Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60838
Title: | แนวทางการบริหารจัดการนวัตกรรมในสถาบันอุดมศึกษา : กรณีศึกษา ศูนย์กลางนวัตกรรม แห่งคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Other Titles: | Innovation management in higher education : a case study of Chula Engineering Innovation Hub |
Authors: | ศรีพิไล ชุดไธสง |
Advisors: | นภัสสวงศ์ โอสถศิลป์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
Subjects: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ศูนย์กลางนวัตกรรม แห่งคณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันอุดมศึกษา -- การบริหาร Chulalongkorn University. Chula Engineering Innovation Hub Universities and colleges -- Administration |
Issue Date: | 2558 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | จุดประสงค์ของงานวิจัยนี้คือ สร้างกรอบการบริหารจัดการนวัตกรรมศูนย์กลางนวัตกรรมแห่งคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งก่อตั้งขึ้นมาใหม่เพื่อสนับสนุนและบ่มเพาะนวัตกรรมสำหรับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในคณะฯ ได้แก่ นิสิต อาจารย์ บุคลากร และศิษย์เก่า โดยผู้วิจัยได้ศึกษาวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับปัจจัย กรอบ และมาตรฐานการจัดการนวัตกรรม ทั้งในภาคอุตสาหกรรมและสถาบันการศึกษา เพื่อหาคุณลักษณะทางคุณภาพในการสร้างข้อคำถามความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จากนั้นได้จำแนกความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียตามโมเดลของคาโน หลังจากนั้นแปลงความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมาสู่ความต้องการด้านการออกแบบ หรือคุณลักษณะทางเทคนิค โดยใช้การกระจายหน้าที่เชิงคุณภาพ ซึ่งพบว่าคุณลักษณะทางเทคนิคที่มีความสำคัญสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ 1) มีช่องทางในการประสานงานกับหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน 2) คณะฯ มีกลยุทธ์ในการสนับสนุนการสร้างนวัตกรรม และ 3) มีระบบการสร้างความร่วมมือภายในคณะฯ ตามลำดับ จากนั้นได้เข้าสู่การศึกษาแนวคิดในการจัดการนวัตกรรมจากตัวอย่างที่ประสบความสำเร็จและมีความสอดคล้องกับองค์กร สุดท้ายผลลัพธ์ที่ได้ก็คือ กรอบการจัดการนวัตกรรม ซึ่งประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ขั้นตอนการสร้างแนวคิด กระบวนการ และทักษะในการคิดแบบนวัตกรรม โดยมีหน่วยงานส่งเสริมในด้านการสร้างทักษะจากการฝึกงาน งานวิจัย หัวข้อนวัตกรรมจากภาคอุตสาหกรรม การเรียนการสอนที่เน้นการคิดวิเคราะห์ ออกแบบแนวทางแก้ปัญหา ดำเนินการประยุกต์แก้ไขปัญหา และปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง 2) ขั้นตอนการปฏิบัติการ มีหน่วยงานสนับสนุนให้เกิดสร้างนวัตกรรมกรรม ผู้มีบทบาทด้านการจัดการด้านวัฒนธรรม และวัฒนธรรมการสร้างนวัตกรรม และ 3) ขั้นตอนไปสู่เป้าหมาย มีหน่วยงานสนับสนุนเพื่อให้เกิดการนำผลงานด้านนวัตกรรมไปสู่เชิงพาณิชย์ และสังคม |
Other Abstract: | The purpose of this research is to build an innovation management framework for Chula Engineering Innovation Hub of the faculty of Engineering, Chulalongkorn University. This Hub has an aim to support and incubate innovation for the stakeholders in the organization, which include students, lecturers, staff, and alumni. This research first studied literature on factors, frameworks and standard of innovation management used in industries and academic institutions. The purpose of the study is to find out quality attributes for developing questionnaire to receive requirements from the stakeholders. Next these attributes were classified according to Kano’s Model. Then, the customer requirements were translated into technical requirements using Quality Function Development (QFD) technique. The most top three important technical requirements are 1) Collaboration with governmental and private organizations, 2) innovation strategy and 3) system to support collaboration within the faculty. Next, best practices of innovation management framework which suits the hub was studied. Finally, the innovation management framework for the hub was built. The framework consisting of 3 phases, are 1) phase for generating mindset, process and skill of innovation using engineering practice, internship and topics from industries channels. In addition, these mindsets, process and skills could be generated by teaching that emphasizes or critical thinking, design of solutions, application and continuous improvement, 2) Practitioner phase. Phase the supporting unit should be set up to support the creation of innovation, innovation champion and innovation culture. 3) Commitment phase. Another supporting unit should be set up to spin-off the developed innovation to commerce and society. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558 |
Degree Name: | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิศวกรรมอุตสาหการ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60838 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.1313 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2015.1313 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5670394721.pdf | 5.56 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.