Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60754
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | รุ่งโรจน์ พิทยศิริ | - |
dc.contributor.advisor | ธนินทร์ อัศววิเชียรจินดา | - |
dc.contributor.author | กานต์ ศักดิ์ศรชัย | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2018-12-03T02:33:32Z | - |
dc.date.available | 2018-12-03T02:33:32Z | - |
dc.date.issued | 2559 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60754 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559 | - |
dc.description.abstract | วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความแตกต่างของชนิดยา และราคายาโรคพาร์กินสันในแต่ละระดับโรงพยาบาลของประเทศไทย รวมถึงเพื่อศึกษาถึงปัจจัยที่ส่งผลต่อชนิดและราคายาโรคพาร์กินสันในแต่ละระดับโรงพยาบาลของประเทศไทย โดยการสุ่มส่งแบบสอบถามไปยังโรงพยาบาลในทุกระดับทั้งรัฐบาลและเอกชนทั่วประเทศไทย และวิธีการวิจัยเป็นเชิงวิเคราะห์ ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง ผลการวิจัย 1. ด้านชนิดของยา ยาหลักที่สำคัญในการรักษาโรคพาร์กินสัน คือ ยากลุ่ม levodopa พบว่าอย่างน้อย 50% ของทุกประเภทของโรงพยาบาลมียากลุ่มนี้ และมีในทุกจังหวัดของประเทศไทย โดย 549 ของโรงพยาบาลจาก 1,299 โรงพยาบาลทั่วประเทศมียากลุ่มนี้ คิดเป็น 69.3% ของทั้งหมด สำหรับยากลุ่ม anticholinergics พบว่าอย่างน้อย 50% ของทุกประเภทโรงพยาบาลมียากลุ่มนี้เช่นเดียวกัน และพบในทุกจังหวัดของประเทศไทย โดยพบใน 674 โรงพยาบาล คิดเป็น 85.1% ของทั้งหมด ยากลุ่มอื่นๆ ได้แก่ MAO-B inhibitors COMT inhibitors และ Dopamine agonists ส่วนใหญ่มีในโรงพยาบาลขนาดใหญ่ เช่น โรงเรียนแพทย์ โรงพยาบาลศูนย์ รองลงมาคือ โรงพยาบาลเอกชน สำหรับในจังหวัดที่มียาครบทั้ง 5 กลุ่มมีทั้งหมด 36 โรงพยาบาลใน 17 จังหวัด โดยอยู่ในภาคกลางมากที่สุดคิดเป็น 66.7% สำหรับปัจจัยที่มีผลต่อการมีกลุ่มยาประเภทต่างๆ คือ ปัจจัยทางด้านแพทย์เฉพาะทางทั้งแพทย์อายุรกรรมทั่วไป แพทย์ประสาทวิทยา และขนาดของโรงพยาบาล 2. ด้านราคาของยารักษาโรคพาร์กินสัน พบว่าราคาของยาในโรงพยาบาลเอกชนแพงกว่ายาในโรงพยาบาลรัฐบาลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.05) ทั้งในกลุ่มยา levodopa กลุ่มยา MAOB inhibitors กลุ่มยา COMT inhibitors กลุ่มยา Dopamine agonists และกลุ่มยา anticholinergics สรุปผลการศึกษานี้พบว่ามีความแตกต่างกันของกลุ่มยาและราคายาโรคพาร์กินสันในแต่ละระดับโรงพยาบาล โดยปัจจัยด้านขนาดของโรงพยาบาล และแพทย์เฉพาะทางมีผลต่อจำนวนกลุ่มยา และปัจจัยด้านประเภทของโรงพยาบาลมีผลต่อราคายาทุกกลุ่ม | - |
dc.description.abstractalternative | Objectives : The purpose of this cross-sectional study is to determine the availability of anti-PD drugs, costs of anti-PD drugs, factors determining their accessibility and costs of them in each level of health care facilities and region in Thailand Method : A questionnaire for determining the anti-PD drugs availability was developed and tested for content validity with the Index of Item-Objective Congruence.These questionnaires were sent to randomized hospitals from a total of 1299 hospitals in 77 provinces of Thailand. The questionnaires were consisted of drug availability in each hospital, cost of anti-PD drugs and hospital details. Results: 1. There are levodopa and anticholinergics in >50% hospitals in each type of hospitals and these medications are available in all provinces. Levodopa is available in 549 of hospitals which is 69.3% from a total of 1,299 hospitals and there were anticholinergics in 674 of hospitals which is 85.1% of all hospitals.Other types of anti-PD drugs(MAO-B inhibitors, COMT inhibitors and dopamine agonists) are mostly available in medical school hospitals, regional hospitals and private hospitals, respectively. Cental region shares 66.7% of all hospitals that have all 5 categories of anti-PD drugs.Medical school hospitals and private hospitals rank first and second respectively for hospitals that have all 5 categories of anti-PD drug availability.Factors associated with more types of anti-PD drugs are specialists and number of beds. 2. Private hospital is a factor determing higher cost for all types of anti-PD drugs Conclusions : The availability of anti-PD drugs and the costs of anti-PD drugs are different in each level of health care facilities and region in Thailand.The difference of anti-PD drug accessibility depends on number of beds and specialists.Factor determing higher cost of anti-PD drugs is private hospital. | - |
dc.language.iso | th | - |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.1262 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.subject | โรคพาร์กินสัน | - |
dc.subject | ยา -- ราคา | - |
dc.subject | Parkinson's disease | - |
dc.subject | Drugs -- Prices | - |
dc.subject.classification | Medicine | - |
dc.title | การศึกษาความแตกต่างของชนิดและราคายาโรคพาร์กินสันในแต่ละระดับโรงพยาบาลของประเทศไทย | - |
dc.title.alternative | The study of the differences of patterns and costs of anti-Parkinson drugs in Thailand | - |
dc.type | Thesis | - |
dc.degree.name | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต | - |
dc.degree.level | ปริญญาโท | - |
dc.degree.discipline | อายุรศาสตร์ | - |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.email.advisor | Roongroj.B@Chula.ac.th | - |
dc.email.advisor | Thanin.A@Chula.ac.th | - |
dc.subject.keyword | ANTI-PD DRUGS, THAI HOSPITALS | - |
dc.identifier.DOI | 10.58837/CHULA.THE.2016.1262 | - |
Appears in Collections: | Med - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5874002630.pdf | 5.77 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.