Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60892
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorคณพล จันทน์หอม-
dc.contributor.authorณัฐวุฒิ ไวทย์รุ่งโรจน์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์-
dc.date.accessioned2018-12-03T03:05:52Z-
dc.date.available2018-12-03T03:05:52Z-
dc.date.issued2560-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60892-
dc.descriptionเอกัตศึกษา(ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560en_US
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามาตรการทางกฎหมายของสถาบันการเงิน โดยเฉพาะธนาคารพาณิชย์ เพื่อบรรเทาความเสียหายจากการหลอกลวงให้โอนเงินทางโทรศัพท์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ พร้อมทั้งวิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ ของธนาคารพาณิชย์ในการยับยั้งหรือระงับการเดินธุรกรรมกับบัญชีเงินฝาก ในกรณีที่ มีหลักฐานที่ชัดเจนว่าลูกค้าใช้บัญชีดังกล่าวเป็นเครื่องมือในการกระทำความผิด จะเห็นได้ว่า การหลอกลวงให้โอนเงินทางโทรศัพท์เป็นอาชญากรรมทางเศรษฐกิจที่พบมากที่สุดในปัจจุบัน เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยี เศรษฐกิจ และสังคม ทำให้รูปแบบอาชญากรรม ทางเศรษฐกิจซับซ้อนมากตามไปด้วย จากการศึกษาพบว่า กระบวนการทางกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปราม การฟอกเงินที่มีอยู่ในปัจจุบันยังไม่สามารถแก้ปัญหาดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพมากนัก เนื่องจากมีการกำหนดหน้าที่ระเบียบวิธีปฏิบัติ และขั้นตอน ในการพิสูจน์ทราบข้อเท็จจริง ค่อนข้างมากและให้เวลานาน ส่งผลให้เมื่อเกิดอาชญากรรมทางเศรษฐกิจในลักษณะดังกล่าว ไม่สามารถติดตามผู้กระทำความผิดและเงินที่ผู้กระทำความผิดหลอกลวงจากประชาชนไป ได้อย่างทันท่วงที ในความเป็นจริงธนาคารพาณิชย์ซึ่งเป็นตัวกลางในระบบเศรษฐกิจและ มีความใกล้ชิดกับบัญชีเงินฝากมากที่สุดและรู้จักตัวตนของลูกค้าเป็นอย่างดี น่าจะเป็นกลไกล ที่ดีที่จะสามารถระงับหรือยับยั้งความเสียหายจากการใช้บัญชีเงินฝากเป็นเครื่องมือ ในการกระทำความผิด แต่กลับไม่มีอำนาจตามกฎหมายในการระงับการเดินธุรกรรมกับบัญชี เงินฝากเหล่านั้นได้เอง ถึงแม้ว่าธนาคารจะมีเอกสารหลักฐานที่แน่ชัดว่ามีการนำบัญชีเงินฝาก ไปเป็นเครื่องมือในการกระทำความผิดก็ตาม ดังนั้น จึงสมควรเพิ่มเติมมาตรการทางกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินของสถาบันการเงินเพื่อที่จะสามารถลดมูลค่าความเสียหายจากการหลอกลวงให้โอนเงินทางโทรศัพท์ได้มากขึ้น โดยการเพิ่มเติมอำนาจตามกฎหมายให้กับธนาคาร ในการระงับหรือยับยั้งการเดินธุรกรรมกับบัญชีเงินฝากที่อาชญากรใช้เป็นเครื่องมือ ในการกระทำ ความผิดชั่วคราว ในกรณีที่ธนาคารตรวจพบหรือมีหลักฐานแน่ชัดได้เอง ซึ่งจะเป็นมาตรการที่ช่วยบรรเทาความเสียหายให้กับประชาชนผู้ได้รับความเสียหายและ ระบบเศรษฐกิจโดยรวมได้อย่างมีประสิทธิภาพen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2017.43-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectอาชญากรรมทางเศรษฐกิจen_US
dc.subjectการฟอกเงินen_US
dc.titleมาตรการทางกฎหมายของสถาบันการเงินเพื่อบรรเทาความเสียหายจากการหลอกลวงให้โอนเงินทางโทรศัพท์en_US
dc.typeIndependent Studyen_US
dc.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineกฎหมายเศรษฐกิจen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorKanaphon.C@Chula.ac.th-
dc.subject.keywordโอนเงินทางโทรศัพท์en_US
dc.subject.keywordบัญชีเงินฝากen_US
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.IS.2017.43-
Appears in Collections:Law - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
598 61779 34.pdf1.53 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.