Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61031
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorธิติพันธุ์ เชื้อบุญชัย-
dc.contributor.authorดวงฤทัย ด่านสวัสดิ์วงศ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์-
dc.date.accessioned2018-12-03T04:05:01Z-
dc.date.available2018-12-03T04:05:01Z-
dc.date.issued2560-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61031-
dc.descriptionเอกัตศึกษา(ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560en_US
dc.description.abstractกระบวนการหลีกเลี่ยงภาษีขององค์กรต่างๆ ในปัจจุบันมีอยู่ด้วยกันหลากหลายรูปแบบ ซึ่ง หนึ่งในรูปแบบนั้นก็คือการใช้ผลขาดทุนทางภาษีที่สะสมมาไม่เกิน 5 ปีก่อนรอบระยะเวลาบัญชี ปัจจุบันตามมาตรา 65 ตรี (12) แห่งประมวลรัษฎากรที่สามารถนำผลขาดทุนทางภาษีมาหักเป็น รายจ่ายทางภาษีได้ โดยกฎหมายยังมีช่องว่างที่เปิดโอกาสให้องค์กรต่างๆ ใช้เป็นเครื่องมือในการใช้ สิทธิประโยชน์ทางภาษีจากผลขาดทุนดังกล่าว ซึ่งวิธีนี้ทำให้องค์กรที่มีผลขาดทุนทางภาษีที่สะสมมา เป็นจำนวนมากมุ่งหาโอกาสในการสร้างรายได้ทางภาษีที่เป็นจริงหรือไม่จริงก็ตามเพื่อนำมาหักกับผล ขาดทุนทางภาษีที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการประหยัดภาษีหรือเรียกว่าเป็นการหลีกภาษีที่ยอมรับได้ (Acceptable Tax Avoidance) ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดขององค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจ และการพัฒนา (Organisation for Economic Co-operation and Development หรือ OECD) เกี่ยวกับการหลีกเลี่ยงภาษีที่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีพยายามที่จะหาข้อได้เปรียบทางภาษีจากข้อกำหนด ด้านเวลาสำหรับผลขาดทุนดังกล่าว ซึ่งหากไม่ได้ใช้ประโยชน์จากผลขาดทุนทางภาษีแล้วจะสูญเสีย ประโยชน์ไป จากกรณีศึกษาที่ผู้เขียนได้ยกตัวอย่างมาศึกษาในเอกัตศึกษานี้ บริษัทจำกัดแห่งหนึ่งได้มีผล ขาดทุนทางภาษีที่สะสมยกมาไม่เกิน 5 ปีก่อนรอบระยะเวลาบัญชีปีปัจจุบันอยู่จำนวนมาก และได้มี การสร้างรายได้จากการได้รับการยกหนี้จากกิจการที่เกี่ยวข้องกันเพื่อนำมาใช้หักกับผลขาดทุนทาง ภาษีที่มีโดยนำมาเป็นรายจ่ายทางภาษี ซึ่งเป็นการหลีกเลี่ยงภาษีที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการประหยัด ภาษีและทำให้บริษัทมีสภาพคล่องที่ดีขึ้นในระดับกลุ่มบริษัท จากการศึกษาผู้เขียนจึงเสนอแนะว่า บทบัญญัติของประมวลรัษฎากรตามมาตรา 65 ตรี (12) จำเป็นต้องแก้ไขเพื่อให้มีมาตรการป้องกัน การหลีกเลี่ยงภาษีเงินได้นิติบุคคลจากการใช้ผลขาดทุนทางภาษีโดยกำหนดให้มีการกฎเกณฑ์ในการ ใช้ที่รัดกุมมากขึ้น และควรให้มีมาตรการอื่นๆ ที่กำหนดให้มีการเปิดเผยข้อมูลและรายงานเกี่ยวกับผล ขาดทุนทางภาษี เพื่อเป็นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้มีหน้าที่เสียภาษีในการหลีกเลี่ยงภาษี ดังกล่าวซึ่งสอดคล้องกับมาตรการป้องกันการหลีกเลี่ยงภาษีจากการใช้ผลขาดทุนทางภาษีตามแนว ปฏิบัติของ OECD ซึ่งอาจนำกฎเกณฑ์ของประเทศอังกฤษที่คำนึงถึงระยะเวลาทางภาษีซึ่งเป็นหลัก มาตรการป้องกันการหลีกเลี่ยงภาษีตามเป้าหมาย (Targeted anti-avoidance rule หรือ TAAR) โดยถูกออกแบบมาเพื่อการดำเนินการป้องกันพฤติกรรมบางประเภทที่พยายามใช้ประโยชน์จากกฎ ต่างๆ มาเป็นต้นแบบในการนำมาปรับใช้ได้ นอกจากนั้น เพื่อให้สอดคล้องกับลักษณะการดำเนิน ธุรกิจในปัจจุบันที่มีการพัฒนามากและเพื่อให้เป็นไปตามหลักการบริหารภาษีที่ดีที่จะต้องมีความ ยืดหยุ่น โดยให้มีการปรับตัวเข้ากับสภาพเศรษฐกิจที่เป็นอยู่ในปัจจุบันen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2017.8-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectขาดทุนen_US
dc.subjectสิทธิประโยชน์ทางภาษีen_US
dc.titleมาตรการป้องกันการหลีกเลี่ยงภาษีเงินได้นิติบุคคลจากการใช้ผลขาดทุนทางภาษีen_US
dc.typeIndependent Studyen_US
dc.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineกฎหมายเศรษฐกิจen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.authorไม่มีข้อมูล-
dc.subject.keywordการหลีกเลี่ยงภาษีen_US
dc.subject.keywordการขาดทุนทางภาษีen_US
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.IS.2017.8-
Appears in Collections:Law - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
598 61807 34.pdf9.72 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.