Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60764
Title: | ปรากฏการณ์ไม่มีเลือดไหลกลับในหลอดเลือดหัวใจ: อุบัติการณ์และภาวะแทรกซ้อนทางหัวใจที่เกิดขึ้นในโรงพยาบาลในผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันซึ่งได้รับการรักษาด้วยการสวนหัวใจเพื่อขยายหลอดเลือด |
Other Titles: | No reflow phenomenon: incidence and in-hospital major adverse cardiac events in patients with acute ST elevation myocardial infarction undergoing primary percutaneous intervention |
Authors: | เผดิมวุฒิ ธีระวงศ์สกุล |
Advisors: | จักรพันธ์ ชัยพรหม |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ |
Advisor's Email: | Jarkarpun.C@chula.ac.th,cjarkarp@hotmail.com,cjarkarp@hotmail.com |
Subjects: | หัวใจ -- ความผิดปกติ -- ภาวะแทรกซ้อน หลอดเลือดโคโรนารีย์ -- โรค Heart -- Abnormalities -- Complications Coronary heart disease |
Issue Date: | 2559 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ภูมิหลัง: เพื่อหาอุบัติการณ์, ตัวทำนาย และภาวะแทรกซ้อนทางหัวใจที่สำคัญซึ่งเกิดในโรงพยาบาลของภาวะ no-reflow ในผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิด STEMI ที่ได้ทำการขยายหลอดเลือดหัวใจ วัสดุและวิธีการ: เก็บข้อมูลของผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิด STEMI ทุกคนที่มาทำการขยายหลอดหลอดเลือดหัวใจในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ด้วยวิธีไปข้างหน้าระหว่างวันที่ 1 มกราคมถึง 31 ธันวาคม พ.ศ. 2559 วิเคราะห์ภาวะ no-reflow จากภาพฉีดสารทึบรังสีหลอดเลือดหัวใจ และเก็บข้อมูลภาวะแทรกซ้อนทางหัวใจที่สำคัญซึ่งเกิดในโรงพยาบาล ประกอบด้วย ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะอย่างรุนแรงเป็นเหตุให้เสียชีวิต, ภาวะความดันโลหิตต่ำซึ่งมีสาเหตุจากหัวใจ, ภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน, ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดซ้ำ และการเสียชีวิตซึ่งเกิดขึ้นในโรงพยาบาล จากนั้นวิเคราะห์ตัวทำนายการเกิดภาวะ no-reflow ด้วย multivariable model ผลการศึกษา: จากการศึกษาพบว่าผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิด STEMI ซึ่งมาทำการขยายหลอดหลอดเลือดหัวใจในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์มีทั้งหมด 180 คน และเกิดภาวะ no-reflow จำนวน 18 คน (10%) โดยพบว่าผู้ป่วยที่เกิดภาวะ no-reflow มีอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนทางหัวใจที่สำคัญซึ่งเกิดในโรงพยาบาลสูงอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับผู้ป่วยซึ่งไม่ได้เกิดภาวะ no-reflow (55.6% เทียบกับ 32.1%, p = 0.047) จากการวิเคราะห์ด้วยวิธี multivariable model พบว่าระยะเวลาตั้งแต่มีอาการเจ็บหน้าอกจนถึงขยายหลอดเลือดหัวใจมากกว่า 12 ชั่วโมง (OR: 8.33, 95% CI: 1.38 - 50.53; p = 0.021), ระดับน้ำตาลในเลือดมากกว่า 200 mg/dl (OR: 5.10, 95% CI: 1.09 - 23.79; p = 0.038) และ Killip class IV (OR: 4.41, 95% CI: 1.15 - 16.87; p = 0.030) เป็นตัวทำนายการเกิดภาวะ no-reflow และพบว่าระยะเวลาตั้งแต่มีอาการเจ็บหน้าอกจนถึงขยายหลอดเลือดหัวใจมากกว่า 12 ชั่วโมง เป็นตัวทำนายในการเกิดภาวะ no-reflow ที่สำคัญที่สุด สรุป: ภาวะ no-reflow เป็นภาวะที่เกิดได้บ่อยพอสมควรในผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิด STEMI ซึ่งได้รับการขยายหลอดเลือดหัวใจ พบว่าอุบัติการณ์การเกิดภาวะ no-reflow นั้นใกล้เคียงกับการศึกษาก่อนหน้านี้ในประเทศตะวันตก โดยภาวะดังกล่าวมีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะแทรกซ้อนในโรงพยาบาลอย่างมีนัยสำคัญ ระยะเวลาตั้งแต่มีอาการเจ็บหน้าอกจนถึงขยายหลอดเลือดหัวใจนานเป็นตัวทำนายในการเกิดภาวะ no-reflow ที่สำคัญที่สุด |
Other Abstract: | Objective: To determine incidence, predictors and in-hospital major adverse cardiac events (MACEs) of no-reflow phenomenon (NRP) in patients with STEMI undergoing primary PCI. Material and Methods: This is a prospective data collection of consecutive patients who underwent primary PCI for STEMI at King Chulalongkorn Memorial Hospital between January and December, 2016. The coronary angiography was analyzed to assess for NRP. The in-hospital composite end points of MACEs which consisted of fatal arrhythmia, cardiogenic shock, acute heart failure, re-infarction and death were obtained. The predictors for NRP were assessed multivariable model. Results: A total of 180 patients were enrolled. NRP was found in 18 patients (10%). Patients with NRP had significantly higher rate of MACEs (55.6% vs. 32.1%, p = 0.047). In multivariable analysis, the predictors for NRP were time from symptom-onset-to-balloon > 12 hours (odds ratio [OR]: 8.33, 95% confidence interval [CI]: 1.38 - 50.53; p = 0.021), plasma glucose > 200 mg/dl (OR: 5.10, 95% CI: 1.09 - 23.79; p = 0.001) and Killip class IV (OR: 4.41, 95% CI: 1.15 - 16.87; p = 0.030). The symptom-onset-to-balloon time > 12 hours was the strongest predictor for no-reflow phenomenon. Conclusions: The occurrence of no-reflow phenomenon was frequent in Thai patients with STEMI. The incidence was comparable with previously reported in western countries. This condition associated with significant in-hospital subsequent adverse events. Prolonged duration of revascularization was the strongest predictor for no-reflow phenomenon. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | อายุรศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60764 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.1270 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2016.1270 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Med - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5874048530.pdf | 3.04 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.