Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60757
Title: | ประสิทธิภาพและความปลอดภัยของการใช้แบบฟอร์มการปรับอินซูลินในหอผู้ป่วยวิกฤตทางอายุรกรรม |
Other Titles: | Efficacy and safety of an insulin protocol in medical intensive care unit patients |
Authors: | ณิชกานต์ หลายชูไทย |
Advisors: | พัชญา บุญชยาอนันต์ วีรพันธุ์ โขวิฑูรกิจ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ |
Advisor's Email: | b_patchaya@yahoo.com Weerapan.K@Chula.ac.th |
Subjects: | ยา -- การบริหาร อินซูลิน -- การใช้รักษา Drugs -- Administration Insulin -- Therapeutic use |
Issue Date: | 2559 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วัตถุประสงค์ เพื่อประเมินประสิทธิภาพและความปลอดภัยของการนำแบบฟอร์มการปรับอินซูลินมาใช้ในหอผู้ป่วยวิกฤตทางอายุรกรรม โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย วิธีการวิจัย วิจัยแบบศึกษาไปข้างหน้า ในผู้ป่วยอายุตั้งแต่ 18 ปีเป็นต้นไปที่เข้าพักรักษาตัวในหอผู้ป่วยวิกฤตทางอายุรกรรมที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูง มากกว่า 180 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร โดยแบ่งกลุ่มการศึกษาเป็น กลุ่มควบคุม คือกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาตามปกติ โดยไม่ใช้แบบฟอร์มการปรับอินซูลิน และกลุ่มทดลอง คือผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยแบบฟอร์มการปรับอินซูลิน ทำการตรวจติดตามระดับน้ำตาลในเลือด ระดับน้ำตาลเฉลี่ย การแปรผันของระดับน้ำตาลในเลือด ปริมาณอินซูลินที่ใช้ ระยะเวลาที่ได้รับการรักษาด้วยอินซูลิน อุบัติการณ์การเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ และอัตราการเสียชีวิต ผลการศึกษา ผู้ป่วยทั้งหมด 55 คนเข้าร่วมการศึกษา แบ่งเป็นกลุ่มควบคุม 28 คน และกลุ่มทดลอง 27 คน พบว่ากลุ่มทดลอง มีสัดส่วนของผู้ป่วยที่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลให้อยู่ในระดับเป้าหมาย 140-180 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ที่ 6-8 ชั่วโมง มากกว่า กลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (กลุ่มทดลอง ร้อยละ 70.4 เทียบกับ กลุ่มควบคุม ร้อยละ 21.4, p < 0.001) กลุ่มทดลอง ใช้ระยะเวลาที่ทำให้ระดับน้ำตาลเข้าสู่เป้าหมาย 140-180 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร น้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (ค่ามัธยฐาน กลุ่มทดลองเท่ากับ 6 ชั่วโมง เทียบกับ กลุ่มควบคุม 10 ชั่วโมง, p = 0.001) โดยตัวชี้วัด ทางด้านระดับน้ำตาลเฉลี่ย และ ระยะเวลาที่ระดับน้ำตาลอยู่ในเป้าหมาย และการแปรผกผันของระดับน้ำตาล โดยดูจากค่า standard deviation, coefficient of variation ที่ดีกว่าอย่างชัดเจน นอกจากนี้ ยังพบว่าอุบัติการณ์การเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ไม่แตกต่างกันระหว่างสองกลุ่มและไม่พบอุบัติการณ์การเกิดภาวะน้ำตาลต่ำอย่างรุนแรงในระหว่างที่ทำการศึกษา สรุป การศึกษานี้ แสดงให้เห็นว่า การนำแบบฟอร์มการปรับอินซูลินมาใช้ในหอผู้ป่วยวิกฤตทางอายุรกรรม โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์มีประสิทธิภาพในการควบคุมระดับน้ำตาลได้ดีกว่าการไม่ใช้แบบฟอร์มการปรับอินซูลิน โดยไม่มีความแตกต่างของการเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำระหว่างทั้งสองกลุ่ม |
Other Abstract: | Objective To evaluate the efficacy and safety of adapted insulin infusion protocol, targeting blood glucose level of 140-180 mg/dL, in medical intensive care unit at a tertiary care university hospital. Methods We conducted a prospective interventional clinical study which consisted of two phases: pre- and post-protocol phases. In the pre-protocol phase, hyperglycemia was managed by physician-based strategy. In the post-protocol phase, hyperglycemia was managed by using KCMH insulin infusion protocol. Detailed glycemic control parameters were compared between the two groups. Results Fifty-five patients were included in the analysis. The proportion of patients achieving glycemic target of 140-180 mg/dL at 6-8 hours after insulin infusion initiation was significantly higher in post-protocol group (70.4%) compared to pre-protocol group (21.4%) (p < 0.001). Patients in post-protocol group achieved blood glucose target faster than pre-protocol group (median 6 hours vs. 10 hours) (p = 0.001). Mean blood glucose during insulin infusion were significantly lower in post-protocol group (170.92 ± 15.26 mg/dL) compared to pre-protocol group (205.56 ± 46.74 mg/dL) (p =0.001). The glycemic variability indices were better in post-protocol group. Incidence of hypoglycemia was not different between the two groups. Conclusion The implementation of adapted insulin infusion protocol in KCMH medical ICU results in better glycemic control than conventional care without excess risk of hypoglycemia. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | อายุรศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60757 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.1260 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2016.1260 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Med - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5874030130.pdf | 3.35 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.