Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61051
Title: การพัฒนาคอนกรีตสมรรถนะสูงมากเพื่อการซ่อมแซมพื้นผิวถนนคอนกรีตโดยวิธีเททับหน้า
Other Titles: Development of Ultra high performance concrete (Uhpc) for concrete pavement rehabilitation by overlay method
Authors: จุฑา มีพฤกษ์
Advisors: วิทิต ปานสุข
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Withit.P@Chula.ac.th
Subjects: คอนกรีตกำลังสูง
High strength concrete
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานด้านวิศวกรรมโครงสร้างพื้นฐานจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีอายุในการใช้งานที่ยาวนานเพียงพอ เมื่อโครงสร้างพื้นฐานดังกล่าวใช้งานมาแล้วระยะหนึ่ง ย่อมมีการเสื่อมสภาพตามการใช้งาน จึงต้องหาวิธีการซ่อมแซมเพื่อยืดอายุการใช้งาน โดยการศึกษาวิจัยนี้ได้ศึกษาวิธีการซ่อมแซมโครงสร้างพื้นฐาน ควบคู่กับการพัฒนาวัสดุ และเทคนิควิธีการที่ใช้ในการซ่อมแซม ซึ่งปัญหาโครงสร้างพื้นฐานที่พบโดยเฉพาะพื้นผิวถนนคอนกรีตคือรอยแตกร้าวจากการใช้งาน จึงต้องทำการซ่อมแซม โดยวิธีที่เหมาะสมและสะดวกคือการเททับหน้า ดังนั้นจึงมีการพัฒนาวัสดุชนิดใหม่ที่สามารถช่วยลดปัญหาที่เกิดขึ้นกับวิธีการซ่อมแซมดังกล่าว โดยทางเลือกในการพัฒนาวัสดุซ่อมแซมชนิดใหม่ คือคอนกรีตสมรรถนะสูงมากเพื่อให้พื้นถนนที่ได้รับ การซ่อมแซมมีสภาพที่คงทนกว่าการซ่อมแซมด้วยคอนกรีตธรรมดา ซึ่งในคอนกรีตสมรรถนะสูงมากนั้นมีคุณสมบัติสามารถไหลอัดแน่นได้ด้วยน้ำหนักของตัวเองและควบคุมรอยแตกร้าวในคอนกรีตให้สามารถกระจายรอยแตกร้าวโดยการผสมเส้นใยเหล็กเพื่อต้านทานแรงดึงที่เกิดขึ้น และการเพิ่มกำลังรับแรงอัดของพื้นผิวใหม่ทดแทนการเพิ่มความหนาให้กับโครงสร้างเดิม ดังนั้นจึงทำการออกแบบส่วนผสมที่เหมาะสมที่จัดได้ว่าเป็นคอนกรีตสมรรถนะสูงมากเสริมเส้นใยเหล็กคือสามารถไหลได้ด้วยน้ำหนักของตัวเองพิจารณาจากระยะเวลาการไหลผ่านอุปกรณ์ทดสอบช่องเปิดรูปตัววี และระยะจากการยุบตัว กำลังรับแรงอัด โดยกำลังรับแรงอัดที่ได้ไม่น้อยกว่า 100 เมกะปาสคาล ที่ 7 วัน จากนั้นจึงทดสอบคุณสมบัติเชิงกลเพิ่มคือการรับแรงดึงโดยกำลังรับแรงดึง ไม่ต่ำกว่า 5 เมกะปาสคาล การรับแรงดัด และโมดูลัสยืดหยุ่น จากนั้นเพื่อให้เข้าใจถึงพฤติกรรมหลังการซ่อมแซมด้วยคอนกรีตสมรรถนะสูงมากโดยวิธีเททับหน้า จึงทดสอบกำลังรับแรงดัดด้านที่รับแรงดึงของแผ่นพื้นจำลอง หลังการซ่อมแซมพบว่าแผ่นพื้นจำลองเกิดการแยกตัวหลังจากรับแรงร่วมกันเมื่อมีความหนาเพิ่มขึ้นในกรณีไม่ทาน้ำยาประสานคอนกรีตซึ่งต่างจากพื้นผิวที่ทาน้ำยาประสานคอนกรีตที่ไม่เกิดการหลุดร่อนที่ผิวของแผ่นพื้นจำลองแม้ความหนาเพิ่มขึ้น นอกจากนี้จำนวนรอยแตกร้าวที่เกิดขึ้นกระจายตัวมากน้อยแตกต่างกันเมื่อความยาวและปริมาณเส้นใยเหล็กที่เปลี่ยนแปลงไปโดยจะให้ความแกร่งและความเหนียวที่สูงกว่าเมื่อความยาวและปริมาณเส้นใยเหล็กที่มากขึ้น
Other Abstract: It is very important for infrastructure facilities to have adequately long service life. After a certain period of operation time, a deterioration of structures can certainly be observed based on a degree of usage. To extend the service life of structures, an effective repair is required. In this study, repairing material and technique for concrete pavement were focused. One of the suitable solution for commonly found damages on concrete surface are overlaying. A development of new material that can improve this repairing method was studied. Ultra High Performance Concrete (UHPC) is one possible alternative overlaying material to achieve more durable repaired structures. In this study, UHPC was designed to have self-compacting property, crack-controlling ability by adding steel fiber and very high compressive strength. The self-compacting property of proposed mixture was characterized by a viscosity and deformability by V-funnel and flow test, respectively. The target strength was higher than 100 MPa in compression and 5 MPa in tension at 7 days. After the appropriate mix proportion were attained by trial-and-error process, other mechanical test such as bending and elastic modulus were performed. Subsequently, in order to study the behavior after overlaying by UHPC, the load tests of repaired specimens were executed upside down. It could be seen from the test that the failure due to debonding between UHPC overlaying layer and substrate slab was observed in specimens with thicker overlaying layer for the cases without bonding agent before overlaying. On the other hand, the overlaying layer could be fully utilized for the cases with bonding agent. The amount and distribution of observed crack were changed with the different length and amount of steel fiber. Also, the higher ductility was obtained from the specimens with longer and higher amount of fiber.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมโยธา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61051
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.2191
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2011.2191
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chutha Meeplueks.pdf1.86 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.