Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6117
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | อภิฤดี เหมะจุฑา | - |
dc.contributor.advisor | วิทยา กุลสมบูรณ์ | - |
dc.contributor.author | ปัทมากร โชติปัญญา | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเภสัชศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2008-02-29T08:28:53Z | - |
dc.date.available | 2008-02-29T08:28:53Z | - |
dc.date.issued | 2544 | - |
dc.identifier.isbn | 9741705972 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6117 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ภ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544 | en |
dc.description.abstract | วิเคราะห์ต้นทุน-ผลได้ของการปรับปรุงระบบการกระจายบนหอผู้ป่วยใน โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ในช่วงเวลาตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2544-เมษายน 2545 โดยนำแนวคิดของการกระจายยาแบบยูนิตโดสมาประยุกต์ใช้ ประกอบด้วย การกำหนดปริมาณยาที่จ่ายขึ้นไปบนหอผู้ป่วยแต่ละครั้งไม่เกิน 24 ชั่วโมง เภสัชกรเป็นผู้ตรวจเช็คยาตามสำเนาใบสั่งแพทย์ การจัดทำระบบการคืนยาที่ผู้ป่วยเหลือใช้ การจัดทำบัญชียาเบิกสำรองประจำหอผู้ป่วย พร้อมจัดให้มีเภสัชกรและพยาบาลประจำหอผู้ป่วยรับผิดชอบดูแลร่วมกัน การนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการคิดราคายา บันทึกการจ่ายยา พิมพ์ใบจ่ายยา ฉลากยา ควบคุมคลัง และการใช้เครื่องโทรสารในการส่งผ่านใบสั่งแพทย์จากหอผู้ป่วยไปห้องจ่ายยา ในการศึกษาได้เก็บข้อมูลก่อนและหลังการปรับปรุงระบบกระจายยานาน 3 เดือน จากหอผู้ป่วย 1 แห่ง ซึ่งคัดเลือกมาจากหอผู้ป่วยนำร่อง 5 แห่ง ผลการวิเคราะห์ต้นทุน-ผลได้ของ การปรับปรุงระบบการกระจายยาบนหอผู้ป่วยพบว่า อัตราส่วนของผลได้ : ต้นทุนเท่ากับ 16.67โดยผลได้ของการปรับปรุงระบบการกระจายยาแบบใหม่ เท่ากับ 282,284.90 บาท พบว่าผลได้สูงสุดของระบบใหม่เกิดจากการลดลงของมูลค่ายาสำรอง บนหอผู้ป่วยเป็นเงิน 286,294.50 บาท การศึกษาต้นทุนโดยรวมของการดำเนินงานในทั้งสองระบบ พบว่าต้นทุนการดำเนินงานในระบบใหม่สูงกว่าในระบบเดิม โดยต้นทุนรวมที่เพิ่มขึ้นของระบบใหม่คิดเป็น 16,937.22 บาทต่อเดือน และระบบเก่าเพิ่มขึ้นคิดเป็น 839.65 บาทต่อเดือน ในระบบใหม่มีค่าแรงผู้ช่วยเภสัชกรเป็นต้นทุน มูลค่าสูงที่สุดเท่ากับ 7,061.22 บาทต่อเดือน ส่วนในระบบเดิมมีค่าใบจ่ายยาเป็นต้นทุนมูลค่าสูงที่สุดเท่ากับ 592.86 บาทต่อเดือน ผลการศึกษาชี้ว่าระบบการกระจายยาที่ปรับปรุงขึ้นใหม่นี้คุ้มกับการลงทุน เมื่อเปรียบเทียบกับระบบเดิม เมื่อนำข้อมูลที่ได้จากการวิจัยมาวิเคราะห์ร่วมกับข้อมูลปฐมภูมิของอีก 4 หอผู้ป่วยนำร่อง สามารถหาอัตราส่วนผลได้ : ต้นทุนของการปรับปรุงระบบการกระจายยาในอีก 4 หอผู้ป่วยนำร่องได้ เท่ากับ 11.74 ดังนั้นผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า ควรมีการขยายงานระบบนี้ต่อไปอีกในโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า | en |
dc.description.abstractalternative | To analyze the cost-benefit of adapting the concept of unit dose for inpatient drug distribution system in Pramonkutklao hospital during May 2001 to April 2002. The implementation of the system included: allowing only 24-hour period of supply of medicine to ward, the pharmacist using direct copy of doctor's order sheet in checking medication before dispensing, setting up the medication refunding system for each patient, and setting up the floor stock medication list and joint responsibility of the pharmacist and nurses in taking care of the stock. Computerized information system for dispensing, charging and as well as inventory control. Doctor's order sheets were sent by fax from ward to inpatient dispensing unit. Data were collected from one of the five wards in which the systems were employed which was 3 months before and after implementing the new drug distribution system. The result showed that the benefit-cost ratio of the new system was 16.67. The benefits of the new drug distribution system were 282,284.90 baht. The highest benefit of the new system came from the decrease in the cost of floor stock, which was 286,294.50 baht. The total cost of the implementation of the new system is higher than the previous system. The increasing cost of the new system was 16,937.22 baht per month and of the previous system was 839.65 baht per month. The highest increasing cost of the new system was the overtime payment of the assistant pharmacist which was 7,061.22 baht per month. The dispensing sheet was the highest increasing cost of the previous system, which was 770.50 baht per month. The result showed that the implementation of the new drug distribution was cost-effective. Using the data from this study and primary data from the other four pilot wards, the benefit-cost ratio of the new system of these four, was 11.74. Data suggest the extension of the new distribution system to other wards in Pramongkutklao hospital. | en |
dc.format.extent | 2643166 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า | en |
dc.subject | ต้นทุนและประสิทธิผล | en |
dc.subject | โรงพยาบาล -- ระบบการจ่ายยา | en |
dc.title | การวิเคราะห์ต้นทุน-ผลได้ของระบบการกระจายยา บนหอผู้ป่วยในโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า | en |
dc.title.alternative | Cost-benefit analysis of inpatient drug distribution system in Pramongkutklao Hospital | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | เภสัชกรรมคลินิก | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | Aphirudee.H@Chula.ac.th | - |
dc.email.advisor | Vithaya.K@Chula.ac.th | - |
Appears in Collections: | Pharm - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Pattamakorn.pdf | 2.58 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.