Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61201
Title: | กระบวนการ และกลยุทธ์การสื่อสารเพื่อสร้างความเข้าใจ และการยอมรับของสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ |
Other Titles: | Communication process and strategy for better understanding and acceptance of Panyapiwat Institue of Management |
Authors: | เอกพงศ์ จันทร์กล่ำ |
Advisors: | กาญจนา แก้วเทพ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์ |
Advisor's Email: | Kanjana.Ka@chula.ac.th |
Subjects: | การสื่อสารทางการตลาด สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ -- การสื่อสาร Communication in marketing Panyapiwat Institue of Management -- Communication |
Issue Date: | 2553 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์กระบวนการ และกลยุทธ์การสื่อสารภายในองค์กรเพื่อสร้างความเข้าใจ และการยอมรับต่อสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์, วิเคราะห์กระบวนการและกลยุทธ์การสื่อสารภายนอกองค์กรเพื่อสร้างความเข้าใจ และการยอมรับต่อสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ และวิเคราะห์ปัจจัยในการเลือกใช้กลยุทธ์การสื่อสารในการสร้างความเข้าใจและการยอมรับของสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ โดยดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth Interview) การสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) และวิจัยเอกสาร (Documentary Research) โดยศึกษาใน 2 ช่วงระยะเวลา คือ ช่วงที่ 1 ปี 2550-2551 และช่วงที่ 2 ปี 2552-2554 ผลการวิจัยพบว่า การสื่อสารเพื่อสร้างความเข้าใจและการยอมรับภายในองค์กรมีกระบวนการสื่อสาร คือ การสื่อสารระหว่างบุคคล, การสื่อสารองค์การ โดยใช้กลยุทธ์หลักคือ กลยุทธ์การใช้สื่อบุคคล และสื่อกิจกรรมในขณะที่ การสื่อสารเพื่อการสร้างความเข้าใจภายนอกองค์กรใช้กระบวนการสื่อสารคือ การสื่อสารระหว่างบุคคล, การสื่อสารองค์การ, การสื่อสารกลุ่มใหญ่ และการสื่อสารมวลชน โดยใช้กลยุทธ์สื่อบุคคล, สื่อกิจกรรม และการผสมผสานสื่อสารมวลชน ได้แก่ โทรทัศน์, วิทยุ และสื่อร้านสะดวกซื้อ เซเว่น อีเลฟเว่น ส่วนปัจจัยในการเลือกใช้กลยุทธ์การสื่อสาร มีทั้งภายใน และภายนอก คือ กลุ่มเป้าหมาย และการวางกลยุทธ์ตามกลุ่มเป้าหมาย มีการค้นพบองค์ประกอบที่เป็นแรงขับเคลื่อน ทำให้เกิดความเข้าใจ และการยอมรับ ประกอบด้วยไปด้วย 1) กิจกรรมเพื่อสังคม หรือ CRS ของ บมจ. ซีพี ออลล์ และแนวทางการเป็น Corporate University 2) รูปแบบการสื่อสารแบบการสื่อสารการตลาดแบบผสมผสาน และการประชาสัมพันธ์เพื่อการตลาด และ 3) กลยุทธ์การสื่อสาร โดยใช้สื่อหลัก คือ สื่อบุคคล และสื่อกิจกรรม และกลยุทธ์การใช้สาร คือ One Single Message คำสำคัญ: ปัญญาภิวัฒน์, กระบวนการสื่อสาร, กลยุทธ์การสื่อสาร, การสื่อสารเพื่อการโน้มน้าวใจ |
Other Abstract: | The objectives of this qualitative thesis are 1. To analyse how the communication process and strategy for the better understanding and acceptance of Panyapiwat Institute of Management works for both Panyapiwat>s staff and the public 2. To analyse what is factors determine communication strategy. Thesis Methodology included 1. Documentary Analysis 2. In-Depth Interview 3. Focus Group Discussions The results show that for Panyuapiwat Staff Interpersonal Communication and Organization Communication are really effective for better understanding, while for the public using Large Group Communication and Mass communication are effective to reach them. There are two targets, students as a core target, and the public as the secondary target. The correct media mix can also help to deliver the same message to various targets. There are 3 major factors which influence the understanding and acceptance : CP All>s CSR (Education) activity, IMC and Marketing PR, and Media Mix. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553 |
Degree Name: | นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | นิเทศศาสตรพัฒนาการ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61201 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1657 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2010.1657 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Comm - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Ekapong Chantarklum.pdf | 2.46 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.