Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60827
Title: | การกำจัดโครเมียมและทองแดงอย่างต่อเนื่องจากน้ำเสียโรงงานผลิตแท่นพิมพ์โดยใช้วิธีการทางเคมีไฟฟ้า |
Other Titles: | Continuous removal of chromium and copper from printing press effluent using electrochemical method |
Authors: | ปรียา ปานทอง |
Advisors: | เขมรัฐ โอสถาพันธุ์ เจริญขวัญ ไกรยา |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | Khemarath.O@Chula.ac.th Charoenkwan.K@Chula.ac.th |
Subjects: | น้ำเสีย -- การบำบัด -- การกำจัดโครเมียม Sewage -- Purification -- Chromium removal |
Issue Date: | 2558 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | น้ำเสียจากโรงงานผลิตแท่นพิมพ์มีการปนเปื้อนของโครเมียมและทองแดงในปริมาณสูง เนื่องจากโครเมียมและทองแดงเป็นส่วนประกอบสำคัญในกระบวนการผลิต งานวิจัยนี้ทำการศึกษาการกำจัดโครเมียมและทองแดงออกจากน้ำเสียโรงงานผลิตแท่นพิมพ์แบบไหลต่อเนื่องด้วยวิธีเคมีไฟฟ้า ใช้แกรไฟต์เป็นขั้วแคโทดและขั้วแอโนด อัตราการไหล 5.6 มิลลิลิตรต่อนาที แบ่งการทดลองเป็น 3 ส่วน การทดลองส่วนที่ 1 ศึกษารูปแบบถังปฏิกิริยาที่เหมาะสมในการกำจัดโครเมียมและทองแดง การทดลองส่วนที่ 2 ศึกษาชนิดสารละลายอิเล็กโทรไลต์ที่เหมาะสมในการกำจัดโครเมียมและทองแดง และการทดลองส่วนที่ 3 ศึกษาความหนาแน่นกระแสไฟฟ้าที่เหมาะสมในการกำจัดโครเมียมและทองแดง ผลการทดลอง การทดลองส่วนที่ 1 ถังปฏิกิริยาแบบกั้นซ้าย-ขาวสามารถกำจัดโครเมียมและทองแดงออกจากน้ำเสียตัวอย่างให้ลดลงจนผ่านเกณฑ์มาตรฐานน้ำทิ้งโรงงานอุตสาหกรรมที่อนุญาตให้ค่าความเข้มข้นของโครเมียมและทองแดงมีได้ไม่เกิน 0.25 และ 2.00 มิลลิกรัมต่อลิตร ภายใน 20 และ 30 นาที ตามลำดับ ซึ่งถังปฏิกิริยาแบบกั้นซ้าย-ขาวสามารถกำจัดโครเมียมและทองแดงออกจากน้ำเสียตัวอย่างได้เร็วกว่าถังปฏิกิริยาแบบกั้นบน-ล่าง ดังนั้นจึงเลือกถังปฏิกิริยาแบบกั้นซ้าย-ขวาในการกำจัดโครเมียมและทองแดงออกจากน้ำเสียตัวอย่าง การทดลองส่วนที่ 2 เลือกใช้โซเดียมคลอไรด์ความเข้มข้น 0.5 โมลต่อลิตร เป็นสารละลายอิเล็กโทรไลต์ เนื่องจากเมื่อใช้โซเดียมคลอไรด์ความเข้มข้น 0.5 โมลต่อลิตร เป็นสารละลายอิเล็กโทรไลต์สามารถกำจัดโครเมียมและทองแดงได้เร็วกว่าใช้น้ำประปาและน้ำเสียโรงงานผลิตแท่นพิมพ์ และการทดลองส่วนที่ 3 เพื่อเป็นการลดพลังงานและค่าใช้จ่ายในการกำจัดโครเมียมและทองแดงออกจากน้ำเสียตัวอย่างจึงเลือกให้ความหนาแน่นกระแสไฟฟ้าในช่อง 2, 3 และ 4 เป็น 7, 5 และ 0 แอมแปร์ต่อตารางเมตร ตามลำดับ |
Other Abstract: | Printing press effluent contains high concentration chromium and copper. Due to chromium and copper are major component in industrial operation. The propose of this study is continuous removal of chromium and copper from wastewater by electrochemical using graphite electrodes and Fixed flow rate 5.6 ml/min Experiment was divided into 3 parts First, experimental study of optimum reactor. Second, experimental study of optimum electrolyte. and Third, experimental study of optimum current density. The results show that first, The optimum reactor is left-right baffled channel can remove chromium and copper passed the control of industrial effluent standard allow to chromium and copper not exceed 0.25 and 2.00 mg/L at 20 and 30 min respectively Second, Using of NaCl 0.5 M showed better result. and Third, Choose the condition channel 2, 3 and 4 provide current density 7, 5 and 0 A/m2 respectively cause low consumption energy and low cost. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558 |
Degree Name: | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60827 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.1280 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2015.1280 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5570279121.pdf | 3.86 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.