Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61067
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorศุภลักษณ์ พินิจภูวดล-
dc.contributor.authorนิศารัตน์ พุ่มฉัตร-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์-
dc.date.accessioned2018-12-12T07:58:28Z-
dc.date.available2018-12-12T07:58:28Z-
dc.date.issued2560-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61067-
dc.descriptionเอกัตศึกษา(ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560en_US
dc.description.abstractในปี พ.ศ. 2560 ประเทศไทยมีการออกมาตรการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีเพื่อสนับสนุน กิจการเงินร่วมลงทุนโดยการตราพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการ ยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 636) พ.ศ. 2560 ซึ่งเป็นการขยายขอบเขตการให้สิทธิประโยชน์ของ พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 597) พ.ศ. 2559 ซึ่งกำหนดให้กิจการเงินร่วมลงทุนที่ประสงค์จะใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีจะต้องทำการจดแจ้ง ต่อคณะกรรมการกากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ภายในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2559 โดยได้มีการขยายระยะเวลาดังกล่าวออกไปจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561 ซึ่งการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีนี้สืบเนื่องมาจากนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการสนับสนุนให้มีการลงทุนในการประกอบกิจการเงินร่วมลงทุนมากยิ่งขึ้นเพื่อพัฒนาตลาดทุนของประเทศไทยและส่งเสริมให้มีการลงทุนในกิจการเป้าหมายที่ใช้เทคโนโลยีเป็นฐานในการประกอบกิจการตามอุตสาหกรรมที่รัฐต้องการสนับสนุนเพื่อตอบสนองโมเดลประเทศไทย 4.0 ซึ่งต้องการปฏิรูปเศรษฐกิจของประเทศไปสู่เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม (Value-Based Economy) เอกัตศึกษาเล่มนี้ได้ทาการศึกษามาตรการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีเพื่อสนับสนุนกิจการ เงินร่วมลงทุนดังกล่าวโดยวิเคราะห์เปรียบเทียบกับมาตรการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีเพื่อสนับสนุน กิจการเงินร่วมลงทุนของต่างประเทศซึ่งได้แก่ ประเทศอังกฤษ ประเทศสิงคโปร์ และประเทศมาเลเซียซึ่งจากการศึกษาพบว่าพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 636) พ.ศ. 2560 มีการกำหนดสิทธิประโยชน์เฉพาะการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินปันผลและรายได้ที่ได้รับจากการโอนหุ้นแก่กิจการเงินร่วมลงทุนที่ลงทุนในการประกอบ อุตสาหกรรมเพียง 10 ประเภท ซึ่งไม่ครอบคลุมทุกกลุ่มอุตสาหกรรม โดยการให้สิทธิประโยชน์ในการยกเว้นภาษีนี้เป็นการให้สิทธิประโยชน์ทั้งแก่ผู้ประกอบกิจการเงินร่วมลงทุนและผู้ลงทุนในกิจการ เงินร่วมลงทุน นอกจากนี้พระราชกฤษฎีกาดังกล่าวยังขาดมาตรการบรรเทาภาระภาษีในลักษณะอื่น และกรณีที่กิจการเงินร่วมลงทุนได้ลงทุนในกิจการซึ่งใช้เทคโนโลยีเป็นฐานแต่ไม่ใช่อุตสาหกรรม 10 ประเภทตามพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้มีการกำหนดสิทธิประโยชน์ในการยกเว้นในเงื่อนไขที่แตกต่าง ออกไปตามกฎหมายฉบับอื่น ทาให้เกิดความไม่เหมาะสมและไม่เป็นการส่งเสริมกิจการเงินร่วมลงทุนอย่างแท้จริงจึงเห็นควรให้มีการขยายขอบเขตการสนับสนุนให้ครอบคลุมทุกกลุ่มอุตสาหกรรมและควรเพิ่มการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีโดยการใช้มาตรการการบรรเทาภาระภาษีในรูปแบบอื่นเพื่อก่อให้เกิดการส่งเสริมกิจการเงินร่วมลงทุนอย่างแท้จริงen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2017.10-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการส่งเสริมการลงทุนen_US
dc.subjectภาษีเงินได้--การหักลดหย่อนen_US
dc.titleมาตรการทางภาษีเพื่อสนับสนุนกิจการเงินร่วมลงทุน : ศึกษากรณีการลงทุนในกิจการซึ่งใช้เทคโนโลยีในการประกอบอุตสาหกรรมตามพระราชกฤษฎีกาฉบับที่ 636 พ.ศ.2560en_US
dc.typeIndependent Studyen_US
dc.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineกฎหมายเศรษฐกิจen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.authorSupalak.P@Chula.ac.th-
dc.subject.keywordการยกเว้นภาษีen_US
dc.subject.keywordกิจการเงินร่วมลงทุนen_US
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.IS.2017.10-
Appears in Collections:Law - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
598 61997 34.pdf3.99 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.