Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60750
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorศุภางค์ มณีศรี เลอกรองด์-
dc.contributor.advisorวีระ สุพรศิลป์ชัย-
dc.contributor.authorทิพย์ฐานันตร์ โชติพินิจ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์-
dc.date.accessioned2018-12-03T02:33:30Z-
dc.date.available2018-12-03T02:33:30Z-
dc.date.issued2559-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60750-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559-
dc.description.abstractการศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการได้รับยาพาราเซตามอลเป็นระยะเวลาสั้น ( 0 และ 5 วัน) และระยะเวลายาวนาน (15 และ 30 วัน) ต่อการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ในสมองบริเวณซีรีบรัลคอร์เท็กซ์ของหนูแรท  การศึกษาในครั้งนี้ได้ทำการแบ่งหนูทดลองสายพันธุ์วิสต้าออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มควบคุมและกลุ่มที่ได้รับยาพาราเซตามอล โดยในกลุ่มที่ได้รับยาพาราเซตตามอลนั้นจะได้รับยาขนาด 200 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัวหนึ่งกิโลกรัมด้วยวิธีฉีดเข้าช่องท้องเพียงครั้งเดียวสำหรับกลุ่มที่ได้รับยาเป็นเวลา 0 วัน และทำการฉีดยาหนึ่งครั้งต่อวันต่อเนื่องกันเป็นเวลา 5, 15 และ 30 วัน ในกลุ่มที่ได้รับยาพาราเซตามอลต่อเนื่องเป็นเวลา 5, 15 และ 30 วัน ตามลำดับ เมื่อครบช่วงเวลาที่กำหนดสัตว์ทดลองทุกกลุ่มจะถูกทำให้ตายอย่างสงบโดยการฉีดโซเดียมเพนโทบาร์บิทัลที่ความเข้มข้นสูงเข้าทางช่องท้อง และเก็บชิ้นเนื้อสดของสมองบริเวณซีรีบรัลคอร์เท็กซ์เพื่อทำการศึกษาการแสดงออกของเอนไซม์ caspase-3, การแสดงออกของโปรตีน brain-derived neurotrophic factor (BDNF), ระดับของโปรตีนคาร์บอร์นิลและกลูต้าไธโอน อีกทั้งทำการเก็บชิ้นเนื้อโดยการคงสภาพไว้ในน้ำยา 4%paraformaldehyde เพื่อนำไปศึกษาด้วยเทคนิค TUNEL assay และ immunohistochemistry และคงสภาพชิ้นเนื้อไว้ในน้ำยา 3% glutaraldehyde เพื่อนำมาศึกษาด้วยเทคนิคจุลทรรศน์อิเล็กตรอนชนิดลำแสงส่องผ่าน ผลจากการศึกษาวิจัยในครั้งนี้พบว่าการได้รับยาพาราเซตามอลเป็นระยะเวลาสั้น ( 0 และ 5 วัน) ไม่มีผลกระทบต่อเซลล์ในบริเวณซีรีบรัลคอร์เท็กซ์ของสัตว์ทดลองโดยพบว่าจำนวน TUNEL-immunoreactive cell, การแสดงออกของ caspase-3, pro-BDNF และ mature-BDNF รวมถึงโครงสร้างในระดับจุลภาคของเซลล์ไม่แตกต่างจากกลุ่มควบคุม อีกทั้งยังไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของระดับโปรตีนคาร์บอร์นิลและระดับกลูต้าไธโอนในสมองอีกด้วย ในขณะที่การได้รับยาพาราเซตามอลเป็นระยะเวลายาวนาน (15 และ 30 วัน) กลับส่งผลให้มีจำนวน TUNEL-immunoreactive cell และการแสดงออกของเอนไซม์ casapse-3 เพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม ผลจากการวิจัยยังได้แสดงให้เห็นว่าเซลล์ประสาทบริเวณซีรีบรัลคอร์เท็กซ์ในกลุ่มที่ได้รับยาพาราเซตามอลเป็นระยะเวลายาวนานมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างระดับจุลภาคของเซลล์ที่แตกต่างอย่างชัดเจน โดยพบว่าบางเซลล์มีการรวมตัวกันของโครมาทินบริเวณขอบของนิวเคลียสและยังพบว่าไมโตคอนเดรียมีภาวะความผิดปกติดังนี้ มีการบวมของไมโตคอนเดรีย มีการฉีกขาดบริเวณเยื่อหุ้มและการจัดเรียงตัวของคริสตี้ที่ผิดปกติ อีกทั้งยังตรวจพบการโป่งพองและยืดขยายของเอนโดพลาสมิกเรติคิวลัมอีกด้วยเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม และยังพบว่าการได้รับยาพาราเซตามอลเป็นระยะเวลานาน 30 วันส่งผลให้มีแสดงออกของโปรตีน mature-BDNF ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม นอกจากนี้ผลจากการศึกษายังแสดงให้เห็นว่ามีการเพิ่มสูงขึ้นของระดับโปรตีนคาร์บอร์นิลและมีการลดลงของระดับกลูต้าไธโอนในกลุ่มที่ได้รับยาพาราเซตามอลเป็นระยะเวลายาวนานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม ซึ่งบ่งชี้ถึงการเกิดภาวะ oxidative stress ขึ้นภายในเซลล์                 จากการศึกษาวิจัยในครั้งนี้สามารถสรุปได้ว่าการได้รับยาพาราเซตามอลเป็นระยะเวลาสั้นไม่ได้ส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ในสมองบริเวณซีรีบรัลอคร์เท็กซ์ แต่การได้รับยาชนิดนี้ติดต่อกันเป็นระยะเวลานานกลับเหนี่ยวนำให้มีการตายของเซลล์ โดยเชื่อว่าการตายของเซลล์ที่เพิ่มสูงขึ้นมีความสัมพันธ์กับการลดลงของโปรตีน mature-BDNF และการเพิ่มขึ้นของ caspase-3 ซึ่งมีความเป็นไปได้ว่าการเกิดภาวะ oxidative stress ภายหลังจากการได้รับยาพาราเซตามอลเป็นระยะเวลานานเป็นกลไกสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการตายของเซลล์  -
dc.description.abstractalternativeThe present study aimed to investigate the effects of paracetamol (APAP) for short-term (0 and 5 days) and long-term (15 and 30 days) treatment on the alteration of neuronal cells in rat cerebral cortex. In this study, adult male Wistar rats were divided into two groups; control and APAP-treated group. In the APAP-treated group, the animals were single intraperitoneally injected with APAP at the dose of 200 mg/kg bw in the 0-day APAP-treated group, while the once daily injection as the same dose were performed for 5, 15 and 30 days for the APAP-treated group for 5, 15 and 30 days, respectively. After completion of the treatment, all rats were euthanatized by injection of an excessive dose of sodium pentobarbital. The fresh specimens were collected and used for the determined the detection of the caspase-3 expression, brain-derived neurotrophic factor (BDNF) expression, protein carbonyl contents and glutathione. The 4% paraformaldehyde fixed samples were collected for TUNEL assay and immunohistochemical study while 3% glutaraldehyde fixed samples were collected for transmission electron microscopic study. The results obtained from this study demonstrated that short-term treatment (0 and 5 days) with APAP had no effect on the TUNEL-immunoreactive cells, caspase-3 expression, pro-BDNF and mature-BDNF in the cerebral cortex. The ultrastructural of the neuronal cells with short-term treatment was as well not different from those obtained from control group. Moreover, the levels of glutathione and protein carbonyl were not significantly different when compared to the control. However, the results demonstrated that the expression of caspase-3 and the TUNEL-immunoreactive cells in the long-term APAP-treated groups were significantly greater than those in the control. The electron microscope study also demonstrated severed ultrastructural changes of the neurons obtained from the rats with long-term APAP-treated. Swelling of mitochondria as well as the disruption of mitochondrial membrane were observed. Moreover the dilatation of rough endoplasmic reticulum was clearly observed in the neurons obtained from the rat with long term APAP treatment.The expression of mature-BDNF was significantly decreased in the 30-day APAP- treated group than those observed in control group. In addition, an increment of protein carbonyl levels as well as a decreased glutathione were observed in the long-term APAP-treated group when compared to the control, indicated the oxidative stress in the cerebral cortex.                    The results obtained from the present study suggest that short-term APAP treatment had no effect on neuronal death in the cerebral cortex. However, long-term treatment with this drug can induce cell death. This alteration is associated with a decrement of mature-BDNF and elevated Caspase-3 expression. The increment of oxidative stress is at least one mechanism involved adverse effect of this drug in the alteration of cells in cerebral cortex.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.772-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subjectยา -- ผลข้างเคียง-
dc.subjectยาแก้ปวด -- ผลข้างเคียง-
dc.subjectDrugs -- Side effects-
dc.subjectAnalgesics -- Side effects-
dc.subject.classificationMedicine-
dc.titleผลกระทบของการได้รับยาพาราเซตามอลเป็นเวลานานต่อการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ประสาทบริเวณซีรีบรัลคอร์เท็กซ์ของหนูแรท-
dc.title.alternativeChronic treatment of paracetamol induces alteration of rat cortical neuron-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineวิทยาศาสตร์การแพทย์-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.email.advisorSupang.M@Chula.ac.th-
dc.email.advisorWeera.Su@Chula.ac.th-
dc.subject.keywordCHRONIC PARACETAMOL TREATMENT-
dc.subject.keywordOXIDATIVE STRESS-
dc.subject.keywordCELL DEATH-
dc.subject.keywordBRAIN DERIVED-NEUROTROPHIC FACTOR-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2016.772-
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5774029530.pdf3.9 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.