Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60910
Title: การแยกและลักษณะสมบัติของยีสต์จากน้ำตาลสดมะพร้าวและการประยุกต์เพื่อการผลิตขนมปัง ไวน์ และเอทานอล
Other Titles: Isolation and characterization of yeasts from coconut nectar and their application in bread, wine and ethanol production
Authors: นิชานันท์ อุดมศักดิ์สกุล
Advisors: อัญชริดา อัครจรัลญา
เคนทาโร โคดามะ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Subjects: ยีสต์
น้ำตาลมะพร้าว
Yeast
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: คัดแยกยีสต์ที่มีความสามารถในการหมักเอทานอลสูงจำนวน 72 ไอโซเลตจากน้ำตาลสดมะพร้าวในจังหวัดสมุทรสงคราม ด้วยเทคนิคซีเลคทีฟคัลเจอร์ (selective culture) เมื่อจัดจำแนกโดยอนุกรมวิธานระดับโมเลกุลด้วยการเปรียบเทียบลำดับนิวคลีโอไทด์บริเวณ D1/D2 ของ LSU rRNA และวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงวิวัฒนาการ พบว่าทั้งหมดเป็นยีสต์ที่อธิบายสปีชีส์แล้ว ประกอบด้วยกลุ่มที่ 1 Saccharomyces cerevisiae จำนวน 56 สายพันธุ์ กลุ่มที่ 2  Hanseniaspora guilliermondii จำนวน 1 สายพันธุ์ กลุ่มที่ 3 Zygosaccharomyces rouxii จำนวน 1 สายพันธุ์ กลุ่มที่ 4 Saccharomycodes ludwigii จำนวน 1 สายพันธุ์ กลุ่มที่ 5 Lachancea fermentati จำนวน 5 สายพันธุ์ กลุ่มที่ 6 Wickerhamomyces anomalus  จำนวน 1 สายพันธุ์ กลุ่มที่ 7 Candida tropicalis จำนวน 2 สายพันธุ์ กลุ่มที่ 8 Pichia kudriavzevii จำนวน 2 สายพันธุ์ กลุ่มที่ 9 Pichia manshurica จำนวน 1 สายพันธุ์ และกลุ่มที่ 10 Shizosaccharomyces pombe จำนวน 2 สายพันธุ์   S. cerevisiae เป็นยีสต์สายพันธุ์ที่พบเป็นกลุ่มหลักคิดเป็น 77.78   เปอร์เซ็นต์ของยีสต์ที่คัดแยกได้ทั้งหมด ในจำนวนนี้สายพันธุ์  NC027 สามารถผลิตเอทานอลปริมาณสูงสุดจากอาหารที่มีน้ำตาลกลูโคส 18% ได้เอทานอล 66.92 หรือ 1.39  กรัมต่อลิตรต่อชั่วโมงมากกว่าสายพันธุ์ TISTR 5596 ซึ่งเป็นสายพันธุ์ควบคุม สายพันธุ์ NC018 เป็นสายพันธุ์ที่เหมาะกับการนำไปใช้ทำขนมปังเพราะสามารถผลิตก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้สูง ตกตะกอนเร็วและให้ผลผลิตชีวมวลปริมาณมาก ผลผลิตขนมปังที่ได้มีเนื้อสัมผัสดี ผลการทดสอบทางด้านประสาทสัมผัสของไวน์น้ำมะพร้าวที่ผลิตจากตัวแทน S. cerevisiae 5 สายพันธุ์ พบว่าไวน์ทั้งหมดที่ผลิตได้ไม่มีความแตกต่างกันในด้านสีและความใส แต่ไวน์ที่ผลิตโดยใช้สายพันธุ์ NL010 มีรสชาติและความชอบโดยรวมจากผู้ทดสอบแตกต่างจากไวน์ที่ผลิตโดยสายพันธุ์อื่นอย่างมีนัยสำคัญยิ่งที่ค่าความเชื่อมั่น 95 เปอร์เซ็นต์ จาก S. cerevisiae ทั้งหมด 56 สายพันธุ์ที่คัดแยกได้ สายพันธุ์ NL026 และ NL010 สามารถใช้กลีเซอรอลเป็นแหล่งคาร์บอนเพื่อการเจริญ ซึ่งแสดงให้เห็นว่า S. cerevisiae ทั้งสองสายพันธุ์ดังกล่าวมีศักยภาพในการเปลี่ยนวัตถุดิบที่มีราคาต่ำ เช่น ของทิ้งกลีเซอรอล (glycerol waste) ไปเป็นสารที่มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้นได้
Other Abstract: Seventy-two high ethanol fermenting yeasts were isolated from  coconut nectar in Samut Songkhram province by selective culture method. Base on molecular taxonomic characterization using sequence analysis of D1/D2 region of the large-subunit ribosomal RNA gene (LSU rRNA), they were identified as  Saccharomyces cerevisiae (Group I, 56 isolates), Hanseniaspora quilliermondii (Group II, 1 isolate), Zygosaccharomyces rouxii (Group III, 1 isolate), Saccharomycodes ludwigii (Group IV, 1 isolate), Lachancea fermentati (Group V, 5 isolates), Wickerhamomyces anomalus (Group VI, 1 isolate), Candida tropicalis (Group VII, 2 isolates), Pichia kudriavzevii (Group VIII, 2 isolates), Pichia manshurica (Group IX, 1 isolate), Shizosaccharomyces pombe (Group X, 2 isolate).  Saccharomyces cerevisiae was found to be dominant species (77.78%). Saccharomyces cerevisiae NC027 was suitable for ethanol production. It gave maximum ethanol  66.92  g/L  in medium containing 18% (w/v) glucose  (ethanol productivity  1.39  g/L/h), which were  higher than S. cerevisiae TISTR 5596 (control strain).  Saccharomyces cerevisiae  NC018 was suitable as baker’s yeast due to its high carbon dioxide production, high biomass yield and faster flocculation.  Bread prepared by the strain NC018 showed good texture. Sensory evaluation of coconut wine produced from coconut juice by 9 point hedonic scale testing of 5 representative S. cerevisiae strains selected showed no significant differences (p= 0.05) in color and clarity except those produced by strain NL010 whose flavor and its overall acceptance was significant difference. Saccharomyces cerevisiae  NL026 and NL010 assimilated glycerol which indicated their potential to convert low-price raw material such as glycerol waste to higher value product
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: เทคโนโลยีชีวภาพ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60910
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.60
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.60
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5373940623.pdf4.61 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.