Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60928
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุพัฒน์ เจริญพรวัฒนา-
dc.contributor.advisorณัฐพันธุ์ ศุภกา-
dc.contributor.authorฉัตรนภา อินทานนท์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์-
dc.date.accessioned2018-12-03T03:11:54Z-
dc.date.available2018-12-03T03:11:54Z-
dc.date.issued2558-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60928-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558-
dc.description.abstractการทำงานร่วมกันของไนซินและเซทิลไพริดิเนียมคลอไรด์ (CPC) ในการยับยั้งการเจริญของ E. coli และ  L. monocytogenes ศึกษาได้จากการเปลี่ยนแปลงของผิวเซลล์โดยเทคนิค Atomic force microscopy (AFM) ซึ่งมีความละเอียดสูงอีกทั้งยังสามารถเห็นภาพของแบคทีเรียที่ยังมีชีวิตได้ และเทคนิค Raman spectroscopy ที่สามารถศึกษาในระดับหมู่ฟังก์ชันและแสดงตำแหน่งของสารออกฤทธิ์ได้ ผลจากการทดลองพบว่าค่าความเข้มข้นที่ต่ำสุด (Minimum inhibitory concentration, MIC) ของไนซินและ CPC ต่อการออกฤทธิ์ยับยั้ง L. monocytogenes คือ 125 IU/มิลลิลิตร และ 0.75 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร ตามลำดับ ในขณะที่การยับยั้ง E. coli คือ 30,000 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร และ 3.175 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร ตามลำดับ ซึ่งผลจากการศึกษาการทำงานร่วมกันแสดงให้เห็นว่าไม่มีความแตกต่างระหว่างการทำงานเชิงเดี่ยวหรือทำงานร่วมกัน อย่างไรก็ตามผลจาก AFM แสดงถึงผลการออกฤทธิ์ทำลายเซลล์โดยละเอียดซึ่งแสดงให้เห็นว่าการทำงานร่วมกันของไนซินและ CPC ในการยับยั้ง E. coli และ  L. monocytogenes สามารถส่งผลให้เซลล์เกิดความเสียหายรุนแรงอย่างมากเมื่อเปรียบเทียบกับการทำงานเชิงเดี่ยว ในขณะที่ผลจากการศึกษาด้วยเทคนิค Raman spectroscopy พบว่าเกิดการกระเจิงแสงในรูปแบบที่แตกต่างกันโดยไนซิน, CPC และเซลล์ E. coli แสดงพีครามานที่ 3090 cm-1, 1652 cm-1 และ 2934 cm-1 ตามลำดับ นอกจากนี้ผลจากการทำแผนที่รามานแสดงให้เห็นถึงตำแหน่งการทำงานของสารออกฤทธิ์ที่กระจายตัวอยู่ในรูปแบบสุ่มบนผิวเซลล์ทั้งไนซินและ CPC แต่บริเวณรอบเซลล์นั้นพบว่าสารทั้งสองชนิดมีการกระจายตัวที่แยกออกจากกัน จึงสามารถสรุปได้ว่าเทคนิคทั้งสองชนิดนี้มีประโยชน์อย่างมากในการศึกษาการยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียด้วยสารชีวโมเลกุล และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาสารถนอมอาหารที่ใช้ในอุตสาหกรรมอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ-
dc.description.abstractalternativeNisin and cetylpyridinium (CPC) have been used as antimicrobial agents to against wide variety of bacteria for food preservation. The objective of this study was to use Atomic force microscopy (AFM) and Raman spectroscopy to investigate the antimicrobial agents localization and morphological changes that occurred in L. monocytogenes and E. coli cells treated with nisin and CPC. The minimal inhibitory concentration (MIC) by microtiter plate assay, of nisin and CPC against L. monocytogenes was found to be 125 IU/mL and 0.75 µg/mL, respectively. The MIC against E. coli was  30,000 IU/mL and 3.175 µg/mL, respectively. Both separately and in combination showed that indifference. However, AFM examination revealed severely injured cells when L. monocytogenes and E. coli were exposed to a combination of nisin and CPC. The Raman peak signal of CPC (1652 cm-1) and nisin (3090 cm-1) were observed on bacterial cell membrane (2934 cm-1) after E. coli cells were exposed to a combination of nisin and CPC. The Raman mapping demonstrated the detailed information of antimicrobial agent composition that were localized and randomly distributed on bacterial cell membrane. In conclusion, AFM and Raman spectrometer were effective tools for investigating antimicrobial activity on bacterial cells and could be useful tools for studying antimicrobial effects of biochemical compound especially for food preservation.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2015.845-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subjectไนซิน-
dc.subjectแบคทีเรียแกรมบวก-
dc.subjectNisin-
dc.subjectGram-positive bacteria-
dc.titleการตรวจติดตาม Escherichia coli และ Listeria monocytogenes ที่ถูกกระทำด้วยไนซินและเซทิลไพริดิเนียมคลอไรด์โดยเทคนิค Atomic force microscopy และ Raman spectroscopy-
dc.title.alternativeMonitoring of nisin and cetylpyridinium chloride treated Escherichia coli and Listeria monocytogenes using atomic force microscopy and raman spectroscopy-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineจุลชีววิทยาทางอุตสาหกรรม-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subject.keywordNISIN-
dc.subject.keywordCETYLPYRIDINIUM CHLORIDE-
dc.subject.keywordBACTERIAL CELL IMAGING-
dc.subject.keywordATOMIC FORCE MICROSCOPY-
dc.subject.keywordRAMAN SPECTROSCOPY-
dc.subject.keywordRAMAN MAPPING-
dc.subject.keywordAgricultural and Biological Sciences-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2015.845-
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5571946223.pdf5.67 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.