Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61070
Title: ปัญหาการขายเงินลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) ส่วนที่ไม่ได้ใช้สิทธิลดหย่อนทางภาษี
Authors: ปนัดดา ธนวงศากุล
Email: Supalak.P@Chula.ac.th
Advisors: ศุภลักษณ์ พินิจภูวดล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
Subjects: กองทุนรวม
การลงทุน
Issue Date: 2560
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: เงินลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) มีการกำหนดจำนวนสูงสุดที่สามารถใช้ ลดหย่อนภาษีได้ แต่ไม่มีการกำหนดจำนวนสูงสุดที่ผู้ลงทุนสามารถลงทุนได้ จึงเกิดกรณีที่ผู้ลงทุนซื้อ เงินลงทุนเกินกว่าสิทธิลดหย่อน หรือไม่ได้นำเงินลงทุนไปใช้สิทธิลดหย่อน หรือเรียกว่าส่วนที่ไม่ได้ใช้ สิทธิลดหย่อนภาษี การถือเงินลงทุนในส่วนที่ไม่ได้สิทธิลดหย่อนภาษีนั้นจะมีปัญหาว่า เงินลงทุนส่วนที่ ไม่ได้ใช้สิทธิดังกล่าวจะสามารถขายออกไปได้โดยต้องมีเงื่อนไขเรื่องระยะเวลาหรือไม่ เพราะไม่ได้เป็น ส่วนที่นำไปใช้สิทธิลดหย่อนภาษี แต่ในทางปฏิบัติของเจ้าหน้าที่กลับมีการบังคับว่าเมื่อมีการขายเงิน ลงทุนส่วนที่ไม่ได้ใช้สิทธิลดหย่อนออกไปก่อนเงื่อนระยะเวลาบังคับ หากผู้ลงทุนเคยใช้สิทธิลดหย่อน ภาษี จะถือเป็นการผิดเงื่อนไขการลงทุน ด้วยปัญหาดังกล่าวนี้ทำให้ผู้ขายเงินลงทุนในส่วนที่ไม่ได้ใช้ สิทธิลดหย่อนทางภาษีก่อนครบกำหนดเวลาจะถือว่าเป็นการขายโดยผิดเงื่อนไขระยะเวลาการถือ ครอง อีกทั้งต้องมีภาระการจ่ายคืนเงินภาษีและเบี้ยปรับ ทั้งๆที่ส่วนที่ผู้ลงทุนขายออกไปนั้นไม่เคย ได้รับประโยชน์ทางภาษี และการปฏิบัติดังกล่าวหมายความว่าหากผู้ลงทุนไม่ต้องการที่จะต้องเสียภาษี และเงินเพิ่ม ผู้ลงทุนจะต้องถือเงินลงทุนส่วนที่ไม่ได้ใช้สิทธิลดหย่อนนี้ไปจนครบกำหนดเวลาเหมือน ส่วนที่ใช้สิทธิลดหย่อนทางภาษี จากการศึกษาพบว่าปัญหาดังกล่าวนั้นเกิดจากการขาดแนวทางปฏิบัติเมื่อซื้อเกินสิทธิหรือไม่ได้ใช้สิทธิลดหย่อนภาษีทาให้เกิดการตีความและบังคับใช้ในทางที่ไม่เป็นธรรมแก่ผู้เสียภาษี หากเปรียบเทียบกับ IRAs ของประเทศสหรัฐอเมริกาซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงกับกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพแล้วเห็นว่า มีแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจนทำให้สามารถแยกส่วนที่ใช้สิทธิและไม่ใช้สิทธิลดหย่อนทาง ภาษีออกจากกันได้ ลดการตีความในการบังคับใช้ และสร้างความเป็นธรรมให้แก่ผู้เสียภาษีมากกว่า ผู้เขียนจึงเห็นว่าควรที่จะนำแนวทางปฏิบัติของประเทศสหรัฐอเมริกามาปรับใช้กับประเทศไทย โดยเฉพาะการเปิดโอกาสให้ผู้ลงทุนนั้นสามารถขายหน่วยลงทุนส่วนที่เกินสิทธิหรือส่วนที่ไม่ได้ใช้สิทธิลดหย่อนนั้นออกไปได้ภายในเวลาที่กำหนด โดยไม่ต้องมีโทษทางภาษี ซึ่งจะสร้างความเป็นธรรม ให้แก่ผู้เสียภาษี และผู้จัดเก็บภาษีสามารถจัดเก็บภาษีได้อย่างมีประสิทธิภาพตามหลักภาษีอากรที่ดี นอกจากนี้แนวทางปฏิบัติจะส่งเสริมช่วยให้ผู้ลงทุนวางแผนภาษีได้ดีขึ้นด้วย
Description: เอกัตศึกษา(ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: กฎหมายเศรษฐกิจ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61070
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2017.48
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.IS.2017.48
Type: Independent Study
Appears in Collections:Law - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
598 62064 34.pdf1.5 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.