Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61212
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorนันทรัตน์ เจริญกุล-
dc.contributor.advisorอรจรีย์ ณ ตะกั่วทุ่ง-
dc.contributor.authorวรรณกร ทวีแก้ว-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2019-02-23T10:34:36Z-
dc.date.available2019-02-23T10:34:36Z-
dc.date.issued2553-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61212-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553en_US
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ในการจัดการความรู้ของนักเรียน ระดับชั้นมัธยมศึกษาในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) เพื่อศึกษาแนวทางในการจัดการ ความรู้ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 3) เพื่อพัฒนา รูปแบบการจัดการความรู้สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้น พื้นฐาน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการวิเคราะห์เอกสาร การใช้แบบสอบถาม การสัมภาษณ์ และการทดลอง วิเคราะห์ข้อมูล โดยการวิเคราะห์เนื้อหา การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพปัจจุบันในการจัดการความรู้ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา พบว่า ผู้บริหารและครูส่วนใหญ่มีความ คิดเห็นว่าผู้บริหารได้ให้การส่งเสริมและสนับสนุนทั้งทางด้านองค์ประกอบและกระบวนการจัดการความรู้ของนักเรียน และครูได้มีการจัดกิจกรรมเพื่อให้นักเรียนดำเนินการจัดการความรู้โดยจัดสอดแทรกไว้ในรายวิชาต่าง ๆ และนักเรียนมี ความคิดเห็นว่าได้มีส่วนร่วมในกระบวนการจัดการความรู้ของนักเรียน ส่วนสภาพที่พึงประสงค์ในการจัดการความรู้ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา พบว่า ผู้บริหาร ครู และ นักเรียน มีความคิดเห็นสอดคล้องกัน โดยต้องการให้มีการจัดอบรมเรื่องการจัดการความรู้ของนักเรียน ต้องการให้มีการ ดำเนินกิจกรรมจัดการความรู้ควบคู่ไปกับการเรียนการสอนในรายวิชาต่าง ๆ ไม่จำกัดเฉพาะในกิจกรรมชมรม/ชุมนุม หรือ อาจจัดเป็นรายวิชาเพิ่มเติม รวมถึงต้องการให้มีการจัดนิทรรศการแสดงผลงานและเผยแพร่ความรู้ที่ได้จากการจัดการ ความรู้ของนักเรียน โดยฝ่ายบริหารควรกำหนดเป็นนโยบายไว้อย่างชัดเจน 2. แนวทางในการจัดการความรู้ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาที่ได้จากการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ พบว่ามี องค์ประกอบของการจัดการความรู้ 4 องค์ประกอบ และกระบวนการจัดการความรู้ของนักเรียน มี 8 ขั้นตอน 3. รูปแบบการจัดการความรู้สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐานที่ได้จากการวิจัยครั้งนี้ เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “รูปแบบที่เน้นนวัตกรรม พฤติกรรม และความพึงพอใจ (Innovation, Behaviour and Satisfaction Model : IBS Model)” มีส่วนประกอบหลักที่สำคัญ 2 ส่วน คือ องค์ประกอบ ของการจัดการความรู้ มี 4 องค์ประกอบ คือ 1) คน 2) ปัจจัยแห่งความสำเร็จของโรงเรียน 3) เทคโนโลยีเพื่อการจัดการ ความรู้ 4) สิ่งจูงใจ ส่วนกระบวนการจัดการความรู้ของนักเรียน มี 8 ขั้นตอน คือ 1) การเตรียมความพร้อมของนักเรียน 2) การบ่งชี้ความรู้ 3) การแสวงหาความรู้ 4) การแลกเปลี่ยนความรู้ในชมรม/ชุมนุม 5) การจัดเก็บความรู้ 6) การประยุกต์ใช้ความรู้ในการทำกิจกรรมชมรม/ชุมนุม 7) การเผยแพร่ผลงานของชมรม/ชุมนุมและองค์ความรู้ 8) การประเมินผลการจัดการความรู้en_US
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were to 1) study the state and needs in knowledge management for students of secondary schools under the office of the basic education commission 2) study the trends to develop a knowledge management for students of secondary schools under the office of the basic education commission 3) develop a knowledge management model for students of secondary schools under the office of the basic education commission. The data collections comprised document analysis, questionnaire, interview and experiment. The data analysis were content analysis, frequencies, percentage, mean, standard deviation and t-test dependent. The research findings showed that : 1. The state in knowledge management for students of secondary schools was found that the majority of school administrators and teachers indicated that school administrators encouraged and supported both of components and process of knowledge management and teachers organized activities for knowledge management of students as part of each module. Students gave opinion that they ever participated in the knowledge management process. For the needs in knowledge management, it was found that school administrators, teachers and students had the same opinion. They wanted school to set the training about knowledge management for students and run it go together with subjective instruction differs, not only in activities of various clubs or societies or made it as an additional module. They wanted to have an exhibition to show student works and knowledge distribution and school administrative section should clearly fix the policy. 2. The trends to develop a knowledge management for students of secondary schools under the office of the basic education commission consisted of four components and eight steps of knowledge management process. 3. A knowledge management model for students of secondary schools under the office of the basic education commission was called “Innovation, Behaviour and Satisfaction Model (IBS Model)”. It consisted of four components. They were 1) Man 2) Success factors of school 3) Knowledge management technology and 4) Incentive. The eight steps of knowledge management process consisted of 1) Preparation 2) Knowledge Identification 3) Knowledge Acquisition 4) Knowledge Sharing 5) Knowledge Storage 6) Knowledge Application 7) Knowledge Distribution and 8) Assessment of Knowledge Management.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1668-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการบริหารองค์ความรู้en_US
dc.subjectนักเรียนมัธยมศึกษาen_US
dc.subjectKnowledge managementen_US
dc.subjectHigh school studentsen_US
dc.titleการพัฒนารูปแบบการจัดการความรู้สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐานen_US
dc.title.alternativeDevelopment of a knowledge management model for students of secondary schools under the office of the basic education commissionen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรดุษฎีบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาเอกen_US
dc.degree.disciplineบริหารการศึกษาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorOnjaree.N@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2010.1668-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wannakorn Thaweekaew.pdf3.79 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.