Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61093
Title: ปัญหาการรับรู้รายได้และรายจ่ายเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามประมวลรัษฎากร : ศึกษากรณีรายได้และรายจ่ายสำหรับการให้บริการตามสัญญาระยะยาว
Authors: สุนทรี พุ่มปรีชา
Advisors: พล ธีรคุปต์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: รายได้
สัญญา
Issue Date: 2560
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: เอกัตศึกษาฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาการรับรู้รายได้และรายจ่ายสำหรับ การให้บริการตามสัญญาระยะยาวเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 73/2541 แก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 74/2541 ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2541 ข้อ 1 (ก) วรรคสอง ซึ่งไม่ได้คำนึงถึงการเกิดขึ้นของรายได้และรายจ่ายตามหลักงวดเวลาที่จะได้รับผลประโยชน์เชิงเศรษฐกิจตามลักษณะของการให้บริการตามสัญญาระยะยาว อันมีลักษณะเป็นเงินก้อน เพื่อตอบแทนการให้บริการเมื่อทำสัญญา โดยการชำระเพียงครั้งเดียวตลอดอายุสัญญาที่เกิน 10 ปี และความเกี่ยวพันโดยตรงระหว่างต้นทุนที่เกิดขึ้นกับรายได้ที่มาจากรายการเดียวกัน จากการศึกษาพบว่า การคำนวณรายได้ดังกล่าวมีหลักพิจารณาการรับรู้รายได้อยู่ 2 แนวทาง จะเห็นได้ว่า หลักเกณฑ์ในการพิจารณาการรับรู้รายได้ดังกล่าวไม่เหมาะสมมีการจำกัดจำนวน ระยะเวลาไว้ไม่เกิน 10 ปี หลักเกณฑ์ดังกล่าวนั้นขาดหลักการในการพิจารณาระยะเวลาที่เหมาะสม ของอายุสัญญา และไม่ได้คำนึงถึงลักษณะของสัญญาที่มีระยะเวลาเกิน 10 ปีขึ้นไปซึ่งขัดกับ หลักเสรีภาพในการทำ สัญญาและเกณฑ์สิทธิตามประมวลรัษฎากร รวมถึงทางเลือกที่ให้ ผู้ประกอบการสามารถรับรู้รายได้ทั้งจำนวนในรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มให้บริการนั้น ย่อมส่งผลให้ ไม่สะท้อนตามลักษณะการได้รับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจตามเกณฑ์สัดส่วนของเวลาในแต่ละ รอบระยะเวลาบัญชีอย่างแท้จริง นอกจากนี้ยังพบปัญหาความไม่ชัดเจนในการตีความเกี่ยวกับการรับรู้รายได้และรายจ่ายตาม ประมวลรัษฎากรในรูปแบบสัญญาที่มีลักษณะไม่กำหนดระยะเวลาแห่งสัญญาแต่มีลักษณะการก่อให้ เกิดประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคต (Future economic benefit) ตามลักษณะของสัญญา และ รูปแบบสัญญาที่มีลักษณะสามารถขยายอายุสัญญาตามแต่ละกรณีที่ระบุข้อกำหนดไว้ในสัญญา อย่างไรก็ตามแนวปฏิบัติตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 74/2541 นั้นออกโดยไม่ได้อาศัย อำนาจตามความในประมวลรัษฎากรและไม่มีสถานะเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับแก่บุคคลทั่วไป แต่เป็น เพียงแนวทางปฏิบัติของเจ้าหน้าที่กรมสรรพากรในการปฏิบัติงานการจัดเก็บภาษีอากร ซึ่งหาก ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลไม่ปฏิบัติตามแนวทางดังกล่าว อาจเกิดความเสี่ยงที่จะมีข้อโต้แย้ง จากเจ้าหน้าที่กรมสรรพากรประเมินได้ โดยบทสรุปจากการศึกษาในครั้งนี้ ผู้เขียนขอเสนอความคิดอันเป็นแนวทางสำหรับ การพิจารณาออกบทบัญญัติแห่งกฎหมายภาษีอากรโดยพิจารณาจากลักษณะของสัญญาตาม ระยะเวลาแห่งสัญญา เพื่อให้มีความสอดคล้องกับการได้รับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจตามเกณฑ์สัดส่วนของเวลาในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชี รวมทั้งเป็นแนวทางในการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่กรมสรรพากรและผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล อันจะส่งผลให้การจัดเก็บภาษีอากรมีความเหมาะสมและสอดคล้องกับการประกอบธุรกิจที่ดำเนินอย่างต่อเนื่อง
Description: เอกัตศึกษา(ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: กฎหมายเศรษฐกิจ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61093
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2017.19
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.IS.2017.19
Type: Independent Study
Appears in Collections:Law - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
598 62654 34.pdf970.11 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.