Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6074
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | พงศ์ธาริน โล่ห์ตระกูล | - |
dc.contributor.author | กนกวรรณ เสรีภาพ | - |
dc.contributor.author | ศุภจิตรา ชัชวาลย์ | - |
dc.contributor.author | รัฐ พิชญางกูร | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2008-02-28T04:05:09Z | - |
dc.date.available | 2008-02-28T04:05:09Z | - |
dc.date.issued | 2549 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6074 | - |
dc.description.abstract | สารละลายไคโตซานชนิด 80% DD สายยาว (P80) และสายสั้น (O80) และไคโตซานทีไม่ทราบโครงสร้างที่มีจำหน่ายในท้องตลาด (UCC) ถูกนำมาใช้ในการแช่เมล็ดก่อนปลูกและฉีดพ่นทางใบทุก ๆ 3 สัปดาห์ ที่ความเข้มข้น 25 50 และ 100 ppm แก่กระเจี๊ยบเขียว (Abelmoschus esculentus (L.) Monech) พันธุ์อินเดีย 9701 และพันธุ์ญี่ปุ่น Yamato Green โดยมีระยะเวลาการทดลอง 8 สัปดาห์ เพื่อศึกษาผลของขนาดพอลิเมอร์ และความเข้มข้นของไคโตซานที่มีต่อการเติบโตและผลผลิตของกระเจี๊ยบเขียว การติดเชื้อไวรัสเส้นใบเหลือง (Okra yellow vein mosaic virus) และการกัดกินของหนอนกระทู้หอม (Spodoptera exigua Hubner, 1808) จากการศึกษาพบว่าผลที่ได้จากการทดลองที่ทำซ้ำใน 2 ปีมีความแตกต่างกันมาก แสดงให้เห็นถึงผลกระทบที่สำคัญจากสภาวะแวดล้อม และแม้ว่าผลการทดลองส่วนใหญ่จะไม่สามารถสรุปได้แน่ชัด แนวโน้มบางประการของผลของไคโตซานที่มีต่อกระเจี๊ยบเขียวยังสามารถวัดได้ จากการแช่เมล็ดในสารละลายไคโตซาน พบว่าไคโตซานทุกชนิดและทุกความเข้มข้น มีแนวโน้มที่จะทำให้ต้นกล้ากระเจี๊ยบเขียวพันธุ์ญี่ปุ่น Yamato Green สูงกว่าชุดการทดลองควบคุมที่ไม่ได้รับไคโตซาน และเมื่อทำการฉีดพ่นไคโตซานทางใบพบว่ากระเจี๊ยบเขียวพันธุ์อินเดีย 9701 ที่ได้รับ O80 ที่ 25 ppm และ UCC ที่100 ppm มีแนวโน้มที่จะมีความสูงเฉลี่ย จำนวนใบ ดอกและผล เฉลี่ยต่อต้นสูงกว่าชุดการทดลองควบคุม ผลที่คล้ายคลึงกันสามารถพบได้ในกระเจี๊ยบเขียวพันธุ์ญี่ปุ่น Yamato Green ที่ฉีดพ่นด้วย O80 ที่ 25 ppm นอกจากนี้ยังพบว่าการให้ O80 ที่ 25 ppm และ p80 ที่ 100 ppm ส่งผลกระทบต่อน้ำหนักสดและน้ำหนักแห้งของกระเจี๊ยบเขียวพันธุ์อินเดีย 9701 อย่างมีนัยสำคัญ ในขณะที่การฉีดพ่นไคโตซานเกือบทุกชนิด ยกเว้น O80 ที่ 100 ppm ส่งผลให้กระเจี๊ยบเขียวพันธุ์นี้มีปริมาณน้ำภายในต้นต่อน้ำหนักสดเฉลี่ยต่อต้นน้อยกว่าต้นที่ไม่ได้รับไคโตซาน ในฝักกระเจี๊ยบเขียวพันธุ์อินเดีย 9701 ที่เก็บจากต้นที่ได้รับ O80 ที่ 25 ppm พบว่ามีแนวโน้มที่จะสูญเสียน้ำหนักสดช้ากว่าชุดการทดลองควบคุม เป็นที่น่าสนใจว่าการให้ O80 ที่ 50 ppm และ UCC ที่ 25 ppm มีแนวโน้มที่จะสามารถช่วยชะลอการติดโรคไวรัสเส้นใบเหลืองในกระเจี๊ยบเขียวพันธุ์ญี่ปุ่น Yamato Green ได้ สำหรับของไคโตซานต่อการกัดกินของหนอนกระทู้หอมไม่สามารถสรุปได้ชัดเจ้นในการศึกษานี้ อย่างไรก็ดีการฉีดพ่น UCC ที่ 50 ppm สามารถกระตุ้นปริมาณ proteinase inhibitor (PI) activity ในในกระเจี๊ยบเขียวพันธุ์ญี่ปุ่น Yamato Green ให้สูงขึ้นได้ภายใน 1 วันแม้ว่าระดับ PI ที่เพิ่มขึ้นนี้จะลดลงภายใน 5 วันหลังการฉีดพ่น จากผลการทดลองที่ได้ โดยรวมแสดงให้เห็นว่าไคโตซานที่มีขนาดพอลิเมอร์ และความเข้มข้นต่างกัน มีผลต่อการเติบโตและผลผลิตของกระเจี๊ยบเขียว การติดเชื้อไวรัสเส้นใบเหลือง และการกัดกินของหนอนกระทู้หอมต่างกันด้วย อย่างไรก็ดีการตอบสนองของกระเจี๊ยบเขียวต่อไคโตซาน ยังขึ้นอยู่กับพันธุกรรม และอิทธิพลของสภาวะแวดล้อม ซึ่งบางครั้งอาจบดบังผลของการให้ไคโตซานได้ สำหรับผลของแคลเซียมคลอไรด์และไคโตซานต่ออายุการเก็บรักษา และคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวฝักกระเจี๊ยบเขียว โดยใช้แคลเซียมคลอไรด์ที่ระดับความเข้มข้นร้อยละ 0 0.10 0.25 0.50 0.75 1.00 2.00 3.00 และ 4.00 และไคโตซานที่ระดับความเข้มข้น 0 5 10 20 50 และ 100 ppm และเก็บรักษาที่ 2 อุณหภูมิ คือ 9 องศาเซลเซียส และ 18 องศาเซลเซียส พบว่า การเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 9 องศาเซลเซียส แคลเซียมคลอไรด์ ระดับความเข้มข้นร้อยละ 0.05 สามารถรักษาน้ำหนักของฝัก และลักษณะที่ปรากฏภายนอกได้ ส่วนการเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 18 องศาเซลเซียส ผลการศึกษาพบว่า แคลเซียมคลอไรด์ที่ระดับความเข้มข้นร้อยละ 0.25 ช่วยรักษาความแน่นเนื้อ และสีของฝักได้ สำหรับผลของไคโตซานต่อคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของฝักกระเจี๊ยบเขียว พบว่า ที่อุณหภูมิ 9 องศาเซลเซียส ไคโตซานระดับความเข้มข้น 20 ppm ช่วยรักษาความแน่นเนื้อได้ดีที่สุด ส่วนการเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 18 องศาเซลเซียส ผลการศึกษาพบว่า ไคโตซานสามารถรักษาน้ำหนักของฝักได้ดี และไคโตซานที่ระดับความเข้มข้น 5 และ 10 ppm ไม่พบการเข้าทำลายของโรคตลอดระยะเวลาของการเก็บรักษา นอกจากนี้ ยังพบว่า การใช้แคลเซียมคลอไรด์เพียงอย่างเดียว หรือ ไคโตซานเพียงอย่างเดียว สามารถรักษาคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของฝักกระเจี๊ยบเขียวทั้งที่อุณหภูมิ 9 องศาเซลเซียส และ 18 องศาเซลเซียส ได้ดีกว่าการใช้แคลเซียมคลอไรด์ร่วมกับไคโตซาน | en |
dc.description.abstractalternative | Polymeric and oligomeric 80% DD chitosan (P80 and O80) and an uncharacterized commercial chitosan (UCC) were used at 25, 50, and 100 ppm as seed soaking solution and foliar spray on okra (Abelmoschus esculentus (L.) Monech) cultivar India 9701 and Yamato Green. The plants were sprayed every 3 weeks during 8-week growth period. The effects of polymer size and concentration of chitosan on okra growth and production, infection of Okra yellow vein mosaic virus and feeding of beet army worm (Spdoptera exigua Hubner, 1808) were studied. It was found that results from repeated experiments conducted in different years varied tremendously, indicating the major effects of environmental factors. Although most results were inconclusive, some trends could be detected. When applied as seed soaking solution, all tested chitosan could enhance the seedling height of Yamato Green cultivar compared to that of the control. After foliar spray, India 9701 okra treated with O80 at 25 ppm and and UCC at 100 ppm showed the tendency to have higher average height and number of leaf, flower, and pod per plant compared to those of the untreated control. Similar results were found only in Yamato Green cultivar treated with O80 at 25 ppm. It was also found that O80 at 25 ppm and P80 at 100 ppm significantly affected the plant fresh and dry weight whereas almost all chitosan tested (except O80 at 100 ppm) significantly lowered percent water content in India 9701 cultivar. Application of O80 at 25 ppm also showed the tendency to prevent weight loss in harvested India 9701 pods. Interestingly, O80 at 50 ppm and UCC at 25 ppm slightly reduced virus infection rate in Yamato Green cultivar. Chitosan spray did not clearly affect the beet army worm feeding in both cultivars. However, at 50 ppm, UCC could significantly enhance the foliar proteinase inhibitor (PI) activity in foliar tissue of Yamato Green cultivar within one day after treatment although this effect did not last and the PI level dropped within 5 days after chitosan spray. Results obtained in this study clearly indicated that chitosans different in polymer size and concentration differentially affected growth and production of okra, viral infection, and PI activity. However, the plant responses to chitosan were also influenced by plant genetics and environmental factors that at times could mask the chitosan effects. The effects of calcium chloride and chitosan on postharvest shelf life and quality of okra pods were also investigated. The okra pods were immersed in calcium chloride solution at 0, 0.10, 0.25, 0.50, 0.75, 1.00, 2.00, 3.00 and 4.00% (v/w) and chitosan solution at 0, 5, 10, 20, 50 and 100 ppm then stored at 9 degrees Celsius and 18 degrees Celsius Results showed that 0.50% CaCl[subscript2] could maintain % of initial weight and overall appearance when stored at 9 degrees Celsius. Pods treated with 0.25% CaCl[subscript2] resulted in retained firmness and color. Pods treated with 20 ppm chitosan had the highest firmness during 9 degrees Celsius of storage. Chitosan could also preserve % of initial weight of pods stored at 18 degrees Celsius In addition, 5 and 10 ppm chitosan exhibited no disease infection throughtout the storage. Moreover, it was found that calcium chloride treatment and chitosan treatment of okra pods can maintain better postharvest quality of okra pods during 6 days of storage at 9 degrees Celsius and 9 days at 18 degrees Celsius than the combined application of calcium chloride and chitosan. | en |
dc.description.sponsorship | ทุนวิจัยกองทุนรัชดาภิเษกสมโภช | en |
dc.format.extent | 1048601 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | ไคโตแซน | en |
dc.subject | กระเจี๊ยบเขียว | en |
dc.title | ผลของขนาดพอลิเมอร์และความเข้มข้นของไคโตซานต่อการเติบโต ผลผลิต และการรักษาหลังการเก็บเกี่ยวของกระเจี๊ยบเขียว Abelmoschus esculentus (L.) Moench. การติดเชื้อไวรัสเส้นใบเหลืองและการกัดกินของหนอนกระทู้หอม Spodoptera exigua Hubner, 1808 : รายงานผลการวิจัย | en |
dc.title.alternative | Effects of polymer sizes and concentration of chitosan on growth, reproduction, and postharvest storage of okra abelmoschus esculentus (L.) moench. infection of okra yellow vein mosaic, and feeding of beet army worn spodoptera exigua hubner, 1808 | en |
dc.type | Technical Report | es |
dc.email.author | Pongtharin.L@Chula.ac.th | - |
dc.email.author | kanogwan.k@chula.ac.th | - |
dc.email.author | Supachitra.C@chula.ac.th | - |
dc.email.author | rath.p@chula.ac.th | - |
Appears in Collections: | Sci - Research Reports |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Pongtharin_Lo.pdf | 1.02 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.