Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60859
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | พิศิษฎ์ จารุมณีโรจน์ | - |
dc.contributor.advisor | โยธิน รักวงษ์ไทย | - |
dc.contributor.author | ศรัญญา รำจวนเกียรติ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2018-12-03T03:00:14Z | - |
dc.date.available | 2018-12-03T03:00:14Z | - |
dc.date.issued | 2559 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60859 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559 | - |
dc.description.abstract | ในงานวิจัยนี้เราศึกษาผลกระทบของเวลาในการฉีดสารเภสัชรังสีและค่าคะแนนมาตรฐานซีขีดเริ่ม ต่อการหาตำแหน่งของจุดกำเนิดการชักจากภาพสเปค ในผู้ป่วยโรคลมชักกลุ่มที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยากันชักและที่มีจุดกำเนิดการชักในสมองส่วนเทมโพรัล ที่มีผลการประเมินก่อนการผ่าตัดโดยภาพสเปคทั้งสภาวะที่ผู้ป่วยมีอาการชักและสภาวะที่ผู้ป่วยไม่มีอาการชัก ซึ่งมีตำแหน่งอ้างอิงที่ได้จากผลการผ่าตัดหรือผลการตรวจคลื่นไฟฟ้าสมองโดยวางขั้วไฟฟ้าบนผิวสมองจำนวน 23 คน เราทำการแบ่งผู้ป่วยทั้งหมดเป็นกลุ่มที่ฉีดช้า และกลุ่มที่ฉีดเร็ว โดยกลุ่มที่ฉีดช้าประกอบด้วยผู้ป่วยที่มีเวลาในการฉีดสารเภสัชรังสีมากกว่าจุดแบ่งเวลา ในทำนองเดียวกันกลุ่มที่ฉีดเร็วประกอบด้วยผู้ป่วยที่มีเวลาในการฉีดสารเภสัชรังสีน้อยกว่าหรือเท่ากับจุดแบ่งเวลา การระบุตำแหน่งจุดกำเนิดการชักในงานวิจัยนี้ใช้วิธีการประมวลผลภาพ SISCOS ซึ่งคล้ายกับการประมวลผลภาพ SISCOM และใช้ค่าคะแนนมาตรฐานซีขีดเริ่มหลายๆ ค่าตั้งแต่ 1.0, 1.5, 2.0, 2.5 ถึง 3.0 โดยตำแหน่งจุดกำเนิดการชักเป็นบริเวณที่มีผลรวมค่าคะแนนมาตรฐานซีมากที่สุด ถ้าตำแหน่งจุดกำเนิดการชักจากภาพ SISCOS ไม่สอดคล้องกับตำแหน่งอ้างอิงจะถือว่าระบุตำแหน่งจุดกำเนิดการชักไม่ถูกต้อง สัดส่วนผู้ป่วยที่ระบุตำแหน่งจุดกำเนิดการชักไม่ถูกต้องเป็น 3/5 (60%) ในกลุ่มฉีดช้า และ 2/18 (11.1%) ในกลุ่มฉีดเร็ว ที่จุดแบ่งเวลา 32 วินาที และค่าคะแนนมาตรฐานซีขีดเริ่ม 2.0 ผลการทดสอบความสัมพันธ์โดย Fisher's exact test พบว่า เวลาฉีดสารเภสัชรังสีช้ามีความสัมพันธ์กับการระบุตำแหน่งไม่ถูกต้องที่จุดแบ่งเวลา 32 วินาที และค่าคะแนนมาตรฐานซีขีดเริ่ม 2.0 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) โดยค่าความเสี่ยงสัมพัทธ์เท่ากับ 5.4 (ช่วงความเชื่อมั่น 95%: 1.2172-23.9562) ทั้งนี้เราอาจกล่าวได้ว่าสำหรับผู้ป่วยโรคลมชักกลุ่มที่มีจุดกำเนิดการชักในสมองส่วนเทมโพรัล และมีผลการประเมินก่อนผ่าตัดด้วยภาพสเปค ที่มีเวลาในการฉีดสารเภสัชรังสีนานกว่า 32 วินาที มีความเสี่ยงจะถูกระบุตำแหน่งจากการประมวลผลภาพ SISCOS ไม่ถูกต้องที่ค่าคะแนนมาตรฐานซีขีดเริ่มเท่ากับ 2.0 มากกว่าผู้ป่วยที่เวลาในการฉีดสารเภสัชรังสีเร็วกว่า 32 วินาที ถึง 5.4 เท่า | - |
dc.description.abstractalternative | In this work, we investigated an impact of injection time and Z-threshold on localization of seizure-onset in ictal/interictal single photon emission computed tomography (SPECT) study for patients with temporal lobe epilepsy. We selected 23 patients with refractory temporal lobe epilepsy who underwent ictal/interictal SPECT studies and had preoperative intracranial EEG result or surgical resection which was used as reference for seizure location. We divided all patients into two groups, which are the fast and the delayed groups; the delayed group comprised patients with injection time more than a cut-point time and vice versa. Using the subtraction ictal-interictal SPECT co-registered with SPECT (SISCOS) with varied Z-threshold (1.0, 1.5, 2.0, 2.5 and 3.0), a method similar to subtraction ictal SPECT co-registered to magnetic resonance imaging (MRI) (SISCOM), a seizure-onset region in the SISCOS image was localized at the region with maximum sum of Z-scores. For each pair of cut-point time and Z-threshold, we determined the incorrect localization proportion which was defined as the proportion of patients whose seizure-onset location based on SISCOS image was discordant with the reference. At cut-point time of 32 seconds and Z-threshold of 2.0, the incorrect localization proportions were 2/18 (11.1%) and 3/5 (60%) in the fast and the delayed groups, respectively. Using Fisher's exact test, the association between delay in injection and incorrect localization at cut-point time of 32 seconds and Z-threshold of 2.0 was statistically significant (p<0.05) with relative risk of 5.40 (95% confidence interval: 1.2172-23.9562), suggesting that patients with temporal lobe epilepsy who undergo an ictal/interictal SPECT study with injection time longer than 32 seconds have more than five-time risks of incorrect seizure-onset localization in the SISCOS analysis with the traditionally-used Z-threshold of 2.0 as compared with those with shorter injection time. | - |
dc.language.iso | th | - |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.1083 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.subject | ลมบ้าหมู | - |
dc.subject | สารเภสัชรังสี | - |
dc.subject | Epilepsy | - |
dc.subject | Radiopharmaceuticals | - |
dc.title | ผลกระทบของเวลาในการฉีดสารเภสัชรังสีและค่าคะแนนมาตรฐานซีขีดเริ่มต่อการหาตำแหน่งของจุดกำเนิดการชักจากภาพสเปค ในผู้ป่วยโรคลมชักกลุ่มที่มีจุดกำเนิดการชักในสมองส่วนเทมโพรัล | - |
dc.title.alternative | Impact of injection time and Z-threshold on localization of SPECT seizure onset in temporal lobe epilepsy | - |
dc.type | Thesis | - |
dc.degree.name | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต | - |
dc.degree.level | ปริญญาโท | - |
dc.degree.discipline | วิศวกรรมอุตสาหการ | - |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.subject.keyword | IMAGE PROCESSING | - |
dc.subject.keyword | BRAIN SPECT | - |
dc.subject.keyword | EPILEPSY | - |
dc.subject.keyword | LOCALIZATION OF SEIZURE-ONSET | - |
dc.subject.keyword | SISCOS | - |
dc.subject.keyword | Engineering | - |
dc.identifier.DOI | 10.58837/CHULA.THE.2016.1083 | - |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5870360521.pdf | 6.54 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.