Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61216
Title: การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนเหล่าทัพสู่การเป็นองค์กรอัจฉริยะ
Other Titles: The development of a management model for Royal Thai Armed Forces Academies towards intelligent organizations
Authors: สุธิญา จันทร์เจ้าฉาย
Advisors: อรุณี หงษ์ศิริวัฒน์
วราภรณ์ บวรศิริ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Arunee.Ho@Chula.ac.th
Varaporn.B@Chula.ac.th
Subjects: การพัฒนาองค์การ
การศึกษาวิชาการทหาร
การจัดองค์การ
การเรียนรู้องค์การ
Organizational change
Military education
Organization
Organizational learning
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารจัดการโรงเรียนเหล่าทัพในประเทศไทยและต่างประเทศ วิเคราะห์แนวคิดเกี่ยวกับองค์กรอัจฉริยะที่เหมาะสมสำหรับโรงเรียนเหล่าทัพในประเทศไทย และนำเสนอรูปแบบการบริหารจัดการตามแนวคิด องค์กรอัจฉริยะของโรงเรียนเหล่าทัพ กลุ่มตัวอย่างประชากร ได้แก่ 1) ผู้บัญชาการโรงเรียนเหล่าทัพ จำนวน 3 ท่าน 2) ผู้บริหารระดับสูง ผู้อำนวยการกองและคณาจารย์ในโรงเรียนเหล่าทัพ จำนวน 265 ท่าน 3) นายทหารที่สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนเหล่าทัพต่างประเทศในปี พ.ศ. 2547-2553 จำนวน 18 ท่าน 4) ผู้บริหารระดับสูงบริษัทเอกชนที่เน้นการบริหารจัดการตามแนวคิดองค์กรอัจฉริยะ จำนวน 6 ท่าน 5) ผู้เชี่ยวชาญที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการพัฒนาร่างรูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนเหล่าทัพสู่การเป็นองค์กรอัจฉริยะ จำนวน 31 ท่าน ประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญทางทหาร จำนวน 23 ท่าน ผู้เชี่ยวชาญทางวิชาการ จำนวน 6 ท่าน ผู้บริหารระดับสูงภาคเอกชน จำนวน 2 ท่าน 6) ผู้ทรงคุณวุฒิตรวจสอบและประเมินรูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนเหล่าทัพสู่การเป็นองค์กรอัจฉริยะ จำนวน 21 ท่าน 7) ผู้ทรงคุณวุฒิ โรงเรียนนายเรือ จำนวน 12 ท่าน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบวิเคราะห์เอกสาร แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์และแบบสอบถามผู้เชี่ยวชาญด้วยเทคนิค EDFR แบบตรวจสอบความเหมาะสมของร่างรูปแบบ การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์สาระ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนี PNImodified ในการจัดลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสู่การเป็นองค์กรอัจฉริยะ และเทคนิคการวิจัยแบบ EDFR ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพและปัญหาการบริหารจัดการโรงเรียนเหล่าทัพในประเทศไทยและต่างประเทศ ได้มีการวิเคราะห์ในด้านต่างๆ 7 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านวิสัยทัศน์ 2) ด้านโครงสร้างองค์กร 3) ด้านการบริหารทั่วไปและการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาประยุกต์ใช้ 4) ด้านการบริหารวิชาการ 5) ด้านการบริหารงบประมาณ 6) ด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 7) ด้านการบริหารกิจการนักเรียนทหาร สำหรับผลการวิเคราะห์แนวคิดองค์กรอัจฉริยะ ประกอบด้วย 10 ข้อ ได้แก่ 1) วิสัยทัศน์ร่วมและกลยุทธ์ที่ชัดเจน 2) โครงสร้าง องค์กรสนับสนุนต่อการเริ่มต้นใหม่ 3) การจัดการคุณภาพแบบองค์รวม 4) การบริหารทรัพยากรมนุษย์เชิงรุก 5) การบริหารทีมงานและสร้าง เครือข่าย 6) การจัดการเรียนรู้ในองค์กร 7) การมีความสามารถในการเปลี่ยนแปลงสูง 8) การใช้ประโยชน์จากข้อมูลย้อนกลับ 9) การใช้ เทคโนโลยีเพิ่มขีดความสามารถ และ 10) การสร้างนวัตกรรม 2. แนวคิดเกี่ยวกับองค์กรอัจฉริยะที่เหมาะสมสำหรับโรงเรียนเหล่าทัพในประเทศไทยคือ โรงเรียนเหล่าทัพชั้นนำในภูมิภาคเอเชีย ที่มีความเป็นเลิศทางวิทยาการทหารสมัยใหม่ และสร้างสรรค์นวัตกรรมวิทยาการทางทหารอย่างต่อเนื่อง มีการปรับองค์กรในเชิงรุกและมีเอกลักษณ์ที่โดดเด่น เพื่อให้บุคลากรมีการพัฒนาและทุ่มเทศักยภาพเต็มที่ในการผลิตนายทหารที่มีความรู้ ความสามารถยึดมั่นในอุดมการณ์ของกองทัพและเพียบพร้อมทางคุณลักษณะผู้นำทางทหาร ที่สามารถปฏิบัติภารกิจเพื่อความมั่นคงของชาติจากภัยคุกคามทุกรูปแบบ 3. รูปแบบของการบริหารจัดการโรงเรียนเหล่าทัพสู่การเป็นองค์กรอัจฉริยะ ประกอบด้วย 4 มิติ คือ มิติที่ 1 ผู้นำโรงเรียนเหล่าทัพ และวัฒนธรรมขององค์การทหาร มิติที่ 2 คุณลักษณะขององค์กรอัจฉริยะทางทหารมี 10 ประเด็น มิติที่ 3 การบริหารจัดการสู่การเป็นองค์กร อัจฉริยะที่เรียกว่า V.I.S.I.O.N model ได้แก่ 1) การบริหารวิสัยทัศน์ 2) การบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 3) การปรับโครงสร้างองค์กร 4) การสร้างนวัตกรรม 5) การบริหารทรัพยากรมนุษย์เพื่อยอมรับการเปลี่ยนแปลง 6) พันธมิตรในประเทศและต่างประเทศ และมิติที่ 4 กระบวนการบริหารจัดการมี 8 ขั้นตอน 4. อัตลักษณ์โรงเรียนเหล่าทัพในประเทศไทย (DNA) มี 6 ประการ (6S) คือ 1) จิตวิญญาณที่จะสร้างวิสัยทัศน์ร่วมและเปิดใจ ยอมรับสิ่งใหม่ๆ พร้อมอุดมการณ์รักชาติ (Spirit ) 2) ปรับตัวได้อย่างรวดเร็วในการเปลี่ยนแปลง (Speed) 3) ต้องรู้จักพัฒนาทักษะให้ทันกับ นวัตกรรม (Skill) 4) ปรับและประสานวิทยาการและเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป ให้สอดคล้องทั้งภายในและภายนอกองค์กร (Synchronized) 5) ความปรารถนาที่จะเรียนรู้และพัฒนาอย่างต่อเนื่องไม่หยุดยั้ง (Sustainable) 6) การตระหนักรู้ในการป้องกันเชิงรุกต่อปัญหาที่จะเกิดขึ้นทุกรูปแบบ (Sign)
Other Abstract: To investigate the state and problem of the management of Armed Forces Academies in Thailand and overseas, to analyze the intelligent organization concepts suitable for Royal Thai Armed Forces Academies and to propose a management model for Armed Forces Academies. The sample group included 1) 3 Commanders of Armed Forces Academies; 2) high-ranking administrators, directors and faculty members in Armed Forces Academies, a total of 265 persons; 3) 18 military officers who graduated from overseas Armed Forces Academies in 2004-2009; 4) 6 high-level executives of intelligent-organizations oriented private companies; 5) 31 specialists (consisting of 23 military specialists, 6 academic specialists, 2 high-ranking executives of private companies) who provided data on the development of (draft) management model for Royal Thai Armed Forces Academies towards intelligent organizations; 6) 21 senior experts who validated management model for Royal Thai Armed Forces Academies towards intelligent organizations; and 7) 12 senior experts from Royal Thai Navy Academy. Research instruments were: document analysis forms, questionnaire, interview forms, forms for interviewing experts based on Ethnographic Delphi Futures Research (EDFR), forms for the validation of (draft) model suitability. The data analysis was conducted by means of content analysis, frequency, percentage, means, standard derivation, PNImodified for prioritizing the necessity of the development towards intelligent organization, and EDFR. Research results were: 1. With respect to the state and problems of the management of Armed Forces Academies in Thailand and overseas, the analysis in 7 aspects has been made: 1) vision, 2) organizational structure, 3) general administration and application of cutting-edge technology, 4) academic affairs administration, 5) budgetary management, 6) human resources management, 7) cadet affairs management According to the analysis results, there were 10 concepts of the intelligent organization: 1) clear shared visions and strategies; 2) organization structure supporting renewal, 3) holistic quality management, 4) proactive human resources management, 5) team management and network, 6) knowledge management 7) openness for change, 8) benefits of feedbacks, 9) application of technology for competency promotion, and 10) innovation management. 2. For the intelligent organization concepts suitable for Royal Thai Armed Forces Academies, it was found that leading Armed Force Academies in Asia boasted with the excellence of cutting-edge military science and continual creation of military innovations. Further, they had offensive organizational restructuring and notable identity. This was to motivate the personnel to put a great effort in developing and training the cadets into knowledgeable and skillful officers. They also adhered to the army ideology and military leadership styles in performing their duties for defending national security. 3. The management model for Armed Forces Academies towards intelligent organization consisted of 4 dimensions, namely, Dimension 1: leaders of Armed Force Academies and military organization culture, Dimension 2: 10 characteristics of intelligent military organization; Dimension 3: the management towards intelligent organization or so-called V.I.S.I.O.N Model [including 1) Vision Management, 2) Information and Communication Technology Management, 3) Structure Management, 4) Innovation Management, 5) Openness for Change, 6) Network Management], and Dimension 4: 8 management-related processes. 4. The identity of Thai Armed Forces Academies (DNA) contained 6 aspects (6S): 1) the spirit towards the creation of shared visions, openness for change and patriotic ideology (Spirit), 2) rapid self-adjustment for changes (Speed), 3) skill development corresponding to all innovations (Skill), 4) adjustment and incorporation of changing science and technology according to organization’s external or internal environment (Synchronized), 5) \desire for continuous learning and development (Sustainable), and 6) awareness of the implementation of offensive preventions against any possible problems (Sign).
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: อุดมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61216
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1672
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2010.1672
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Suthiya Chanchaochai.pdf4.06 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.