Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60893
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorคณพล จันทน์หอม-
dc.contributor.authorดวงกมล บุญรัตตานนท์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์-
dc.date.accessioned2018-12-03T03:05:59Z-
dc.date.available2018-12-03T03:05:59Z-
dc.date.issued2560-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60893-
dc.descriptionเอกัตศึกษา(ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560en_US
dc.description.abstractการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานภาครัฐนั้นเป็นสิ่งที่รัฐให้ความสำคัญ เป็นเครื่องมือที่ ทาให้ภารกิจของรัฐบรรลุผล นั่นคือตอบสนองในเรื่องบริการสาธารณะ เพื่อตอบสนองต่อความ ต้องการของส่วนรวม โดยรัฐใช้เงินงบประมาณจำนวนมากในการซื้อสินค้าและบริการสำหรับบริการ สาธารณะ การจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐจึงได้ถูกกำหนดให้เป็นกฎหมายการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ ประเทศไทย ได้มีการปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐมาโดยตลอดจนถึงปัจจุบัน คือ พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 และมีผลบังคับใช้กับทุก หน่วยงานของรัฐรวมถึงรัฐวิสาหกิจ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) จึงต้องดำเนินการ จัดซื้อจัดจ้างภายใต้พระราชบัญญัติฉบับนี้เช่นกัน อย่างไรก็ดีพระราชบัญญัติฉบับนี้ได้มีข้อยกเว้นให้ การจัดซื้อจัดจ้างของรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวกับการพาณิชย์โดยตรง ตามมาตรา 7 (1) สามารถขอออก กฎหมายลำดับรองเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างขึ้นใช้เองเพื่อความคล่องตัว ซึ่งเป็นไปตามมาตรา 7 วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 ทั้งนี้การจัดซื้อจัดจ้างถือ เป็นกระบวนการที่มีความสำคัญต่อความสำเร็จในการดำเนินงานของ กฟผ. ดังนั้นหากกระบวนการ จัดซื้อจัดจ้างในกิจการที่เกี่ยวกับการพาณิชย์และธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง (Core Business) ของ กฟผ. ต้อง ดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างตามหลักเกณฑ์และแนวทางของพระราชบัญญัติ จะพบประเด็นปัญหาที่อาจ ส่งผลต่อการดำเนินงานของ กฟผ. ในประเด็นด้านการขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการ วิธีการจัดซื้อจัดจ้าง การทำสัญญา และการอุทธรณ์ผลการจัดซื้อจัดจ้าง ส่งผลให้เกิดความไม่คล่องตัว ไม่ตอบสนองต่อ วัตถุประสงค์ของการก่อตั้ง และไม่อำนวยความสะดวกต่อธุรกิจทั้งในปัจจุบันและในอนาคตของ กฟผ. ฉะนั้น การจัดซื้อจัดจ้างที่เกี่ยวกับการพาณิชย์โดยตรงของ กฟผ. จึงควรอาศัยอำนาจแห่ง พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 มาตรา 7 วรรคสี่ ออกข้อบังคับและระเบียบ การจัดซื้อจัดจ้างที่เกี่ยวกับการพาณิชย์โดยตรง โดยอิงจากข้อบังคับและ ระเบียบพัสดุเดิมของ กฟผ. และปรับแก้เงื่อนไขบางประการเพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียวกันกับ พระราชบัญญัติ รวมทั้งปรับใช้แนวทางตามรัฐวิสาหกิจอื่น ได้แก่ การไฟฟ้านครหลวง และ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เพื่อให้เหมาะสมกับการประกอบธุรกิจ ผู้ศึกษาจึงมั่นใจเป็นอย่างยิ่งว่าแนวทาง ดังกล่าวจะทาให้การจัดซื้อจัดจ้างของ กฟผ. เป็นที่น่าเชื่อถือ พร้อมทั้งส่งเสริมศักยภาพในการ ประกอบธุรกิจของ กฟผ.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2017.25-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐen_US
dc.subjectพัสดุen_US
dc.titleการจัดซื้อจัดจ้างของรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวกับการพาณิชย์โดยตรง : ศึกษากรณีการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยen_US
dc.typeIndependent Studyen_US
dc.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineกฎหมายเศรษฐกิจen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.authorKanaphon.C@Chula.ac.th-
dc.subject.keywordบริการสาธารณะen_US
dc.subject.keywordการบริหารพัสดุภาครัฐen_US
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.IS.2017.25-
Appears in Collections:Law - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
598 61791 34.pdf1.47 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.