Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61078
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวิโรจน์ วาทินพงศ์พันธ์-
dc.contributor.authorภิรญา ไชยจารุวุฒิ-
dc.date.accessioned2018-12-17T06:47:17Z-
dc.date.available2018-12-17T06:47:17Z-
dc.date.issued2560-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61078-
dc.descriptionเอกัตศึกษา(ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560en_US
dc.description.abstractรูปแบบหนึ่งของการทำแผนการตลาดของผู้ประกอบธุรกิจ ภายใต้สภาวะเศรษฐกิจที่มีการแข่งขันในปัจจุบันก็คือ การทำโปรแกรมสิทธิพิเศษแก่ลูกค้าผ่านบัตรสะสมคะแนน โดยส่วนใหญ่ ธุรกิจที่มีบัตรสะสมคะแนนจะเป็นธุรกิจที่ขายสินค้าหรือให้บริการที่เกี่ยวข้องในชีวิตประจำวันของคนทั่วไป เช่น ธุรกิจสถานีบริการน้ำมัน ธุรกิจกาแฟ ธุรกิจซุปเปอร์มาร์เก็ต ธุรกิจธนาคาร ธุรกิจการบิน ธุรกิจ โทรคมนาคม ธุรกิจห้างสรรพสินค้า เป็นต้น ซึ่งในมุมมองของผู้ประกอบธุรกิจ มองว่าเมื่อผู้บริโภคมา ซื้อสินค้าหรือใช้บริการภายใต้การทำโปรแกรมสิทธิพิเศษแก่ลูกค้าผ่านบัตรสะสมคะแนน ผู้ประกอบ ธุรกิจก็จะให้คะแนนสะสมตามสัญญาหรือข้อตกลง และผู้บริโภคก็สามารถนำคะแนนสะสมที่มีอยู่ใน บัตรไปใช้แทนเงินสดในการซื้อสินค้าหรือใช้บริการ ใช้เป็นส่วนลด หรือมาแลกรับสิทธิประโยชน์ต่างๆในครั้งต่อไปได้ จึงทำให้เกิดการซื้อสินค้าหรือใช้บริการซ้ำของผู้บริโภคอย่างต่อเนื่อง แต่อย่างไรก็ตามในมุมมองของผู้บริโภคก็มีความต้องการที่ได้รับข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับโปรแกรมสิทธิพิเศษแก่ลูกค้าที่ถูกต้องและเพียงพอ รวมถึงการได้รับคะแนนสะสมที่ตรงตามสัญญาหรือข้อตกลง และผู้บริโภคสามารถนำคะแนนสะสมไปใช้แทนเงินสดในการซื้อสินค้าหรือใช้บริการ ใช้เป็นส่วนลด หรือมาแลกรับสิทธิประโยชน์ต่างๆ ได้จริงๆ จากเหตุข้างต้นจึงเป็นที่มาของงานเอกัตศึกษา เรื่องการคุ้มครองผู้บริโภคจากการบังคับใช้ การตีความมาตรฐานการรายงานทางการเงิน เรื่อง โปรแกรมสิทธิพิเศษแก่ลูกค้า โดยจะทำการศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการบัญชีเรื่องโปรแกรมสิทธิพิเศษแก่ลูกค้า อันได้แก่ พระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547 พระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 การตีความมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับที่ 13 เรื่อง โปรแกรมสิทธิพิเศษแก่ลูกค้า รวมถึงการตีความมาตรฐานการรายงานทางการเงินระหว่างประเทศ ฉบับที่ 13 เรื่อง โปรแกรมสิทธิพิเศษแก่ลูกค้า เป็นต้น นอกจากนี้จะทำการศึกษาถึงสิทธิของผู้บริโภคในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 และพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2541 รวมถึงกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคเรื่องโปรแกรมสิทธิพิเศษแก่ลูกค้าของต่างประเทศ ได้แก่ ประเทศแคนาดา ประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศแอฟริกาใต้ เป็นต้น เพื่อให้ทราบว่าการตีความมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 13 เรื่อง โปรแกรมสิทธิพิเศษแก่ลูกค้ากระทบต่อสิทธิของผู้บริโภคภายใต้กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคหรือไม่ และผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อผู้ประกอบธุรกิจและผู้บริโภคจากการบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับโปรแกรมสิทธิพิเศษแก่ลูกค้าทั้งในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภคและการบัญชีเป็นอย่างไรen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2017.26-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectบัตรเงินสดen_US
dc.subjectการส่งเสริมการขายen_US
dc.titleการคุ้มครองผู้บริโภคจากการบังคับใช้การตีความมาตรฐานการรายงานทางการเงิน เรื่อง โปรแกรมสิทธิพิเศษแก่ลูกค้าen_US
dc.typeIndependent Studyen_US
dc.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineกฎหมายเศรษฐกิจen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorWirote.W@Chula.ac.th-
dc.subject.keywordบัตรสะสมคะแนนen_US
dc.subject.keywordกลยุทธ์การตลาดen_US
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.IS.2017.26-
Appears in Collections:Law - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
598 62327 34.pdf5.93 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.