผู้ป่วยสำหรับผู้ป่วย 1 บริเวณ ตัวแปรที่มีความแตกต่างกันระหว่างสถานที่ตรวจพบและไม่พบเชื้อวัณโรคในอากาศ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้แก่ อัตราการหมุนเวียนอากาศต่ำ ปริมาณความชื้นสัมพัทธ์สูง และจำนวนครั้งการไอที่ไม่ได้ใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลต่อวันของผู้มารับบริการ ส่วนแบคทีเรียและเชื้อราในอากาศ พบว่าตัวแปรที่มีความสัมพันธ์กับจำนวนแบคทีเรียและเชื้อราในอากาศ (รวมทุกขนาด) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้แก่ อัตราการหมุนเวียนอากาศต่ำ (ชั่วโมง-1) ปริมาณความชื้นสัมพัทธ์สูง (%) แผนกฉุกเฉิน และระบบปรับอากาศแบบรวมศูนย์ สรุปผลการวิจัยครั้งนี้สนับสนุนว่าการประเมินด้านสิ่งแวดล้อมอาจเป็นตัวบ่งชี้เบื้องต้นของความเสี่ยงต่อการสัมผัสเชื้อวัณโรคในบุคลากรทางการแพทย์ และแสดงให้เห็นว่าการป้องกันและควบคุมแบคทีเรียและเชื้อราในอากาศในสถานพยาบาลยังคงเป็นปัญหาที่ควรได้รับการพิจารณาปรับปรุงแก้ไข | - |
dc.description.abstractalternative | This study aimed to detect airborne M. tuberculosis complex and other microorganisms, and to examine their relating environmental parameters in high–risk areas in 7 healthcare facilities located in Bangkok and its periphery in central Thailand. The detection of airborne M. tuberculosis was conducted by the liquid impinger technique with the quantitative real-time polymerase chain reaction (real-time qPCR) technique, while the airborne bacteria and fungi were collected by the six-stage viable Andersen cascade impactor and were simultaneously quantitated by culture technique. The positive airborne M. tuberculosis samples of 3.0% (3 out of 99 air samples) included two sputum collection rooms and one TB in patient room. A lower air change rate, higher relative humidity, and the number of unprotected coughs were significantly different (p <0.05) between the airborne M. tuberculosis positive and negative areas. In addition, higher total bacteria and fungi counts were significantly associated with lower air change rate, higher relative humidity, and central type air conditioner (p <0.05). In conclusion, this study support that environmental assessments may be an early indicator of nosocomial M. tuberculosis risk and control measures of airborne bacteria and fungus in healthcare facilities remain a problem that should be considered. | - |
dc.language.iso | th | - |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.236 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.subject | วัณโรค | - |
dc.subject | การตรวจคัดโรค | - |
dc.subject | Tuberculosis | - |
dc.subject | Medical screening | - |
dc.subject.classification | Medicine | - |
dc.title | การตรวจหาเชื้อวัณโรคและจุลินทรีย์ในอากาศในแผนกที่มีความเสี่ยงสูงของสถานพยาบาลในภาคกลางของประเทศไทย | - |
dc.title.alternative | Detection of airborne Mycobacterium tuberculosis complex and microorganism in high-risk area of healthcare facilities in central Thailand | - |
dc.type | Thesis | - |
dc.degree.name | วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต | - |
dc.degree.level | ปริญญาเอก | - |
dc.degree.discipline | การวิจัยและการจัดการด้านสุขภาพ | - |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.email.advisor | Wiroj.J@Chula.ac.th | - |
dc.email.advisor | Somying.T@Chula.ac.th | - |
dc.email.advisor | ไม่มีข้อมูล | - |
dc.subject.keyword | AIRBORNE BACTERIA | - |
dc.subject.keyword | AIRBORNE FUNGI | - |
dc.subject.keyword | AIRBORNE M. TUBERCULOSIS | - |
dc.identifier.DOI | 10.58837/CHULA.THE.2016.236 | - |
Appears in Collections: | Med - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5574902130.pdf | 3.86 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.