Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61075
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorทัชชมัย ทองอุไร-
dc.contributor.authorพีรดา กมลพัฒนะ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์-
dc.date.accessioned2018-12-17T02:41:10Z-
dc.date.available2018-12-17T02:41:10Z-
dc.date.issued2560-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61075-
dc.descriptionเอกัตศึกษา(ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560en_US
dc.description.abstractปัจจุบันรัฐบาลต้องการให้นักลงทุนมาลงทุนในประเทศไทยโดยเฉพาะอย่างยิ่งการลงทุนใน กลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย ดังนั้น รัฐบาลจึงได้ออกพระราชบัญญัติการเพิ่มขีดความสามารถในการ แข่งขันของประเทศสำหรับอุตสาหกรรมเป้าหมาย พ.ศ. 2560 เพื่อใช้เป็นกลไกและเครื่องมือที่สำคัญในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศโดยถือเป็นการเพิ่มเครื่องมือการชักจูงนักลงทุนให้เข้ามาลงทุนเพื่อให้ประเทศไทยสามารถแข่งขันกับประเทศต่างๆ ในการดึงนักลงทุนให้เข้ามาลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมาย ซึ่งมุ่งเน้นไปที่อุตสาหกรรมที่สอดคล้องกับศักยภาพของประเทศ นอกจากนี้ยังถือเป็นการสร้างความเข้มแข็งให้กับภาคอุตสาหกรรมไทยโดยสนับสนุนเงินกองทุนให้ผู้ประกอบการในกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายเพื่อสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการลงทุนเพื่อการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม หรือการพัฒนาบุคลากรเฉพาะด้านของกิจการในอุตสาหกรรมเป้าหมายซึ่งจะก่อให้เกิดการยกระดับศักยภาพของอุตสาหกรรมไทยโดยเฉพาะกลุ่มอุตสาหกรรมปัจจุบันที่ยกระดับเพื่อต่อยอดการเจริญเติบโต (First S-Curve) และกลุ่มอุตสาหกรรมอนาคตเพื่อยกระดับเศรษฐกิจไทยแบบก้าวกระโดด (New S-Curve) เพื่อให้ประเทศไทยก้าวไปสู่ยุคที่เน้นการพัฒนาเศรษฐกิจด้วยนวัตกรรม (ประเทศไทย 4.0) ได้อย่างมีประสิทธิภาพในอนาคตสำหรับสิทธิประโยชน์ที่มีภายใต้พระราชบัญญัติฉบับนี้ สามารถแบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม คือ (1) ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสาหรับกำไรสุทธิที่ได้จากการประกอบกิจการใน อุตสาหกรรมเป้าหมายตามระยะเวลาที่คณะกรรมการนโยบายกำหนด (2) เงินสนับสนุนจากกองทุนขนาด 10,000 ล้านบาท เพื่อสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการ ลงทุน การวิจัยและพัฒนา การส่งเสริมนวัตกรรม หรือการพัฒนาบุคลากรเฉพาะด้านของกิจการใน อุตสาหกรรมเป้าหมาย (3) สิทธิประโยชน์อื่นๆ ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน โดยไม่รวมสิทธิประโยชน์ ด้านภาษีเงินได้นิติบุคคล เช่น สิทธิประโยชน์ในการยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับเครื่องจักรที่นำเข้าจาก ต่างประเทศ การอนุญาตให้นำผู้เชี่ยวชาญหรือช่างฝีมือต่างชาติเข้ามาทางานในประเทศพร้อมการ ให้บริการขอวีซ่าและ Work Permit เป็นต้น แม้ว่าพระราชบัญญัติการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศสำหรับอุตสาหกรรมเป้าหมาย พ.ศ. 2560 ให้สิทธิและประโยชน์แก่นักลงทุนค่อนข้างมากแต่ก็อาจจะยังไม่เพียงพอที่จะเป็นแรงจูงใจให้กับนักลงทุนที่ต้องการเลือกมาลงทุนกับประเทศไทย เพราะสิทธิและประโยชน์ของอุตสาหกรรมเป้าหมายบางประการของประเทศไทยยังน้อยกว่าสิทธิและประโยชน์ที่ประเทศอื่นๆ ให้ โดยเฉพาะประเทศที่เป็นคู่แข่งทางการค้าของประเทศไทยอย่างประเทศสิงคโปร์และประเทศแคนาดาที่เป็นประเทศซึ่งเป็นหนึ่งในกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำของโลก จึงส่งผลให้เกิดปัญหาในเรื่องดังต่อไปนี้ (1) ระยะเวลาการให้สิทธิและประโยชน์ทางภาษีอากรของอุตสาหกรรมเป้าหมายของ ประเทศไทยมีระยะเวลาไม่เกิน 15 ปี ซึ่งเป็นระยะเวลาที่ไม่แตกต่างจากประเทศอื่นๆ แต่เนื่องจาก ประเทศอื่นๆ นอกจากจะให้ระยะเวลาการให้สิทธิและประโยชน์ทางภาษีแล้วยังมีการให้ระยะเวลา เพิ่มเติมสำหรับนักลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมายเพื่อเป็นแรงจูงใจให้นักลงทุนมากยิ่งขึ้นอีกด้วย (2) ค่าใช้จ่ายด้านการลงทุนที่สามารถนำมาใช้เป็นค่าใช้จ่ายด้านภาษี ควรจะมีการยืดหยุ่นในเรื่องค่าใช้จ่ายด้านการลงทุนของอุตสาหกรรมเป้าหมายเพราะเนื่องจากการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมายต้องใช้เงินลงทุนเป็นจำนวนมากและกว่าจะได้กาไรกลับมาต้องใช้ระยะเวลาที่ค่อนข้างนาน ดังนั้น ถ้ารัฐบาลไม่มีการยืดหยุ่นในการนำค่าใช้จ่ายด้านการลงทุนมาเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีจะส่งผลให้การนำค่าใช้จ่ายด้านการลงทุนมาใช้เป็นค่าใช้จ่ายด้านภาษีได้น้อยซึ่งจะส่งผลต่อแรงจูงใจของนักลงทุน (3) การให้สิทธิและประโยชน์ในเรื่องทรัพย์สินทางปัญญา เนื่องจากทรัพย์สินทางปัญญา เป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยให้ประเทศเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ แต่ในปัจจุบันรัฐบาลยังไม่มีนโยบายและการให้สิทธิประโยชน์ในเรื่องทรัพย์สินทางปัญญาแก่อุตสาหกรรมเป้าหมายจากปัญหาทั้ง 3 ประการข้างต้น ถ้ารัฐบาลสามารถแก้ปัญหาได้โดยศึกษาจากการให้สิทธิและประโยชน์แก่อุตสาหกรรมเป้าหมายของต่างประเทศที่เริ่มต้นก่อนประเทศไทยและประสบความสำเร็จ ในการชักจูงให้นักลงทุนเข้าไปลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมายในประเทศของตนเองได้นั้นจะทำให้ อุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศไทยประสบความสำเร็จและสามารถอยู่ได้อย่างยั่งยืนซึ่งจะช่วยให้ประเทศไทยก้าวเข้าสู่ยุคที่เน้นการพัฒนาเศรษฐกิจด้วยนวัตกรรมและตอบสนองนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการให้ประเทศมีความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2017.22-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการพัฒนาอุตสาหกรรมen_US
dc.subjectการยกเว้นอากรการนำเข้าen_US
dc.titleแนวทางในการแก้ไขปรับปรุงมาตรการทางภาษีเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเภทอุตสาหกรรมเป้าหมายen_US
dc.typeIndependent Studyen_US
dc.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineกฎหมายเศรษฐกิจen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorTashmai.R@chula.ac.th-
dc.subject.keywordภาคอุตสาหกรรมen_US
dc.subject.keywordการพัฒนาเศรษฐกิจen_US
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.IS.2017.22-
Appears in Collections:Law - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
598 62247 34.pdf1.11 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.