Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61085
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | วิโรจน์ วาทินพงศ์พันธ์ | - |
dc.contributor.author | วราพร สิริมงคลนิวัติ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2018-12-24T04:24:16Z | - |
dc.date.available | 2018-12-24T04:24:16Z | - |
dc.date.issued | 2560 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61085 | - |
dc.description | เอกัตศึกษา(ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560 | en_US |
dc.description.abstract | การควบรวมกิจการเป็นหนึ่งในการดำเนินธุรกิจโดยทั่วไป ซึ่งเป็นกระบวนการทางธุรกิจในการ ปรับเปลี่ยนโครงสร้างและอำนาจการควบคุมกิจการ ซึ่งอาจก่อให้เกิดผลดีและผลเสียต่อระบบเศรษฐกิจดังเช่นกิจการอื่นๆ การควบรวมหลายครั้งที่เป็นผลดีต่อการแข่งขันและผู้บริโภค โดยทาให้กิจการสามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่ในหลายการควบรวมก็เป็นการเปลี่ยนกลไกทางตลาดโดยทำให้ราคาสูงขึ้นคุณภาพของสินค้าและบริการแย่ลง หรือการก่อให้เกิดนวัตกรรมลดลงเนื่องจากเป็นการทำให้การแข่งขันลดลงหรือเกิดภาวะที่นำไปสู่การผูกขาด จากการที่กิจการธนาคารเป็นหนึ่งในสถาบันการเงิน การควบรวมกิจการธนาคารจึงอยู่ภายใต้ พระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ที่กำหนดให้กิจการจะต้องยื่นคำขอควบรวมกิจการให้ธนาคารแห่งประเทศไทยพิจารณาก่อน แต่กฎหมายดังกล่าวไม่ได้มีการกำหนดเนื้อหาเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ในการพิจารณาของธนาคารแห่งประเทศไทยรวมถึงไม่ได้มีการกล่าวถึงหรือให้ความสำคัญในด้านการแข่งขันทางการค้า ประกอบกับในพระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2560 มีการระบุถึงข้อยกเว้นในการบังคับใช้กฎหมาย ซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้กับกิจการที่มีกฎหมายกำกับดูแลเฉพาะในเรื่องการแข่งขันทางการค้า จึงทำให้ปัจจุบันการควบรวมกิจการธนาคารยังคงอยู่ภายใต้พระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้าต่อไปในบริบทของประเทศไทย การพิจารณาการควบรวมกิจการธนาคารโดยธนาคารแห่งประเทศไทยมีความเหมาะสมดีอยู่แล้วตามความเห็นของผู้เขียน เนื่องจากมีบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถและธนาคารเป็นกิจการที่มีลักษณะพิเศษแตกต่างจากกิจการทั่วไป ประกอบกับเป็นการลดภาระการทางานที่ซ้ำซ้อนกันระหว่างหน่วยงานของรัฐ อีกทั้งลดขั้นตอนที่ยุ่งยากสาหรับผู้ประกอบธุรกิจที่จะต้องยื่นเรื่องกับหลายหน่วยงานจึงเห็นควรให้มีการเพิ่มหลักเกณฑ์ในการพิจารณาด้านการแข่งขันทางการค้าในกฎหมายที่กำกับดูแลกิจการธนาคารไปด้วยเพื่อให้สอดคล้องกับบทบัญญัติในพระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้าพ.ศ. 2560 และทำให้ การควบรวมกิจการธนาคารจะสามารถอยู่ภายใต้การกากับดูแลโดยธนาคารแห่งประเทศไทยโดยอาจขอความเห็นจากคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้าประกอบด้วย เพราะท้ายที่สุด แม้การแข่งขันทางการค้าที่เสรีหรือการที่กิจการอยู่ในตลาดแข่งขันสมบูรณ์จะทำให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในทางทฤษฎี หากแต่การมีเสถียรภาพของเศรษฐกิจและการพิจารณาถึงผลประโยชน์ของประชาชนเป็นสำคัญนั้นก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ต้องให้น้ำหนักเช่นเดียวกัน ดังนั้น จึงเป็นหน้าที่ของหน่วยงานที่รับผิดชอบในการพิจารณาอย่างละเอียดถี่ถ้วนและมองผลกระทบรอบด้านให้มากที่สุดก่อนการตัดสินใจใดๆ | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2017.52 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | การค้าผูกขาด | en_US |
dc.subject | การผูกขาดโดยกลุ่ม | en_US |
dc.title | มาตรการการควบรวมธุรกิจธนาคารภายใต้กฎหมายการแข่งขันทางการค้าของประเทศไทย | en_US |
dc.type | Independent Study | en_US |
dc.degree.name | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | กฎหมายเศรษฐกิจ | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | Wirote.W@Chula.ac.th | - |
dc.subject.keyword | การควบรวมธุรกิจ | en_US |
dc.subject.keyword | การแข่งขันทางการค้า | en_US |
dc.identifier.DOI | 10.58837/CHULA.IS.2017.52 | - |
Appears in Collections: | Law - Independent Studies |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
598 62465 34.pdf | 1.53 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.