Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60749
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorศุภางค์ มณีศรี เลอกรองด์-
dc.contributor.advisorธนัญญา ทองตัน-
dc.contributor.advisorวรานุรินทร์ ยิสารคุณ-
dc.contributor.authorณัฐณิชา ตัณฑรังษี-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์-
dc.date.accessioned2018-12-03T02:33:29Z-
dc.date.available2018-12-03T02:33:29Z-
dc.date.issued2559-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60749-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559-
dc.description.abstractยาพาราเซตามอลจัดเป็นยาบรรเทาปวด ลดไข้ ที่ได้รับความนิยมอย่างมากเนื่องจากก่อให้เกิดผลข้างเคียงน้อยและมีราคาถูก แต่อย่างไรก็ตามผลงานวิจัยในระยะหลังกลับบ่งชี้ว่า การได้รับยาพาราเซตา มอลอย่างเรื้อรังแม้เป็นขนาดของยาที่ใช้ในการรักษา สามารถส่งผลกระทบต่อการทำงานของระบบประสาทส่วนกลาง และเนื่องจากเซลล์แอสโทรไซต์เป็นเซลล์ค้ำจุนที่มีบทบาทสำคัญทั้งทางด้านสรีรวิทยาและพยาธิวิทยาในระบบประสาทส่วนกลาง ดังนั้น งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบของการได้รับยาพาราเซตามอลอย่างเรื้อรังต่อการแสดงออกสารที่เกี่ยวข้องกับการอักเสบในเซลล์แอสโทรไซต์ โดยการศึกษาครั้งนี้ ได้ทำการศึกษาผลกระทบของการได้รับยาพาราเซตามอลที่ขนาดความเข้มข้น 100 µM ทั้งแบบเฉียบพลัน (24 ชั่วโมง) และเรื้อรัง (16 และ 28 วัน) ต่อการเปลี่ยนแปลงเซลล์เพาะเลี้ยงแอสโทรไซต์ (C8-D1A) โดยได้ทำการตรวจสอบการแสดงออกของสารไซโตไคน์ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการอักเสบ (IL-1β และ TNF-α) และการแสดงออกของโปรตีนในวิถี NF-kB ด้วยเทคนิค western blot ตรวจสอบการแสดงออกของโปรตีน pNF-kB ด้วยเทคนิค immunohistrochemistry และเทคนิค immunofluorescence และศึกษาการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างระดับจุลภาคของเซลล์ภายใต้กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนของเซลล์เพาะเลี้ยงแอสโทรไซต์ที่เลี้ยงร่วมกับยาพาราเซตามอลเปรียบเทียบกับเซลล์เพาะเลี้ยงกลุ่มควบคุม ซึ่งผลจากการศึกษาพบว่า ระดับการแสดงออกของสารไซโตไคน์ที่เกี่ยวข้องกับการอักเสบ (IL-1β และ TNF-α), ระดับการแสดงออกของโปรตีน pNF-kB และลักษณะโครงสร้างระดับจุลภาคของเซลล์เพาะเลี้ยงแอสโทรไซต์ที่ได้รับยาพาราเซตามอลอย่างเฉียบพลันไม่แตกต่างไปจากเซลล์เพาะเลี้ยงควบคุม แต่ในเซลล์เพาะเลี้ยงแอสโทรไซต์ที่ได้รับยาพาราเซตามอลอย่างเรื้อรัง (16 และ 28 วัน) พบว่ามีการแสดงออกของโปรตีน IL-1β และ TNF-α เพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อเทียบกับเซลล์เพาะเลี้ยงควบคุม ซึ่งสอดคล้องไปกับการแสดงออกที่เพิ่มขึ้นของโปรตีน pNF-kB ในเซลล์เพาะเลี้ยงแอสโทรไซต์ที่ได้รับยาพาราเซตามอลอย่างเรื้อรังเช่นกัน อีกทั้งยังพบว่าเซลล์แอสโทรไซต์ที่ได้รับยาพาราเซตามอลอย่างเรื้อรังมีการเปลี่ยนแปลงลักษณะโครงสร้างระดับจุลภาคที่ผิดปกติไปโดยพบว่า ลักษณะโครมาตินในนิวเคลียสของเซลล์เพาะเลี้ยงแอสโทรไซต์ที่ได้รับยาพาราเซตามอลอย่างเรื้อรังมีการกระจายตัวของโครมาตินไปยังบริเวณขอบของนิวเคลียส (Chromatin margination) และพบการโป่งพองของเยื่อหุ้มนิวเคลียส รวมไปถึงพบการยืดขยาย (dilatation) ของ endoplasmic reticulum (ER) และไมโทคอนเดรียที่มีลักษณะบวม (swelling) เป็นจำนวนมาก เมื่อเปรียบเทียบกับเซลล์เพาะเลี้ยงควบคุม นอกจากนี้ยังตรวจพบการเกิด vacuolization และ autophagosome ผลจากงานวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่าการได้รับยาพาราเซตามอลอย่างเรื้อรังสามารถเหนี่ยวนำให้เซลล์แอสโทรไซต์มีการสร้างสารไซโตไคน์ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการอักเสบเพิ่มขึ้น ซึ่งปรากฏการณ์ดังกล่าวน่าจะมีความเกี่ยวข้องกับการกระตุ้นผ่านโปรตีนในวิถี NF-kB และส่งผลให้เกิดความผิดปกติของเซลล์แอสโทรไซต์ในที่สุด-
dc.description.abstractalternativeParacetamol (acetaminophen: APAP) is a recommended drug used for the treatment of pain and fever. It has also been recognized as a popular drug due to its low side-effects and a relatively low price. However, the information obtained from a recent study indicates that chronic APAP exposure, even though in the therapeutic dosage, had effect on the central nervous system (CNS). Since astrocytes play a crucial role in the physiology and pathology of the central nervous system (CNS), this study aimed to investigate the effect of chronic APAP treatment on the expression of pro-inflammatory cytokines in astrocytes. In the present study, the mouse-astrocyte (C8-D1A) cells were treated with APAP at the concentration of 100 µM for 24 hour (acute expose), 16 and 28 days (chronic expose). The expression of pro-inflammatory cytokines (IL-1 β and TNF-α), and pNF-kB were determined by using western blot analysis. Furthermore, the expression and localization of phosphorylation of nuclear factor-kappa B (pNF-kB), was also detected by immunohistochemistry and immunofluorescence assay. To monitor the alteration of the ultrastructure of the C8-D1A cells, transmission electron microscopy was applied. The results revealed that acute APAP treatment (24 hour) had no effect on the expression of pro-inflammatory cytokines (IL-1β and TNF-α) and pNF-kB. It also showed that acute APAP treatment did not alter the ultrastructure of C8-D1A cells when compared with those in the control cells. However, the results obtained from western blotting showed that the expression of pro-inflammatory cytokines (IL-1β and TNF-α) and pNF-kB were significantly increased in the C8-D1A cells treated chronically with APAP (16 and 28 days) when compared with those in the control cells. Using the immunohistochemistry and immunofluorescence assay, an increase in pNF-kB was observed in the C8-D1A treated chronically with APAP. Furthermore, the chronic APAP treatment could induce the alteration of the ultrastructure of the C8-D1A cells. The aggregation of chromatin along the nuclear membrane, swelling of nuclear envelope and mitochondria as well as the dilatations of rough endoplasmic reticulum were clearly demonstrated in the C8-D1A cells with 28 days APAP treatment. Several cells with vacuolization were observed in APAP treated cells. Interestingly, autophagic vacuoles with degraded organelles were observed in C8-D1A cells with chronic APAP treatment as well. The results obtained from this study suggest that chronic APAP treatment can induce an up-regulation of pro-inflammatory cytokines (IL-1β and TNF-α). This alteration might be closely associated with the activation of the NF-kB signaling pathway and finally leads to the abnormality of astrocyte cells.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.773-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subjectยา -- ผลข้างเคียง-
dc.subjectยาแก้ปวด -- ผลข้างเคียง-
dc.subjectDrugs -- Side effects-
dc.subjectAnalgesics -- Side effects-
dc.subject.classificationMedicine-
dc.titleผลกระทบของการได้รับยาพาราเซตามอลอย่างเรื้อรังต่อการแสดงออกของสารไซโตไคน์ที่เกี่ยวข้องกับการอักเสบในเซลล์แอสโทรไซต์-
dc.title.alternativeEffect of long term paracetamol treatment on the pro-inflammatory cytokine expression in astrocyte-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineวิทยาศาสตร์การแพทย์-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.email.advisorSupang.M@Chula.ac.th-
dc.email.advisorThananya.T@Chula.ac.th-
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
dc.subject.keywordPARACETAMOL-
dc.subject.keywordASTROCYTE-
dc.subject.keywordPRO-INFLAMMATORY CYTOKINES-
dc.subject.keywordNF-KB-
dc.subject.keywordULTRASTRUCTURE-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2016.773-
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5774021430.pdf4.05 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.