Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61177
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorชานป์วิชช์ ทัดแก้ว-
dc.contributor.authorเจียระไน วิทิตกูล-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์-
dc.date.accessioned2019-01-31T07:57:55Z-
dc.date.available2019-01-31T07:57:55Z-
dc.date.issued2558-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61177-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558en_US
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์นี้มุ่งศึกษาเนื้อหาส่วนที่ว่าด้วยการฝึกฝนธนูในวรรณคดีธนุรเวทฉบับ อัคนิปุราณะ ธนุรเวทฉบับศารงคธรปัทธติ และวรรณคดีเรื่องมหาภารตะในส่วนอาทิบรรพ เพื่อศึกษากระบวนการฝึกฝนธนูของอินเดียโบราณ และสภาพทางสังคมและวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับการฝึกฝนธนู ผลการศึกษาพบว่า การฝึกฝนธนูเป็นศาสตร์ที่ได้รับการศึกษา วิเคราะห์ และกำหนดกฎเกณฑ์ไว้ชัดเจนตั้งแต่โบราณ มีขั้นตอนและกลวิธีในการพัฒนาผู้เรียนอย่างหลากหลาย โดยเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับการฝึกฝนธนูในวรรณคดีธนุรเวททั้งสองฉบับนั้นสามารถแบ่งได้เป็น 5 ประเด็น ได้แก่ ท่าทางในการยิงธนู, วิธีการยิงธนู, หลักสูตรในการฝึกธนู, ข้อผิดพลาดใน การยิงและวิธีแก้ไข, และการยิงธนูรูปแบบพิเศษ ทุกประเด็นล้วนมุ่งให้นักธนูยิงได้แม่นยำ และสามารถพลิกแพลงในสถานการณ์ต่างๆได้ดี ซึ่งทักษะเหล่านี้ก็เกื้อหนุนจุดประสงค์สูงสุดในการฝึกธนูของอินเดียโบราณ นั่นคือการใช้ธนูได้อย่างมีประสิทธิภาพในยามสงคราม ในด้านสังคมและวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องนั้น พบว่าการฝึกฝนธนูของภารตะโบราณต้องอยู่ภายใต้ระบบการเรียนการสอนที่มีครูเป็นผู้กำกับดูแลอย่างเบ็ดเสร็จ ทั้งยังเป็นระบบการศึกษาที่สัมพันธ์กับศาสนาอย่างลึกซึ้ง ดังนั้น แม้การเรียนการสอนธนูจะมีรายละเอียดและเนื้อหาที่เรียนต่างจากการเรียนสาขาอื่นๆ แต่เมื่อพิจารณาระบบและลักษณะโดยรวมแล้ว ก็จะเห็นได้ว่าไม่แตกต่างกันนัก หรืออาจกล่าวได้ว่า การศึกษาด้านการธนูนั้นก็เป็นไปตามขนบธรรมเนียมด้านการศึกษาของสังคมอินเดียโบราณนั่นเองen_US
dc.description.abstractalternativeThis research looks through archery trainings in Agni Purāṇa Dhanurveda, Śārṅgadharapaddhati Dhanurveda, and Ādiparvan in Mahābhārata. The goal is to clarify the procedure of the training and the social and cultural aspects involved. Upon examining the texts, it becomes clear that the practice of archery has been carefully studied and systematized since ancient times in India. A variety of processes and methods were implemented to sharpen the skills of the students. The training-related sections in the Dhanurvedas can be described in 5 subjects: the poses, the processes of shooting, the elements of the training, the errors and corrections, and the special forms of shooting. Each contains many details, yet the key ideas of the training revealed all over the works are the same: the ultimate preciseness and the ability of the archer to shoot effectively in various situations. These served the potency during battle, which was the main purpose of archery in ancient India. In terms of its social and cultural features, archery training was mostly carried out under the traditional education system. The teacher directed the entire course and the religious rites and beliefs were deeply dominant. Therefore, it can be concluded that, despite some differences in contents and details, archery training in ancient India followed the conventional way of the education of that time.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2015.558-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectวรรณคดีกับสังคมen_US
dc.subjectวรรณคดีอินเดีย -- ประวัติและวิจารณ์en_US
dc.subjectLiterature and societyen_US
dc.subjectIndic literature -- History and criticismen_US
dc.titleศาสตร์แห่งการยุทธด้วยธนูในคัมภีร์ธนุรเวทและมหาภารตะen_US
dc.title.alternativeArchery in dhanurveda and mahābhārataen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameอักษรศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineภาษาบาลีและสันสกฤตen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.authorchanwit.t@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2015.558-
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5580113222.pdf2.22 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.