Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61080
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวุฒิพงษ์ ศิริจันทรานนท์-
dc.contributor.authorโยถิกะ ศรีพงษ์พันธุ์กุล-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์-
dc.date.accessioned2018-12-17T06:47:31Z-
dc.date.available2018-12-17T06:47:31Z-
dc.date.issued2560-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61080-
dc.descriptionเอกัตศึกษา(ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560en_US
dc.description.abstractผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลโดยอาศัยฐานภาษีแตกต่างกันไป ได้แก่ ฐานกำไรสุทธิ ฐานรายได้ก่อนหักรายจ่ายใด ๆ ฐานเงินได้ที่จ่ายจากหรือในประเทศไทยหรือฐานเงินได้พึงประเมิน ฐานการจำหน่ายกำไรออกไปต่างประเทศ โดยส่วนใหญ่นั้นจะถูกจัดเก็บจากฐานกำไรสุทธิ เหตุที่ใช้กำไรสุทธิเป็นฐานภาษีในการจัดเก็บภาษีนั้น ก็เนื่องมาจาก ในหลักการทางบัญชีการเงินนั้น ในการวัดผลการดำเนินงานของกิจการนั้น โดยทั่วไปกิจการจะวัดผล ความสำเร็จในรูปของตัวเลขกำไร จากนั้นกิจการจะนำตัวเลขกำไรที่ได้ไปเปรียบเทียบกับตัวเลขอื่น ๆ เพื่อทำการวิเคราะห์ทางการเงินเพื่อประโยชน์ในการบริหารกิจการต่อไป ดังนั้นการประเมินผล การดำเนินงานซึ่งมักใช้กำไรหรือขาดทุนของกิจการเป็นตัววัด ซึ่งองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องโดยตรง ในการคำนวณหรือวัดกำไรขาดทุนสิทธินั้นคือ รายได้และค่าใช้จ่ายแต่ในทางภาษีนั้นกำหนดหลักเกณฑ์ในการคำนวณรายได้และรายจ่ายจะต้องเป็นไปตามเกณฑ์สิทธิคือ ให้นำรายได้ที่เกิดขึ้นในรอบระยะเวลาบัญชีใดแม้จะยังมิได้รับในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นมารวมคำนวณเป็นรายได้ และให้นำรายจ่ายซึ่งเกี่ยวข้องกับรายได้ดังกล่าวมารวมคำนวณเป็นรายจ่าย แม้ว่าจะยังไม่ได้จ่ายจริงในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นก็ตาม โดยมีเงื่อนไขที่ระบุไว้ในมาตรา 65 ทวิ และมาตรา 65 ตรี แห่งประมวลรัษฎากรโดยต้องพิจารณาว่ามีรายจ่ายใดที่ต้องห้ามนำมาคำนวณกำไรสุทธิตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี หรือไม่ ในส่วนของเรื่องรายจ่ายนั้นปัจจุบันหากนิติบุคคลมีรายจ่ายจากค่าปรับจราจรทางบกที่ไม่ใช่ค่าปรับทางภาษีอากรทุกประเภทนิติบุคคลนั้นสามารถนำค่าปรับดังกล่าวมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้ เนื่องจากไม่มีบัญญัติห้ามไว้ แต่อย่างไรก็ตาม มาตรา 65 ตรี (6) แห่งประมวลรัษฎากรได้มีการบัญญัติห้ามไม่ให้ถือเอาเบี้ยปรับ เงินเพิ่ม และค่าปรับอาญา เป็นรายจ่ายในการนำมาคำนวณกำไรสุทธิ ซึ่งเมื่อพิจารณาถึงเจตนารมณ์ของมาตรการดังกล่าว คือ การลงโทษผู้ที่กระทำฝ่าฝืนกฎหมาย เช่น ไม่ยื่นแบบแสดงรายการตามเวลาที่กฎหมายกำหนด หลีกเลี่ยงภาษี ซึ่งมีเจตนารมณ์เช่นเดียวกับวัตถุประสงค์ของการกำหนดค่าปรับจราจรทางบก เอกัตศึกษาฉบับนี้ได้ศึกษาถึงความเหมาะสมของการกำหนดให้ค่าปรับตามกฎหมายจราจรทางบกเป็นรายจ่ายต้องห้ามตามประมวลรัษฎากรทาย โดยศึกษาเปรียบเทียบแนวทางการกำหนดรายจ่ายต้องห้ามของประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อให้รัฐสามารถใช้มาตรการทางภาษีเป็นเครื่องมือในการลงโทษผู้กระทำผิดจากกฎหมายจราจรทางบก และเพื่อไม่ให้รัฐสูญเสียรายได้จากที่ควรเก็บได้en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2017.9-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการฝ่าฝืนกฎจราจรen_US
dc.subjectการขนส่งทางบก--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับen_US
dc.titleปัญหาความไม่เสมอภาคจากค่าปรับตามกฎหมายจราจรทางบกและตามกฎหมายภาษีอากรในการใช้เป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลen_US
dc.typeIndependent Studyen_US
dc.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineกฎหมายเศรษฐกิจen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
dc.subject.keywordกฎหมายจราจรทางบกen_US
dc.subject.keywordการจ่ายค่าปรับen_US
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.IS.2017.9-
Appears in Collections:Law - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
598 62356 34.pdf1.22 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.