Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61229
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorฉันชาย สิทธิพันธุ์-
dc.contributor.authorวันดี ไตรภพสกุล-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์-
dc.date.accessioned2019-02-26T07:41:24Z-
dc.date.available2019-02-26T07:41:24Z-
dc.date.issued2553-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61229-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553en_US
dc.description.abstractที่มาและวัตถุประสงค์ สมุนไพรหญ้าดอกขาว หาได้ง่าย และมีราคาถูก ซึ่งทางแพทย์แผนไทยนำมาใช้เพื่อการเลิกบุหรี่ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาประสิทธิผลของสมุนไพรหญ้าดอกขาวชนิดแคปซูล ในผู้ที่ต้องการเลิกบุหรี่ และ วิเคราะห์ลักษณะอาการไม่พึงประสงค์ของสมุนไพรหญ้าดอกขาวแคปซูล วิธีการศึกษา การวิจัยเชิงทดลอง (Double blind randomized controlled trial) คัดเลือกผู้ป่วยที่สูบบุหรี่มีความต้องการอยากเลิกบุหรี่ จำนวน 68 ราย เก็บข้อมูลระหว่างเดือนมิถุนายน 2553 ถึง กุมภาพันธ์ 2554 ณ คลินิกเลิกบุหรี่ หน่วยโรคปอด โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โดยแบ่งเข้ากลุ่มศึกษา 35 ราย และกลุ่มควบคุม 33 ราย โดยกลุ่มศึกษาได้รับผงแห้งของหญ้าดอกขาวบรรจุในแคปซูล เม็ดละ 500 มิลลิกรัม รับประทาน 2 แคปซูล วันละ 3 เวลา ก่อนอาหาร เป็นเวลา 4 สัปดาห์ ส่วนกลุ่มควบคุมได้ ยาหลอก ทั้ง 2 กลุ่มได้รับคำแนะนำในการเลิกบุหรี่จากทีมรักษาทุกครั้งที่ติดตาม ผลการเลิกบุหรี่ได้จากการรายงานโดยตัวผู้ป่วยเอง และผลการตรวจปริมาณก๊าซคาร์บอนมอนอกไซค์ของลมหายใจออก วัตถุประสงค์หลัก คือ ประเมินอัตราการเลิกบุหรี่อย่างต่อเนื่อง (CAR) ณ สัปดาห์ที่ 4 ส่วนวัตถุประสงค์รอง คือ ประเมินอัตราการเลิกบุหรี่อย่างต่อเนื่อง (CAR) ณ สัปดาห์ที่ 8 และ 12 และอัตราการเลิกบุหรี่ตลอด 1 สัปดาห์ก่อนวันประเมินผล (PAR) ณ สัปดาห์ที่ 4,8 และ 12 รวมถึงติดตามอาการไม่พึงประสงค์ของสมุนไพรหญ้าดอกขาวแคปซูล ผลการศึกษา อัตราการเลิกบุหรี่อย่างต่อเนื่อง (CAR) ณ สัปดาห์ที่ 4 คือ 28.6%ของกลุ่มศึกษา และ 15.2%ของกลุ่มควบคุม (p=0.246) ส่วน CAR ระยะติดตามที่ 8 สัปดาห์ คือ 28.6%ของกลุ่มศึกษา และ 12.1%ของกลุ่มควบคุม (p=0.135) และ CAR ระยะติดตามที่ 12 สัปดาห์คือ 22.9%ของกลุ่มศึกษา และ 9.1%ของกลุ่มควบคุม (p=0.189) ส่วนอัตราการเลิกบุหรี่ตลอด 1 สัปดาห์ก่อนวันประเมินผล (PAR) ณ สัปดาห์ที่ 4 คือ 31.4%ของกลุ่มศึกษา และ 27.2%ของกลุ่มควบคุม (p =0.793) ส่วน PAR ระยะติดตามที่ 8 สัปดาห์คือ 34.3% ของกลุ่มศึกษาและ18.2% ของกลุ่มควบคุม (p =0.173) และ PAR ระยะติดตามที่ 12 สัปดาห์คือ 34.3%ของกลุ่มศึกษา และ 15.2%ของกลุ่มควบคุม (p =0.094) ผู้ป่วยสามารถทนผลข้างเคียงได้ดีและไม่พบผลข้างเคียงที่รุนแรง สรุปผลการศึกษา CARs และ PARs ระยะเวลา 12 สัปดาห์ ของสมุนไพรหญ้าดอกขาวแคปซูลมีแนวโน้มเหนือกว่ากลุ่มควบคุม จำเป็นต้องใช้ขนาดตัวอย่างปริมาณมากขึ้นและระยะเวลานานขึ้นในการศึกษาต่อไปเพื่อวิเคราะห์ถึงประสิทธิผลของสมุนไพรหญ้าดอกขาวแคปซูลเพื่อการเลิกบุหรี่en_US
dc.description.abstractalternativeBackground and objectve : Vernonia cinerea (VC) has been documented and widely used as a Thai traditional medicine for elieving igarette craving. This study evauates the efficacy and safety of VC in an antismoking program. Materals and Methods : Randomized, double-blind, placebo-contrlled. 4-week treatment, 8-week follow-up trail was conducted during June, 2010 to February, 2011 at outpatient smoking cessation clinic at King Chulaongkorn Memorial Hospital. Sixty eight subjects were randomized to receive VC (500mg/capsule), gm three times per day (n=35), or placebo (n=33), aong with smoking essation counseling. Smoking status was established by self-report and confirmed at clinic vistits by end-expiratory carbon monoxide. The primary end point was continuous abstinence rate (CAR) at weeks 4. Secondary end points included CAR at weeks 8 and 12 and 7-day point prevalence abstinence rate (PAR) at weeks 4, 8 and 12. Adverse events and laboratory data were assessed at baseline and at cinic vistits. Results : The 4-week CARs were 28.6% with VC versus 15.2% with pacebo (p=0.246). CARs at week 8 were 28.6% with VC versus 12.1% with placebo (p=0.135) and at week 12, 22.9% with VC versus .1% with placebo (p=0.189). The 7-day PARs at week 4 were 31.4 with VC versus 27.2% with placebo (p=0.793) and at week 8, 34.3% with VC versus 18.2% with placebo (p=0.173) and at week 12, 34.3% with VC versus 15.2% with placebo (p=0.094). VC was well tolerated with no serious adverse events. Conclusion: CARs and PARs tended to be greater than in VC compared with placebo over 12 week follow-up period. Lager scale and longer duration trials are needed to verify the efficacy of VC.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1684-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectหญ้าดอกขาว -- การใช้รักษา -- ประสิทธิผลen_US
dc.subjectการเลิกบุหรี่en_US
dc.subjectการติดนิโคติน -- การรักษาen_US
dc.subjectคนสูบบุหรี่ -- การฟื้นฟูสมรรถภาพen_US
dc.subjectVernonia -- Therapeutic use -- Effectivenessen_US
dc.subjectSmoking cessationen_US
dc.subjectNicotine addiction -- Treatmenten_US
dc.subjectCigarette smokers -- Rehabilitationen_US
dc.titleการศึกษาประสิทธิผลของสมุนไพรหญ้าดอกขาวชนิดแคปซูลในการเลิกบุหรี่en_US
dc.title.alternativeEfficacy of Vernonia cinerea for smoking cessation in Thai active smokersen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineอายุรศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorChanchai.Si@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2010.1684-
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wandee Thripopskul.pdf1.03 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.