Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61084
Title: มาตรการทางภาษีทรัพย์สินเพื่อการสนับสนุนและส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
Authors: วทันยา สังขรัตน์
Advisors: ศุภลักษณ์ พินิจภูวดล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
Advisor's Email: Supalak.P@Chula.ac.th
Subjects: ธุรกิจขนาดย่อม -- ภาษี
การจัดเก็บภาษี
Issue Date: 2560
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ SMEs เป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อน เศรษฐกิจของประเทศไทย อย่างไรก็ตามจากการศึกษาพบว่าวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมมี อัตราการปิดตัวลงในปี 2560 ที่ผ่านมาสูง อีกทั้งยังมีอัตราการเป็นหนี้เสียที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก จึงนำมาสู่ข้อสังเกตที่ว่าการนโยบายการสนับสนุนของรัฐที่มีต่อวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมอาจยังไม่เพียงพอ เนื่องจากวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมมีความสามารถในการทำรายได้ที่ค่อนข้างจำกัดอีกทั้งค่าใช้จ่ายในช่วงตั้งต้นกิจการค่อนข้างสูง นอกจากนี้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมยังต้องแบกรับภาระภาษีทุกประเภทเทียบเท่าวิสาหกิจโรงงานทั่วไป ในขณะที่มาตรการในการผ่อนผันภาษีสำหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมมีแค่ภาษีเงินได้เท่านั้น จึงเป็นเหตุให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่ไม่สามารถทำกำไรได้มากเพียงพอต่อภาระภาษีที่ต้องแบกรับนั้น จึงต้องปิดตัวไปเมื่อศึกษาหลักการภาษีอากรที่ดี พบว่าควรมีความเป็นธรรม และควรก่อให้เกิดรายได้ อย่างไรก็ตาม การที่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมถูกเก็บภาษีในจำนวนที่สูงกว่าความสามารถในการทำรายได้นั้น ถือว่าเป็นการไม่เป็นธรรม อีกทั้งรัฐเก็บภาษีวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ในช่วงต้นมากจนเกินไป ทำให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมขาดโอกาสที่จะเติบโต และรัฐก็เสียโอกาสที่จะเก็บภาษีวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในภายหลังเมื่อสามารถทำรายได้ได้มากขึ้นนอกจากนี้ ภาษีทรัพย์สินที่ไม่ได้เกิดจากฐานเงินได้ แต่เกิดจากฐานการถือครองทรัพย์สินนั้น หากผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเป็นเจ้าของทรัพย์สิน ถึงแม้จะไม่ได้ทำรายได้ ก็ต้องเสียภาษีทรัพย์สินอยู่ดี ดังนั้น จึงมีความไม่เป็นธรรมต่อวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม นอกจากนี้ จากการศึกษามาตรการบรรเทาภาระภาษีทรัพย์สินของประเทศอังกฤษ และ ประเทศสหรัฐอเมริกา พบว่ามีมาตรการบรรเทาภาระภาษีทรัพย์สินที่หลากหลาย เช่น การยกเว้น ภาษี การลดอัตราภาษี หรือการกำหนดจำนวนภาษีทรัพย์สินสูงสุดที่ต้องเสียเพื่อให้สัมพันธ์กับรายได้ เป็นต้น ดังนั้น จึงควรนำมาตรการดังกล่าวมาศึกษาและปรับใช้กับมาตรการของประเทศไทย โดย พิจารณาปรับปรุงในร่างพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. .... ที่ยังไม่ได้ประกาศใช้ เพื่อให้มีขอบอำนาจและการนำไปใช้จริงในทางปฏิบัติได้อย่างชัดเจนและเท่าเทียมกัน และเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมและเหมาะสมต่อวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม อีกทั้งช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมต่อวิสาหกิจโรงงานทั่วไปในประเทศ และวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมต่างประเทศอีกด้วย
Description: เอกัตศึกษา(ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: กฎหมายเศรษฐกิจ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61084
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2017.11
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.IS.2017.11
Type: Independent Study
Appears in Collections:Law - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
598 62436 34.pdf1.55 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.