Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60761
Title: ประสิทธิผลของการกำหนดรูปแบบการฟื้นฟูสมรรถภาพปอดที่บ้านโดยใช้เครื่องนับก้าวในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง
Other Titles: Effectiveness of pedometer-guided home-based pulmonary rehabilitation in COPD patients
Authors: นรชัย ชาญฐิติเวช
Advisors: วรวรรณ ศิริชนะ
สริสสา แรงกล้า
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: worawan.s@chula.ac.th
Sarissa.R@chula.ac.th
Subjects: ปอดอุดกั้น -- ผู้ป่วย -- การฟื้นฟูสมรรถภาพ
Lungs -- Diseases, Obstructive -- Patients -- Rehabilitation
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการกำหนดรูปแบบการฟื้นฟูสมรรถภาพปอดที่บ้านโดยใช้เครื่องนับก้าวในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังด้วยโปรแกรมที่กำหนดขึ้นเป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ เทียบกับการฟื้นฟูสมรรถถาพปอดที่บ้านแบบมาตรฐาน วิธีการวิจัย การวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มทดลองแบบปกปิดในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังระดับความรุนแรงปานกลางถึงมากที่เข้ามารับการรักษาที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ อายุระหว่าง 40-80 ปี โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่กลุ่มที่ได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพปอดที่บ้านโดยใช้เครื่องนับก้าวและกลุ่มที่ได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพปอดที่บ้านแบบมาตรฐานเป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ ทั้ง 2 กลุ่มได้รับการตรวจทดสอบการเดิน 6 นาที สมรรถภาพปอด ประเมินอาการและคุณภาพชีวิต ทดสอบการออกกำลัง และเก็บข้อมูลจำนวนก้าวต่อวันเพื่อประเมินกิจกรรมทางกายก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรม ใช้ค่าสถิติ unpaired t-test และ paired t-test ในการเปรียบเทียบผลการศึกษาระหว่างกลุ่มและภายในกลุ่ม ตามลำดับ ผลการศึกษา ผู้เข้าร่วมวิจัย 24 คน เพศชายร้อยละ 92 อายุเฉลี่ย 67.73 ปี (SD = 7.56) และค่า FEV1 เฉลี่ยร้อยละ 58.69 (SD = 13.55) หลังจากเข้าร่วมการฟื้นฟูสมรรถภาพปอดที่บ้านทั้งสองแบบแล้ว พบการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญของระยะทางเดินทดสอบ 6 นาทีเฉลี่ย 24.17 เมตร (SD =  35.61, P < 0.01) และ 30.67 เมตร (SD = 29.03, P < 0.01) ในกลุ่มเครื่องนับก้าวและกลุ่มทดลอง ตามลำดับ แต่ระยะทางเดินทดสอบ 6 นาทีของทั้งสองกลุ่มเพิ่มขึ้นไม่ต่างกัน (P = 0.629) นอกจากนี้ยังพบการเพิ่มขึ้นของกิจกรรมทางกายอย่างมีนัยสำคัญ โดยในกลุ่มเครื่องนับก้าว, เพิ่มขึ้น 3107 ก้าว (SD = 1262, P < 0.01) และในกลุ่มทดลองเพิ่มขึ้น 3128 ก้าว (SD = 2129, P < 0.01) แต่ไม่พบความแตกต่างของผลการตรวจสมรรถภาพปอด อาการ คุณภาพชีวิต และความสามารถในการออกกำลัง (VO2max) สรุป การฟื้นฟูสมรรถภาพปอดที่บ้านโดยใช้เครื่องนับก้าวและกลุ่มควบคุมมีระยะทางเดินทดสอบ 6 นาทีและกิจกรรมทางกายโดยวัดด้วยจำนวนก้าวต่อวันเพิ่มขึ้นทั้งสองกลุ่ม แต่ยังไม่พบความแตกต่างระหว่างระยะทางเดินทดสอบ 6 นาทีที่เพิ่มขึ้นระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม
Other Abstract: Objective: To evaluate effectiveness of 8-week pedometer-guided home-based pulmonary rehabilitation in COPD patients comparing with standard home-based pulmonary rehabilitation. Method: This single-blinded randomized controlled trial was studied in moderate to severe COPD patients, aged 40-80 years. Subjects were randomized into 2 groups to participate 8-week pulmonary rehabilitation program, pedometer-guided group and pedometer group. Pedometer group was assigned to attend pedometer-guided home-based pulmonary rehabilitation program and control group joined standard program. Subjects were tested for 6MWT, spirometry, CAT score, SGRQ and CPET and monitored physical activity before and after the programs. Unpaired and paired t-test were used to compare results between groups and within group. Results: 24 subjects were enrolled in and 92% were male, aged 67.73 years (SD = 7.56) and FEV1 was 58.69% predicted (SD = 13.55). After the program, we demontrated significantly improvement of 6MWD in both groups (24.17 m [SD = 35.61, P < 0.01] in pedometer group and 30.67 m [SD = 29.03, P < 0.01] in control group) but there was no difference between groups (P = 0.629). Daily step counts increased in both pedometer and control groups (3107 steps [SD = 1262, P < 0.01] and 3128 steps [SD = 2129, P < 0.01] respectively). However the step count improvement in both groups were not different. There were no significant improvement of FEV1, CAT score, SGRQ score and VO2max in both groups. Conclusion: Both pedometer-guided group and control group demonstrated improvement of 6MWD and increased daily physical activity. Unfortunately, pedometer-guided group could not show better outcomes.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: อายุรศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60761
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.1265
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.1265
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5874039930.pdf4.94 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.