Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61218
Title: | การวิเคราะห์กระบวนการจัดการเรียนรู้แบบคละชั้นของโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กที่มีการปฏิบัติดี : พหุกรณีศึกษา |
Other Titles: | An analysis of multigrade teaching processes of good practice small-sized primary schools : a multiple case study |
Authors: | รัชนีวรรณ สมานมิตร |
Advisors: | สิริพันธุ์ สุวรรณมรรคา |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | Siripaarn.S@Chula.ac.th |
Subjects: | การเรียนแบบรวมชั้น การบริหารการศึกษา โรงเรียนประถมศึกษา Combination of grades Elementary schools School management and organization |
Issue Date: | 2553 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) วิเคราะห์การจัดการเรียนรู้แบบคละชั้นของครู 2) ศึกษาผลที่เกิดกับนักเรียนจากการจัดการเรียนรู้แบบคละชั้น 3) วิเคราะห์การบริหารงานของผู้บริหารโรงเรียนที่สนับสนุนการจัดการเรียนรู้แบบคละชั้น ในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กที่มีการปฏิบัติดี โดยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพแบบพหุกรณีศึกษา 2 โรงเรียน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เอกสาร การสังเกต แบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม การสัมภาษณ์และการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาและสร้างข้อสรุปแบบอุปนัย ผลการวิจัย 1. การจัดการเรียนรู้แบบคละชั้นของครูมี 3 รูปแบบ รูปแบบที่ 1 การจัดการเรียนรู้แบ่งเป็น 3 ช่วง คือ รวมกลุ่ม แยกกลุ่มและรวมกลุ่ม โดยในช่วงรวมกลุ่มเป็นการให้ความรู้พื้นฐานและการสรุปความรู้ ส่วนการแยกกลุ่มเป็นการเพิ่มเติมความเข้าใจหรือขยายฐานความรู้ ซึ่งรูปแบบที่ 1 ใช้ใน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และบูรณาการ รูปแบบที่ 2 การจัดการเรียนรู้แบ่งเป็น 2 ช่วง ในช่วงรวมกลุ่มเป็นการเตรียมความพร้อมในการเรียนและการแยกกลุ่มเป็นการเพิ่มเติมความเข้าใจหรือขยายฐานความรู้ตามระดับชั้น ซึ่งรูปแบบที่ 2 ใช้ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย รูปแบบที่ 3 ใช้การจัดการเรียนรู้รวมกลุ่มตลอดเวลา ซึ่งรูปแบบที่ 3 ใช้ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาอังกฤษและภาษาไทย 2. ผลที่เกิดคือ นักเรียนเกิดความเข้าใจในบทเรียนได้เร็วและชัดเจนขึ้น เนื่องจากนักเรียนทั้ง 2 ระดับชั้น มีบทบาทในการช่วยเหลือเกื้อกูลกันในการเรียน และมีทักษะทางสังคมด้านความสมานฉันท์ที่สูงขึ้น ทั้งนี้เพราะกิจกรรมการเรียนรู้แบบคละชั้นได้ส่งเสริมให้เกิดความเอื้ออาทรต่อกัน อันนำไปสู่ความสมานฉันท์ในการร่วมทำงานอย่างมีความสุข 3. การบริหารงานของผู้บริหารโรงเรียนที่สนับสนุนการจัดการเรียนรู้แบบคละชั้นมี 2 ระยะ ระยะแรกเป็นการเตรียมความพร้อมบุคลากรที่เกี่ยวข้อง โดยการให้ความรู้ จัดครูเข้าสอน ปรับปรุงหลักสูตร ปรับสภาพชั้นเรียนและครุภัณฑ์เพื่อรองรับการจัดการเรียนรู้แบบคละชั้น ระยะที่สองมีการนิเทศติดตามและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้แบบคละชั้นของครูในทุกด้าน |
Other Abstract: | To 1) analyze of multigrade teaching processes of teachers 2) study learning outcome from multigrade teaching processes 3) analyze the management supports of principals in multigrade teaching of good practice primary schools. A multiple case study of 2 schools was employed. The data were collected by document analysis, participatory and non- participatory observations, interview and focus group technique. The data were analyzed by content analysis and inductive conclusion. The research finding were as follows: 1. There were 3 models of multigrade teaching. Model 1 had 3 periods of learning. They were group learning, individual learning and group learning. The group learning supported basic knowledge and general conclusion. The individual learning provided indept learning and expanded learning. Model 1 was used in teaching Mathematics, Science and integrated subject areas. Model 2 had 2 periods. They were group learning for preparation and individual learning for indept learning and expanded learning. Model 2 was used in teaching Thai language subject area. Model 3 used cooperation learning. Model 3 was used in teaching English and Thai language subject areas. 2. Students had better understanding in learning the subjects because of the collaborative learning in the multigrade groups more over, their social skills increased according to positive supports and collaborative among the multigrade students. 3. There were 2 stages of principal supports. Firstly, the principals built readiness through workshop, teacher assignment, school curriculum adjustment and classroom environment preparation. Then, the principals supported multigrade teaching through internal supervisions and learning aids. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61218 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1674 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2010.1674 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Ratchaneewan Samanmit.pdf | 2.35 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.